Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

กสอ. ฟันธงปี 64 เป็นปีแห่ง “SMEs Disruption ” เตรียมหนุน 3 นโยบายเร่งด่วนกระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 8 พันล้าน

SMEs Disruption 01

Onlinenewstime.com : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ชี้นโยบายเร่งด่วนปี 2564 มุ่งส่งเสริมความเข้มแข็งอุตสาหกรรมไทย ผ่านปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะเร่งด่วน เครื่องมือเร่งด่วน และ อุตสาหกรรมเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการฝ่าคลื่นปฏิวัติเอสเอ็มอี หรือ SMEs Disruption

ทั้งนี้ การส่งเสริมดังกล่าวกสอ. เตรียมปรับบทบาทเป็นโค้ชชิ่ง ให้คำแนะนำเชิงลึกกับผู้ประกอบการ เปลี่ยนบทบาทมุ่งเน้นการส่งเสริมในเชิงรุกเป็นผู้ปั้นปรุงเปลี่ยนเอสเอ็มอีให้ดีพร้อม หรือ เอสเอ็มอีดิสรับเตอร์ เพื่อให้เกิดการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมอย่างทันท่วงที และขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจในไทยได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยตั้งเป้าส่งเสริมไม่ต่ำกว่า 3,356 กิจการ ด้วยงบประมาณดำเนินการกว่า 500 ล้านบาท และคาดสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้านบาท

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า โควิด-19 ถือเป็นปัจจัยทั้งทางบวกและทางลบที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมทั่วโลกและเกิดคลื่นปฏิวัติเอสเอ็มอี หรือ SMEs Disruption ในปี 64 ที่สำคัญ ที่รัฐบาลและกระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญและเร่งรัดการดำเนินการอย่างเร่งด่วน

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากที่ต้องได้รับการสนับสนุน ประกอบการการดำเนินงานของ กสอ. ในปี 2563 ผ่านนโยบาย ปั้น ปรุง เปลี่ยน เอสเอ็มอีให้ดีพร้อม พบว่ายังต้องยกระดับการส่งเสริมให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น

ดังนั้น กสอ. จึงกำหนดนโยบายการดำเนินงานในปี 2564 เร่งด่วน เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการได้อย่างเต็มศักยภาพ ผ่าน นโยบาย “สติ : STI” ประกอบด้วย 3 ปัจจัยเร่งด่วนสำคัญ ได้แก่

สำหรับการดำเนินงานในปี 2563 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีโครงการที่ดำเนินการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการไปแล้ว จำนวน 1,731 กิจการ สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 8,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี การดำเนินการส่งเสริมผู้ประกอบการในปี 2564 กสอ. จะปรับวิธีเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน จากเดิมที่ทำหน้าที่โค้ชชิ่ง ให้คำแนะนำกับผู้ประกอบการ เปลี่ยนบทบาทมามุ่งเน้นการส่งเสริมในเชิงรุก โดยการเป็นผู้ปั้นปรุงเปลี่ยนเอสเอ็มอีให้ดีพร้อม หรือ เอสเอ็มอีดิสรับเตอร์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับตัว
ของภาคอุตสาหกรรมอย่างทันท่วงที

โดยตั้งเป้าหมาย ส่งเสริมผู้ประกอบการทั่วประเทศ 3,356 กิจการพัฒนาทักษะกับบุคลลากรในภาคอุตสาหกรรม 13,375 คน ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน 177 กลุ่ม และพัฒนาผลิตภัณฑ์คุณภาพเพิ่มขึ้น 982 ผลิตภัณฑ์ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจในไทยให้มีความเข้มแข็ง ด้วยงบประมาณกว่า 500 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท นายณัฐพล กล่าวทิ้งท้าย

Exit mobile version