www.onlinenewstime.com : ความจำเป็นสำคัญพื้นฐาน ที่ทุกคนบนโลกมีเหมือนกัน นั่นคือความต้องการอาหาร ส่งผลให้การผลิตทางการเกษตร มีบทบาทสำคัญกับเศรษฐกิจโลก
ปัจจัยต่างๆ เช่นสภาพอากาศ ที่ดินทำกิน การเข้าถึงเทคโนโลยี และจำนวนแรงงาน ล้วนมีผลกระทบต่อการผลิตทางการเกษตร ในทุกพื้นที่ของโลก บทความนี้จะแสดงให้เห็นตัวเลขการเกษตร ในภาพของส่วนแบ่ง GDP ที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศ
ตั้งแต่ปี 2018 ตัวเลขการเกษตรคิดเป็นเพียง 3% ของ GDP โลก ซึ่งมีค่าลดลงจากสถิติ 4% ในปี 2010
แต่ถึงแม้ว่าเกษตรกรรมเป็นเพียงแค่ส่วนแบ่งเล็กๆ ของผลผลิตทางเศรษฐกิจโลก แต่อุตสาหกรรมการเกษตรนี้ ใช้แรงงานเกือบ 30% ของแรงงานทั้งหมด
ประเทศที่กำลังพัฒนา มีแนวโน้มการพึ่งพาการเกษตรมากกว่าประเทศที่พัฒนา ในสัดส่วนของ GDP ที่มากกว่า ซึ่งโดยรวมแล้ว อิทธิพลของตัวเลขทางการเกษตร ในฐานะส่วนแบ่งของ GDP รวมสูงสุด เป็นของประเทศในแอฟริกา และเอเชียใต้
ข้อมูลที่นำมาแสดงนี้ อ้างอิงจากข้อมูลของธนาคารโลก ซึ่งเผยแพร่ฐานข้อมูล GDP ของแต่ละประเทศ แยกตามภาคเกษตร อุตสาหกรรม การผลิต และบริการ และใช้ข้อมูลเพิ่มเติม จากตัวชี้วัดการพัฒนา ของธนาคารโลก ที่สามารถกำหนดได้ว่า การผลิตทางการเกษตร และอัตราแรงงาน แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศอย่างไร
เช่นเดียวกับกราฟฟิค ที่แสดงรายการ GDP ของแต่ละประเทศ ที่ได้รับจากการเกษตร และระบุจำนวนแรงงานเกษตร ด้วยเฉดสีที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ขนาดของประเทศจะใหญ่ขึ้น หากผลผลิตทางการเกษตรมีมากกว่า
นอกจากนี้ขนาดของประเทศจะใหญ่ขึ้น หากผลผลิตทางการเกษตรมีมากกว่า
รายละเอียดตามภูมิภาคดังนี้
3 อันดับแรกของประเทศที่มีผลผลิตทางการเกษตรแบ่งตามภูมิภาค
ทวีปอเมริกา
- สหรัฐอเมริกา – 204.9 พันล้านดอลลาร์ – 1.42% เป็นแรงงานในภาคเกษตร
- บราซิล – 74.4 พันล้านดอลลาร์ – 9.39% เป็นแรงงานในภาคเกษตร
- เม็กซิโก – 36.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ – 12.99% เป็นแรงงานในภาคเกษตร
ภายในทวีปอเมริกา มีความแตกต่างอย่างมาก ระหว่างการผลิตทางการเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนา ประเทศที่พัฒนาแล้วเช่นสหรัฐอเมริกาใช้คนน้อยลง แต่ให้ผลผลิตทางการเกษตรมากขึ้น ในขณะที่ประเทศในอเมริกากลาง และชายฝั่งตะวันตกของอเมริกาใต้ มีสัดส่วนของแรงงานด้านการเกษตรมากกว่า
ทวีปเอเชีย
- จีน – 952.6 พันล้านดอลลาร์ – 26.77% เป็นแรงงานในภาคเกษตร
- อินเดีย – 381.7 พันล้านดอลลาร์ – 43.86% เป็นแรงงานในภาคเกษตร
- อินโดนีเซีย – 135.5 พันล้านดอลลาร์ – 30.53% เป็นแรงงานในภาคเกษตร
ประเทศในเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการผลิตทางการเกษตรที่สูงที่สุดในภูมิภาคนี้ รวมถึงมีแรงงานในภาคเกษตรสูงสุดเช่นกัน ในทางตรงกันข้าม ประเทศในตะวันออกกลาง เช่น โอมาน และเยเมน มีผลผลิตทางการเกษตรต่ำที่สุด บางประเทศที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น อินเดีย ต้องพึ่งพาการเกษตรเป็นอย่างมาก สำหรับการเติบโต และการดำรงชีพ ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น เนปาล หรือแม้แต่พม่า ประชากรมากกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นแรงงานในภาคเกษตรกรรม
