fbpx
News update

บิ๊กดาต้า อีกตัวแปรสำคัญที่เปลี่ยนแปลงธุรกิจท่องเที่ยวไทย

onlinenewstime.com : นายธีร์ ฉายากุล Country Manager ทราเวลโลก้า ประเทศไทย กล่าวว่าในปี 2562 จะเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในตลาดผู้บริโภคไทย อันเป็นผลจากการที่อีคอมเมิร์ซเข้ามามีบทบาทในการธุรกิจเกือบทุกประเภทในขณะนี้ ส่งผลให้เกิดทั้งโอกาสและภาวะการแข่งขันมากขึ้นต่อเนื่อง

คนไทยคือนักช้อปออนไลน์ตัวยงไม่แพ้ชาติใดในโลก เป็นเซียนในการเสาะแสวงหาดีล โปรโมชั่น ส่วนลดออนไลน์ต่าง ๆ สามารถเช็คราคา เปรียบเทียบ สั่งซื้อและรับส่งสินค้าได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตอย่างก้าวกระโดดมากกว่า 2 หลักไม่ว่าจะในเขตเมืองหรือภูมิภาค โดยราว ๆ ร้อยละ 40 ของการช้อปปิ้งออนไลน์ไนไทยเป็นสินค้าในหมวดโทรศัพท์ เสื้อผ้า และเครื่องสำอาง โดยซื้อขายผ่านทางสื่อโซเชียลทั้งหลาย ซึ่งคนไทยใช้เวลาออนไลน์เฉลี่ยต่อวันมากกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคราวหนึ่งชั่วโมง1


นายธีร์ ฉายากุล Country Manager ทราเวลโลก้า ประเทศไทย

การเติบโตอย่างรวดเร็วในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในด้านการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่รวบรวมมาให้ได้มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยนำมาสร้างประสบการณ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละรายให้ดีและตรงจุดยิ่งขึ้น

การมาของบิ๊กดาต้า ได้ช่วยเติมเต็ม keyword ให้สมบูรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น และยังเป็นการเพิ่มเครื่องมือในการช่วยค้นหาให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลด้วยภาษาหลักของตัวเองได้ด้วย

เมื่อบิ๊กดาต้าทำงานร่วมกับบริการบอกตำแหน่ง ก็จะช่วยเพิ่มโอกาสการได้คำตอบที่ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น การพิมพ์คำค้นหา “Ba” ระบบอาจจะประมวล Keyword คำว่า Bali Bangkok หรือ Bangsaen ขึ้นมาให้ แต่ถ้าช่วงที่ทำการค้นหา มีผู้ใช้จำนวนมากค้นคำว่า Bangkok ระบบก็จะแนะนำ Bangkok ขึ้นมาให้เป็นอันดับแรก แต่ถ้าผู้ที่สืบค้นอยู่ในพื้นที่บาหลีตามระบบบอกตำแหน่งแล้ว ระบบเสิร์ชเอนจินก็จะแนะนำคำว่า Bali ขึ้นมาให้เป็นอันดับแรกแทน

จากปริมาณการใช้งานออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี ปริมาณข้อมูลที่บิ๊กดาต้าเก็บสะสมไว้ได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์อันน่าทึ่ง เพราะจริง ๆ แล้ว มันก็คือข้อมูลขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนหลายมิติ สามารถนำไปใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โดยกลุ่มข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกบริหารเอาข้อมูลเหล่านี้มาปรับใช้

ในแต่ละวันจะมีข้อมูลเกิดขึ้นใหม่ เช่น มีการค้นหาข้อมูลประมาณ 40,000 ครั้งต่อวินาที (เฉพาะในกูเกิล) หรือเท่ากับ 3.46 ล้านครั้งต่อวัน และ 1.2 ล้านล้านครั้งต่อปี ทุกหนึ่งนาที จะมีผู้ใช้เฟซบุ๊กส่งข้อความราว ๆ 31.25 ล้านข้อความ และดูวิดีโอ 2.77 ล้านคลิป

ข้อมูลที่มีการรวบรวม ไม่ใช่เพียงแค่ข้อความเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการส่งวิดีโอและรูปภาพ ที่มีอัตราสูงขึ้นอย่างมาก มีการอัพโหลดวิดีโอต่าง ๆ บนยูทูบที่มีความยาวรวมกันกว่า 300 ชั่วโมงในทุก ๆ นาที

การวิเคราะห์บิ๊กดาต้าทำได้โดยพิจารณาคุณลักษณะในรายละเอียด 4 ด้าน ได้แก่

1. ปริมาณ

2. ความเร็ว

3. ความหลากหลาย

4. ความถูกต้องแม่นยำ

ทราเวลโลก้าจึงสามารถมองเห็น แยกแยะ และคัดสรรรูปแบบ ความพึงพอใจ พฤติกรรม และสิ่งที่ลูกค้าชื่นชอบในปัจจุบัน ช่วยให้สามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่แค่เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ยังเป็นสิ่งที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละคนได้ และโดนใจความต้องการและรสนิยมของแต่ละคนด้วย

” ที่ทราเวลโลก้า เรามีโซลูชั่นที่ให้ความสำคัญกับผู้ใช้เป็นหลักโดยมีเอไอและแมชชีน เลิร์นนิ่งเป็นตัวช่วยที่สำคัญให้ผู้ใช้ได้ออกไปท่องโลกได้ง่ายขึ้น

เป้าหมายที่สำคัญที่สุดของเราคือ การระบุและเรียงลำดับความสำคัญให้ได้ผลลัพธ์ที่เกี่ยวข้องและเป็นที่นิยมมากที่สุด จากการพิมพ์เพียงไม่กี่ตัวอักษร พร้อมกับสร้างกระบวนการระบุสถานที่ได้อย่างเบ็ดเสร็จ”

วัตถุประสงค์เหล่านี้ ถือเป็นเป้าหมายที่ต้องทำให้สำเร็จและเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะการเคลื่อนไหวของตลาด และทางเลือกของลูกค้า

รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมนั้น ผันแปรไปตามความนิยมที่สูงขึ้นของธุรกิจการจองโรงแรมและสายการบินออนไลน์ โดยเฉพาะในประเทศไทย ธุรกิจนี้มีมูลค่าราว 3.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และคาดว่าจะพุ่งสูงขึ้นถึงราว ๆ 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2568

พัฒนาการอย่างไม่หยุดยั้งของระบบการจัดความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยเน้นประโยชน์ลูกค้าเป็นสำคัญ ทำให้บิ๊กดาต้าเป็นสิ่งที่กิจการด้านท่องเที่ยวออนไลน์ต้องมีและนำเอามาใช้ เพื่อให้เข้าถึงและเข้าใจความต้องการของลูกค้าอยู่ตลอด และนำเสนอทางเลือกที่หลากหลาย รวมทั้งแพ็กเกจที่ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละรายให้ได้ในเวลาที่รวดเร็วที่สุด