Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

“นิด้าโพล”สำรวจความคิดเห็น “คุณภาพชีวิตของคนไทย” ภายใต้รัฐบาล คสช.

 

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “คุณภาพชีวิตของคนไทย ภายใต้รัฐบาล คสช.” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1 – 3 กุมภาพันธ์ 2560  จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปกระจายทุกระดับการศึกษาและอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนไทยภายใต้รัฐบาล คสช. ในด้านต่าง ๆ

 

จากการสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล”  ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

 

การสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ ในปี 2559 เมื่อเทียบกับปี 2558 ภายใต้รัฐบาล  คสช. พบว่า ด้านเศรษฐกิจ ปากท้อง รายได้และรายจ่าย ประชาชน ร้อยละ 23.36 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 43.12 ระบุว่า เท่าเดิม  ร้อยละ 33.28 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 0.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านการศึกษา/ภาวะการทำงาน/การประกอบอาชีพ  พบว่า ประชาชน ร้อยละ 28.24 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 43.52 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 25.84 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 2.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยรวม พบว่า ประชาชน ร้อยละ 37.28 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 43.52 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 19.04 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านการพักผ่อนและการใช้ชีวิตในเวลาว่าง พบว่า ประชาชน ร้อยละ 35.68 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 47.12 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 16.88ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 0.32 ไม่ระบุ/ได้านความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว พบว่า ประชาชน ร้อยละ 50.32 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 41.68 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 7.84 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 0.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 36.56 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 47.36 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 15.04 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 1.04 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านความสงบสุข ความปรองดอง ความสามัคคีของคนในสังคมและชุมชน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 45.44 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 38.64ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 14.08 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 1.84 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เช่น สัญญาณโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน การคมนาคม ฯลฯ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 49.36 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 37.44 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 12.32 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 0.88 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต พบว่า ประชาชน ร้อยละ 38.00 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 44.00 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 16.72 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 1.28 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง พบว่า ประชาชน ร้อยละ 27.52 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 41.44 ระบุว่า เท่าเดิม  ร้อยละ 22.08 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 8.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านการบริการและการได้รับสวัสดิการของรัฐด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน เช่น ระบบการศึกษา ระบบประกันสุขภาพ (การรักษาพยาบาล) การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐแก่ประชาชน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 47.84 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 40.88 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 8.56 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 2.72 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามความคิดเห็นของประชาชนต่อคุณภาพชีวิตในด้านต่าง ๆ  ในปี 2560 ภายใต้รัฐบาล  คสช. ว่าจะเป็นอย่างไร พบว่า ด้านเศรษฐกิจ ปากท้อง รายได้และรายจ่าย  ประชาชน ร้อยละ 52.64 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 25.84 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 13.12 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 8.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  •  ด้านการศึกษา/ภาวะการทำงาน/ การประกอบอาชีพ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 53.92 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 26.72 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 11.84 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 7.52 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจโดยรวม พบว่า ประชาชน ร้อยละ 61.68 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 26.08 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 8.08 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 4.16 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านการพักผ่อนและการใช้ชีวิตในเวลาว่าง พบว่า ประชาชน ร้อยละ 55.92 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 33.52 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 6.96 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 3.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านความสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัว พบว่า ประชาชน ร้อยละ 63.92 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 30.96 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 3.52 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 1.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 54.08 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 33.68 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 8.00 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 4.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านความสงบสุข ความปรองดอง ความสามัคคีของคนในสังคมและชุมชน พบว่า ประชาชน ร้อยละ 61.04 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 28.48 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 6.72 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 3.76 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่จำเป็น เช่น สัญญาณโทรศัพท์  อินเทอร์เน็ต น้ำประปา ไฟฟ้า ถนน การคมนาคม ฯลฯ  พบว่า ประชาชน ร้อยละ 64.16 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 26.00 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 6.24 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 3.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและพลังงาน ที่เอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต พบว่า ประชาชน ร้อยละ 57.28 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 28.80 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 9.68 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 4.24 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านเสรีภาพในการแสดงออกความคิดเห็นทางการเมือง พบว่า ประชาชน ร้อยละ 45.44 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 33.44 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 10.32 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 10.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

  • ด้านการบริการและการได้รับสวัสดิการของรัฐด้วยความเสมอภาค เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน เช่นระบบการศึกษา ระบบประกันสุขภาพ (การรักษาพยาบาล) การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐแก่ประชาชน  พบว่า ประชาชน ร้อยละ 59.12 ระบุว่า ดีขึ้น ร้อยละ 30.08 ระบุว่า เท่าเดิม ร้อยละ 5.20 ระบุว่า แย่ลง และ ร้อยละ 5.60 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า ปี 2017 นี้ถือเป็นปีที่มีความผสมผสานระหว่างโลกยุคเก่าและโลกยุคใหม่ อันเห็นได้จากประชากรบนโลกที่มีมากมายหลายเจเนอเรชั่น ตั้งแต่ เบบี้บูมเมอร์ (1945 – 1960) เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ (1961 – 1981) มิลเลนเนียล (1982 – 2004) เจเนอเรชั่นซี หรือไอเจน (2005 – 2009) และอัลฟ่า เจเนอเรชั่น (2010 – 2015)

 

โดยแต่ละรุ่น แต่ละช่วงอายุคนได้รับอิทธิพลความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากความทันสมัยของเทคโนโลยีแตกต่างกันออกไป ประกอบกับเทรนด์และกระแสต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งเทรนด์และกระแสต่างๆ เหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคน โดยเฉพาะผู้ประกอบการต้องให้ความสนใจ เพราะเทรนด์หรือกระแสดังกล่าวเป็นตัวบ่งชี้ถึง ความสนใจของผู้บริโภค ผู้ประกอบการที่รู้เท่าทันกระแสย่อมได้เปรียบในเรื่องการพัฒนาสินค้าและบริการ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด

