Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

กรุงศรีผสานพลัง MUFG และธนาคารพันธมิตรในอาเซียนวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจและเมกะเทรนด์โลก ปี 64

Krungsri_Business Talk01

Onlinenewstime.com : กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เผยแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจไทยและอาเซียนปี 2564 ในงานสัมมนา Krungsri Business Talk: Thailand and ASEAN Economic Outlook 2021 งานสัมมนาแบบไฮบริด ทั้งออนไลน์และออนกราวด์ ที่จัดขึ้นเพื่อลูกค้าธุรกิจของกรุงศรี ด้วยการผสานพลังศักยภาพระหว่างกรุงศรีและ  MUFG รวมทั้งเครือข่ายธนาคารพันธมิตรที่เป็นสถาบันการเงินชั้นนำในอาเซียน

ระดมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและการเงิน มาร่วมวิเคราะห์และประเมินภาพรวมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเงินโลก พร้อมเจาะลึกอินไซต์ใน 4 ประเทศอาเซียน – ไทย เวียดนาม อินโดนิเซีย และเมียนมา  ท่ามกลางสถานการณ์ที่โลกยังต้องเผชิญ กับความไม่แน่นอนจากวิกฤตการระบาดของโควิด-19 

นายพรสนอง ตู้จินดา ประธานกลุ่มธุรกิจลูกค้าธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าการจัดงานสัมมนาครั้งนี้ แสดงถึงศักยภาพที่โดดเด่นของกรุงศรี ในการผสานความร่วมมือกับเครือข่ายที่ครอบคลุมของ MUFG  โดยมีวิทยากรทั้งจาก MUFG Bank ในสิงคโปร์ และธนาคารพันธมิตรคือ Bank Danamon Indonesia และ  VietinBank ประเทศเวียดนาม ร่วมให้ข้อมูลเชิงลึกผ่านทางออนไลน์อีกด้วย

กรุงศรีมีความพร้อม ทั้งบริการทางการเงิน บริการให้คำปรึกษา และข้อมูลเชิงลึก เพื่อสร้างโอกาสการเติบโตให้กับลูกค้า ที่มองหาตลาดที่มีศักยภาพในภูมิอาเซียน และเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับความผันผวนของโลกธุรกิจ ตอกย้ำพันธกิจของกรุงศรี ในการสนับสนุนลูกค้าธุรกิจอย่างครบวงจร เพื่อมุ่งไปสู่การเป็นธนาคารพันธมิตรที่ลูกค้าไว้วางใจ 

ภายในงาน ดร.สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัยและหัวหน้าทีมวิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดประเด็นว่าเศรษฐกิจของโลก กำลังเข้าสู่ช่วงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป หลังจากที่วิกฤตโควิค-19 ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแร งต่อศักยภาพของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกตลอดปี 2563  

และมีแนวโน้มว่าภาคธุรกิจต่างๆ ของไทย จะมีทิศทางที่ดีขึ้นในปีหน้า แต่ภาคท่องเที่ยวยังคงชะลอตัว อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลต่อกำลังซื้อในประเทศ กลุ่มผู้ที่มีรายได้สูงจึงเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลัก ที่จะผลักดันอัตราการใช้จ่ายในประเทศ  

สำหรับแนวโน้มเมกะเทรนด์ของโลก ที่จะมีผลต่อสภาพเศรษฐกิจและสังคม คือ การทวนกระแสโลกาภิวัตน์  (Deglobalization) ที่ต่อเนื่องจากปีนี้ โดยประเทศในแถบเอเชียจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ ความผันผวนของตลาด การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นให้ธุรกิจ ลดความเกี่ยวข้องกับคน ห่วงโซ่อุปทานจะสั้นลง  

ขณะเดียวกันแนวโน้ มRegionalization หรือการรวมกลุ่มระหว่างประเทศในภูมิภาคเดียวกัน จะมีบทบาทมากขึ้น ซึ่งกลุ่มประเทศอาเซียนเอง มีจุดเด่นที่มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) ในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดที่ต่างกัน จึงเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจและการลงทุนใหม่ๆ ภายในอาเซียน 

