fbpx
News update

ศบค. ปรับระดับพื้นที่สถานการณ์และปรับมาตรการป้องกันโรคแบบบูรณาการ

Onlinenewstime.com : นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. เปิดเผย ที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ (วันที่ 18 มีนาคม 2565) เห็นชอบการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์และการปรับมาตรการป้องกันโรคแบบบูรณาการ

  • การปรับระดับพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ เริ่ม 1 เมษายนนี้

พื้นที่สีส้มหรือพื้นที่ควบคุม จากเดิม 44 จังหวัด เป็น 20 จังหวัด คือ ตาก นครนายก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก ระนอง ระยอง ราชบุรี สงขลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี อุดรธานี อุตรดิตถ์

พื้นที่สีเหลือง หรือเฝ้าระวังสูง จากเดิม 25 จังหวัด เป็น 47 จังหวัด โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ภาคอีสานกับภาคเหนือ คือ กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตราด นครพนม นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน บึงกาฬ ปราจีนบุรี ปัตตานี พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุทัยธานี อุบลราชธานี

พื้นที่สีฟ้า (นำร่องท่องเที่ยว) จากเดิม 8 จังหวัด เป็น 10 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต (มี 16 จังหวัดดำเนินการบางพื้นที่) โดยพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวใช้มาตรการเดียวกับพื้นที่เฝ้าระวัง

  • แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น (Endemic Approach to COVID-19)

ภายใต้มาตรการด้านสาธารณสุข การแพทย์ กฎหมายและสังคม และการสื่อสารประชาสัมพันธ์ แบ่งเป็นระยะที่ 1-2-3 และระยะเดือนกรกฎาคม เพื่อไปสู่เป้าหมาย คือ

  1. เข้าถึงการรักษาได้รวดเร็ว อย่างมีคุณภาพ อัตราป่วยตายไม่เกินร้อยละ 0.1
  2. ความครอบคลุมวัคซีนเข็มกระตุ้น มากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 60 โดยปัจจุบันวัคซีนเข็มที่  1 และเข็มที่ 2 ครอบคลุมร้อยละ 60 ส่วนเข็มที่ 3 เข็ม ครอบคลุมประมาณร้อยละ 20 – 30  
  3. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง และความร่วมมือของประชาชนในการรับมือและการปรับตัว เพื่ออยู่ร่วมกับโควิดจาก Pandemic สู่ Endemic อย่างปลอดภัย
  • การปรับมาตรการป้องกันโรค สำหรับการเดินทางเข้าราชอาณาจักร  โดยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

ประเภท  Test & Go Sandbox และ Quarantine ตรวจ RT-PCR เมื่อเดินทางถึงไทย และตรวจ ATK ในวันที่ 5 กรณี Sandbox อยู่ในพื้นที่ 5 วัน  ส่วน  Quarantine ให้กักตัว 5 วัน และตรวจ RT-PCR ในวันที่ 4-5 กรณีผู้ควบคุมยานพาหนะ ตรวจ ATK ในวันที่ 5 ไม่ต้องกักตัว โดยวงเงินประกันอยู่ที่ 20,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ 

นอกจากนี้ ยังมีการเปิดด่าน ในระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ด่านทางบกที่จังหวัดสตูล ท่าเรือจังหวัดสุราษฎร์ธานี, ประเภทเรือ เรือของหน่วยงานราชการในประเทศไทย ลูกเรือสัญชาติไทยบนเรือสินค้า และสนามบิน ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดในระยะ 5 ชั่วโมงตามหลักเกณฑ์ (พื้นที่สีฟ้า และมีโรงแรมที่พัก SHA++ ได้แก่ กระบี่ สงขลา สุราษฎร์ธานี)

ระยะถัดไป (เดือนพฤษภาคม 2565) ด่านทางบกที่จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี และทุกจังหวัดที่มีความพร้อมตามการประเมิน ท่าเรือในจังวหัดกระบี่ และทุกท่าเรือที่มีความพร้อมตามการประเมินของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ประเภทเรือ เรือสำราญขนาดใหญ่ เรือทั่วไป เรือของหน่วยงานราชการในต่างประเทศ และสนามบินที่มีความพร้อมตามการประเมินของ สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)