จากโจทย์ดังกล่าว จึงกลายเป็นบทสรุปได้ว่า กระแสของเทคโนโลยีดิจิทัล และนวัตกรรมต่างๆ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ “ความเลือนราง” ใน 4 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภค ดังนี้

 

ประชากรศาสตร์ (Demographic Blur) การแบ่งกลุ่มผู้บริโภคตามหลักประชากรศาสตร์กำลังเปลี่ยนแปลงไป โดยการแบ่งกลุ่มแบบเดิมตาม เพศ วัย หรือศาสนา มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จลดลง ในทางกลับกันหลายธุรกิจแบ่งประเภทสินค้าและบริการ ตามความสนใจ และรสนิยมของผู้บริโภคมากขึ้น

 

ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เกิดเป็นสินค้าและบริการแบบใหม่ที่ไม่ได้จำกัดด้วยหลักประชากรศาสตร์ อาทิ แฟชั่นเครื่องแต่งกายแบบไม่ระบุเพศของแบรนด์ต่างๆ เช่น เอชแอนด์เอ็ม(H&M) และซาร่า(Zara), การใช้เด็กผู้ชายร่วมเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาตุ๊กตาบาร์บี้, โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่รองรับครอบครัวแบบหลายเจเนอเรชั่น, และเทศกาลงานดนตรีวันเดอร์ฟรุ๊ต (Wonderfruit Festival) ที่รวบรวมประสบการณ์ทั้งดนตรี ศิลปะ สุขภาพเข้าไว้ด้วยกัน

 

เขตแดน (Boundary Blur) เส้นแบ่งของเขตแดนเลือนรางลง การย้ายถิ่นฐานอย่างอิสระนำไปสู่การผสมผสานทางวัฒนธรรม นอกจากนี้เส้นทางที่เชื่อมโยงระหว่างทวีปทำให้เกิดความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจ และการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้นำไปสู่การเปิดกว้างทางความหลากหลายของเชื้อชาติ อันเห็นได้จากหลายสิ่ง อาทิ งานโอลิมปิก 2016 ณ ประเทศบราซิลกับธีม “Global Diversity”, ตัวละครผิวสีที่ชื่อ “ฟิน” (Finn) ในภาพยนตร์เรื่องสตาร์ วอร์ส, หรือแม้แต่ บารัค โอบามา ประธานาธิบดีเชื้อชาติแอฟริกัน – อเมริกันคนแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา

 

ความจริง (Reality Blur) โลกเสมือนจริงที่เกิดจากเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทสำคัญกับชีวิตประจำวันและพฤติกรรมผู้บริโภค โดยผลของกระแสเทคโนโลยีดิจิทัลนี่ทำให้เกิดผลต่างๆ ตามมามากมาย อาทิ กระแสความต้องการแอนะล็อก กลับมาเนื่องจากเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากจนเกินไป จนกลายเป็นเทรนด์ของสินค้าแบรนด์ดังต่างๆ อาทิ กล้องโพลารอยด์ของLeica หรือเครื่องเล่นเกมส์ Nintendo Classic ในอีกด้านหนึ่งเทคโนโลยีได้พัฒนาอย่างต่อเนื่องและอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันมากขึ้นกว่าเคย โดยเฉพาะ เทคโนโลยีอุปกรณ์สวมใส่ (wearable) เทคโนโลยีสมองกล (A.I.) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (virtual reality) และอื่นๆ อีกมากมาย ที่กำลังเข้ามาตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในทุกด้าน

 

ธรรมชาติ (Nature Blur) ถึงแม้โลกยุคปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีที่ล้ำนำสมัย และนวัตกรรมต่างๆมากมาย แต่เทรนด์ผู้บริโภคที่กำลังมาแรงและเป็นกระแสอยู่เทรนด์หนึ่งคือ กระแสธุรกิจที่ตอบโจทย์คนรักธรรมชาติ อาทิ ท่องเที่ยวแบบธรรมชาติ อาหารออแกนิคจากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมหลักจากธรรมชาติ ปลูกผักและสร้างฟาร์มเล็กๆ ของตัวเอง เป็นต้น โดยในกระแสรักธรรมชาตินี้ ยังรวมไปถึงการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และเน้นหลักความยั่งยืนเป็นสำคัญ อันเห็นได้จากประเด็นและสถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นกระแสโลก อาทิ ปรากฎการณ์คอนมาริ (Konmari) หรือการเลือกจัดของตามความสำคัญในการใช้งาน, และเทรนด์การใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ

 

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า   ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของหนังสือบทสรุป “เจาะเทรนด์โลก 2017” ที่ทางศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ในฐานะศูนย์กลางแห่งการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้สังคมไทย ได้ทำการศึกษาวิจัย และสรุปเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่สังคมไทย

 

โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหลักคือ นักออกแบบ นักการตลาด นักบริหารแบรนด์ และผู้ประกอบการในทุกแวดวงธุรกิจ เพื่อให้สามารถเข้าใจถึงกระแสโลก และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อันจะสามารถนำไปสร้างสรรค์ ต่อยอด พัฒนาเป็นสินค้าและบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลด e-Book “เจาะเทรนด์โลก 2017” ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายจาก www.tcdc.or.th

Exit mobile version