Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

ข้อมูล“ก่อหนี้-สร้างตัว” Genไหนรวย Genไหนเสี่ยง

Gen_Debt

onlinenewstime.com : เจเนอเรชั่นต่างๆกัน มีแนวคิด และไลฟ์สไตล์ที่ต่างกัน ซึ่งความต่างทั้งหมดมีส่วนที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมทางการเงิน ภาพรวมหนี้สินและการจัดการความเสี่ยงที่ต่างกัน

ลองนึกภาพช่วงเวลาของ 3 เจนฯ เริ่มตั้งแต่ เบบี้ บูมเมอร์ (Baby Boomer) เจนฯเอ็กซ์ (Gen X) และมิลเลนเนี่ยล(Millennial) ในวันที่แต่ละรุ่นเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน แล้วเราลองมาดูตัวเลขโดยเฉลี่ย เพื่อเปรียบเทียบระหว่างทรัพย์สินกับหนี้สิน

จากการศึกษาข้อมูลของ Federal Reserve ธนาคารกลางสหรัฐ ที่มีการแบ่งข้อมูลทรัพย์สินของแต่ละเจนฯ ที่มีรวมกัน ทั้งส่วนของบ้านพักอาศัย สินทรัพย์ทางการเงิน เช่น หุ้น สินทรัพย์ทางธุรกิจ ยานพาหนะ และอสังหาริมทรัพย์อื่น ๆ

จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับหนี้สินทั้งหมดที่คนในแต่ละรุ่นมีเป็นค่าเฉลี่ย เพื่อช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นของความสมดุลระหว่างสินทรัพย์และรายได้ในคนรุ่นถัดไป

ข้อสำคัญที่เป็นตัวแปรคือ นักวิจัยได้ปรับตัวเลขเหล่านี้กับอัตราเงินเฟ้อด้วย เพื่อช่วยให้การเปรียบเทียบเป็นไปอย่างชัดเจนและยุติธรรม ตัวอย่างเช่น ราคาบ้านที่แตกต่างกันในระหว่างหลายทศวรรษ

ประเด็นที่น่าสนใจคือ มิลเลนเนี่ยล ในปี 2016 โดยเฉลี่ยแล้วมีโอกาสเป็นเจ้าของบ้านมากกว่าเมื่อเทียบกับ เบบี้ บูมเมอร์ ในปี 1989 แต่น้อยกว่าเจนเอ็กซ์ ในปี 2011 กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ แม้จะสามารถเข้าสู่ตลาดงานทันที แต่มีสถิติว่าเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในวัยที่ช้ากว่าเจนฯอื่นๆ  อย่างไรก็ดี มิลเลนเนี่ยล ก็ทำได้ดีในท้ายสุดที่จะมีบ้านเป็นทรัพย์สิน

ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้นก็คือ ทรัพย์สินประเภทอื่นๆ มิลเลนเนี่ยล เป็นนักออมที่ดีกว่าคนรุ่นก่อนๆ ค่าเฉลี่ยเงินออมในธนาคารของคนเจนฯนี้อยู่ที่ประมาณ 583,000 บาท (18,800 ดอลลาร์สหรัฐ) เทียบกับ เจนฯเอ็กซ์ 530,000 บาท (16,800 ดอลลาร์)  และ 205,000 บาท (6,600 ดอลลาร์) สำหรับเบบี้ บูมเมอร์

ส่วนหนึ่งมีคำอธิบายว่า คนรุ่นก่อนมีแนวโน้มต้องการเพิ่มความมั่งคั่งในรูปแบบของการทำธุรกิจขนาดเล็ก

ในขณะที่วันนี้คนหนุ่มสาวไม่นิยมสร้างธุรกิจของตัวเอง และมีจำนวนน้อยมากที่จะออกมาทำบริษัทของตัวเอง เทียบกับคนรุ่นอื่นๆ อาจเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยครั้งใหญ่ ทำให้เกิดความรู้สึกเสี่ยง และทำให้พวกเขาต้องหันมาดูแลเงินอย่าง conservative มากขึ้น

ตัวเลขสุดท้ายคือหนี้สิน ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวที่น่าคิดเช่นกัน รถยนต์ที่มีราคาสูงขึ้น ทำให้คนยุคใหม่ต้องใช้จ่ายในส่วนของยานพาหนะมากกว่าในยุคอื่นๆ

นอกจากนี้ มิลเลนเนี่ยล อีกเป็นจำนวนมากที่ยังต้อง ใช้การกู้เงินเพื่อเป็นทุนการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น เป็นผลมาจากการลดระดับสวัสดิการอุดหนุนการศึกษาของรัฐ (สหรัฐอเมริกา) ยังไม่รวมการขึ้นค่าเล่าเรียนในสถาบันเอกชน

อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยยังถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการพัฒนาศักยภาพ เพื่อสร้างรายได้ในอนาคต แม้บัณฑิตที่จบออกมาเป็นจำนวนมาก จะลงเอยด้วยการทำงานที่ไม่ต้องการใบปริญญา

ที่สุดแล้วภาระหนี้ของมิลเลนเนี่ยล จึงสูงถึงประมาณ 2,630,000 บาท (84,600 ดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งมากกว่ารุ่นก่อนๆ อย่างมีนัยยะสำคัญ เจนฯเอกซ์ประมาณ 2,462,000 บาท (79,400 ดอลลาร์) และมากกว่าเบบี้ บูมเมอร์ที่มีหนี้สินเฉลี่ยประมาณ 1,839,000 บาท (59,300 ดอลลาร์)

Cr. Howmuch.net

Exit mobile version