  • มาตรการการป้องกันโรคโควิด 19 ในการจัดงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ 

การเตรียมตัว ก่อนเข้าร่วมงานสงกรานต์ หรือประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนา กลุ่ม 608 ฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์แล้วและต้องประเมินความเสี่ยงก่อน หากมีอาการหรือมีความเสี่ยง ให้งดหรือตรวจ ATK ภายใน 72 ชั่วโมง

ขณะเดินทางโดยขนส่งสาธารณะ สวมหน้ากากตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ งดรับประทานอาหาร และห้ามดื่มแอลกอฮอล์ขณะเดินทาง

ผู้จัดงาน และกิจการที่เกี่ยวข้องให้ลงทะเบียนบนระบบ TSC2+ และประเมินตนตนเองตาม COVID Free Setting การขออนุญาตจัดงานให้เป็นไปตามเขตพื้นที่สถานการณ์ฯ และกำหนดให้มีมาตรการในการควบคุมกำกับอย่างเข้มงวด

ระหว่างช่วงงานสงกรานต์ พื้นที่จัดงานสงกรานต์ ที่มีการจัดเตรียมสถานที่และควบคุมกำกับ

อนุญาตให้เล่นน้ำและจัดกิจกรรมตามประเพณี เช่น รดน้ำดําหัว สรงน้ำพระ การละเล่น การแสดงทางวัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น ขบวนแห่ การแสดงดนตรี โดยต้องปฏิบัติตามมาตรการ COVID Free Setting และมีการกํากับอย่างเคร่งครัด  ห้ามประแป้ง ปาร์ตี้โฟม จําหน่ายและบริโภคแอลกอฮอล์ในพื้นที่จัดงาน

กําหนดช่องทางเข้า-ออกจากงาน จัดจุดคัดกรอง และควบคุมความหนาแน่นในพื้นที่จัดงาน (1 ต่อ 4 ตารางเมตร) สวมหน้ากากตลอดเวลา พกเจลแอลกอฮอล์ รักษาระยะห่าง ตลอดเวลาที่ร่วมงาน • พื้นที่สาธารณะไม่มีการควบคุม เช่น ท้องถนน ฯลฯ ห้ามเล่นน้ำประแป้ง และปาร์ตี้โฟม

กิจกรรมรวมกลุ่มในครอบครัว เช่น รดน้ำดําหัว การรับประทานอาหารร่วมกัน ฯลฯ จัดกิจกรรมในที่มีการระบายอากาศได้ดี หรือที่โล่ง ไม่หนาแน่นหรือคับแคบ  สวมหน้ากากตลอดเวลา งดกิจกรรมการสัมผัสใกล้ชิด หรือใช้สิ่งของร่วมกัน  เลี่ยงการรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน

ผู้สูงอายุที่ยังไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ควรได้รับวัคซีนให้ครบก่อนร่วมกิจกรรมสังสรรค์ และสัมผัสใกล้ชิดลูกหลาน – ผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสเสี่ยงสูงห้ามร่วมกิจกรรม

หลังงานสงกรานต์ สังเกตุอาการตนเอง 7 วัน โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อ การป่วยรุนแรง และผู้ที่จะไปพบปะกับผู้คนจํานวนมาก หากพบว่ามีอาการสงสัยติดเชื้อ ให้ทําการตรวจ ATK และหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนจํานวนมากโดยไม่จําเป็น ขณะเดียวกันในช่วงการสังเกตอาการ พิจารณามาตรการ WFH ให้เป็นไปตามความเหมาะสม และการพิจารณาของหน่วยงาน

  • การขยายระยะเวลา ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร  ออกไปอีก 2 เดือน เป็นคราวที่ 17 (1 เมษายน 2565 – 31 พฤษภาคม 2565)