ด้าน Ms. Sook Mei LEONG, ASEAN Head of Global Markets Research, MUFG Bank Singapore  ให้ความเห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในปี 2564 มีแนวโน้มดีกว่าปีนี้จากปัจจัยทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศ ที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลก ตลอดจนภาพรวมของตลาดในเอเชีย

รวมทั้งท่าทีและนโยบายของผู้นำประเทศคนใหม่ของญี่ปุ่น และสหรัฐฯ  ขณะที่เงินเยนและเงินหยวน มีแนวโน้มแข็งค่ามากขึ้น และเศรษฐกิจของจีน จะฟื้นตัวได้เร็วที่สุดในบรรดาประเทศ G10 สำหรับอาเซียน การเลือกตั้งที่ประเทศมาเลเซียและเวียดนามในปีหน้า อาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของภูมิภาค  

นายรมเกียรติ แก้วรัตนอัมพร ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการกลุ่มธุรกิจ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และคณะกรรมการสมาคมนักธุรกิจไทย ประเทศสาธารณรัฐเมียนมา  กล่าวถึงสถานการณ์และโอกาสทางเศรษฐกิจของเมียนมาว่า เป็นตลาดที่มีศักยภาพมากในระยะยาวสำหรับธุรกิจไทย เพราะคนเมียนมามีทัศนคติที่ดี และเชื่อมั่นในคุณภาพของสินค้าไทย

ธุรกิจที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนไทย ได้แก่ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจเครื่องจักรการเกษตร การท่องเที่ยว บรรจุภัณฑ์อาหาร และอีคอมเมิร์ซ โดยกรุงศรีมีสำนักงานตัวแทน ณ กรุงย่างกุ้ง พร้อมให้บริการลูกค้าทั้งด้านการเงิน ข้อมูลด้านกฎระเบียบ ข้อมูลเชิงลึกและการแนะนำเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐและเอกชนให้กับนักธุรกิจไทยที่สนใจลงทุนในเมียนมา   

สำหรับ Mr. Wisnu Wardana  นักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคาร Danamon ประเทศอินโดนีเซีย กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจอินโดนีเซีย แนวทางการส่งเสริมการลงทุนด้านไอซีที และการปรับแก้กฎหมาย ที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน รวมทั้งการอำนวยความสะดวกแก่ธุรกิจ และสร้างระบบนิเวศการลงทุนที่เอื้อต่อการจ้างงานที่มากขึ้น ส่วนธุรกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ ธุรกิจด้านไอซีที การเงิน และอาหารและเครื่องดื่ม  

ปิดท้ายที่ Mr. Le Duy Hai, Head of Corporate Banking Division, VietinBank ประเทศเวียดนาม กล่าวเสริมว่า เวียดนามมีความพร้อมด้วยปัจจัยต่างๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน เช่น สิทธิทางภาษีต่างๆ สำหรับการลงทุนแบบ Public-Private-Partnership หรือ PPP  ค่าแรงที่ถูกกว่า ความมั่นคงทางการเมืองที่สูงกว่า

นอกจากนั้นยังได้รับสิทธิพิเศษจากข้อตกลงเศรษฐกิจต่างๆ เช่น CPTPP (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership) หรือข้อตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้า สำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ที่จะมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับทั้งนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ  

ทั้งนี้งานสัมมนาครั้งนี้เป็นครั้งที่ 7 ของซีรีส์สัมมนาที่จัดขึ้นเป็นพิเศษสำหรับลูกค้าธุรกิจของกรุงศรี ภายใต้บริการ Krungsri Business Empowerment ที่เน้นการให้บริการข้อมูลเชิงลึก ผ่านกิจกรรมสัมมนาและการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ ที่จะช่วยสร้างโอกาสในการต่อยอดธุรกิจและสร้างการเติบโตให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง สามารถชมงานสัมมนาย้อนหลังได้ที่ Krungsri Business Empowerment FacebookKrungsri Simple Youtube และ Krungsri.com 

Exit mobile version