ประเทศไทย – 40.40 พันล้านดอลลาร์ – แรงงานเกษตร 30.7%
ทวีปแอฟริกา
- ไนจีเรีย – มีรายได้ 83.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ – ใช้แรงงานภาคเกษตร 36.62%
- เคนยา – 29.9 พันล้านดอลลาร์ – ใช้แรงงานภาคเกษตร 57.45%
- อียิปต์ – 27.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ – แรงงานภาคเกษตร 24.87%
เศรษฐกิจแอฟริกาส่วนใหญ่ อาศัยการผลิตทางการเกษตร ใน 8 ประเทศของแอฟริการวมถึง เซียร์ราลีโอน, มาลี และ กินี-บิสเซา มากกว่าหนึ่งในสามของ GDP มาจากผลผลิตทางการเกษตร ในทำนองเดียวกัน อีก 7 ประเทศในแอฟริการวมถึง ไนเจอร์, ชาด, และ ยูกันดา ประชากรมากกว่า 70% ทำงานในภาคเกษตร
ทวีปยุโรป
- ฝรั่งเศส – 55.6 พันล้านดอลลาร์ – ใช้แรงงานทางการเกษตร 2.6%
- ตุรกี – 46 พันล้านดอลลาร์ – ใช้แรงงานทางการเกษตร 19.2%
- สเปน – 42.8 พันล้านดอลลาร์ – ใช้แรงงานทางการเกษตร 4.31%
ในประเทศส่วนใหญ่ของทวีปยุโรป ใช้จำนวนประชากรน้อยกว่า 10% ในงานเกษตรกรรม มีเพียงข้อยกเว้น สำหรับประเทศในฝั่งยุโรปตะวันออก โดยมีประเทศอย่างแอลเบเนีย, อาเซอร์ไบจาน, และจอร์เจีย ที่ใช้แรงงานทางการเกษตรมากกว่า 30% ประเทศในยุโรป ที่มีผลผลิตทางการเกษตรมากที่สุด ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในยุโรปตะวันตก ยกเว้นตุรกี ที่ตั้งในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้
โอเชเนีย
- ออสเตรเลีย – 43 พันล้านดอลลาร์ – 2.57% เป็นแรงงานทางการเกษตร
- นิวซีแลนด์ – 14.4 พันล้านดอลลาร์ – 6.16% เป็นแรงงานทางการเกษตร
- ปาปัวนิวกินี – 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ – 67.66% เป็นแรงงานทางการเกษตร
ในขณะที่ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ใช้แรงงานการเกษตรในระดับต่ำ แต่บางประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก เช่น ปาปัวนิวกินีและติมอร์ – เลสเต มีอัตราแรงงานการเกษตร มากกว่าครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมด
ด้วยความสำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจโลก การเกษตรจึงเป็นหนึ่งในตลาดที่น่าดึงดูดที่สุด ที่จำเป็นต้องมีการ Disrupt เพื่อการเติบโต ตัวอย่างเช่น รัฐบาลแคนาดาลงทุน 49.5 ล้าน ในเทคโนโลยีการเกษตรต่างๆ หุ่นยนต์เก็บเกี่ยว และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่องานดิจิตัล และสร้างระบบอัตโนมัติสำหรับผลิตผลทางการเกษตร ในทิศทางเดียวกัน อิสราเอลก็มีความพยายาม ในการปรับปรุงการเกษตรให้ทันสมัย เช่น การผสมเกสรอัจฉริยะ และโดรนเก็บเกี่ยวผลไม้ ซึ่งได้รับความสนใจจากนานาชาติ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลก รวมไปถึงความต้องการแรงงานมนุษย์ในอุตสาหกรรมนี้