Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

Super Poll สำรวจทุกข์ (Pain Point) จากบริการโรงพยาบาล 

super poll Pain Point

onlinenewstime.com : สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (Super Poll) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง สำรวจทุกข์ (Pain Point) จากบริการโรงพยาบาล 

 

ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง สำรวจทุกข์ (Pain Point) จากบริการโรงพยาบาล จำนวนทั้งสิ้น 2,587 คน โดยดำเนินโครงการระหว่าง 1 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา

 

ทั้งนี้การสำรวจทุกข์ (Pain Point) จากบริการโรงพยาบาล พบว่า

 

ครึ่งหนึ่งหรือร้อยละ 50.6 ใช้สิทธิในการรักษาด้วยบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ บัตรทอง

รองลงมาคือ ร้อยละ 28.0 ใช้สิทธิประกันสังคม

ร้อยละ 11.6 ใช้สิทธิข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐ

ร้อยละ 7.2 ใช้สิทธิประกันชีวิต บริษัทเอกชน

และร้อยละ 2.6 ใช้อื่น ๆ ตามลำดับ

 

ที่น่าเป็นห่วงคือ ทุกข์ (Pain Point) จากบริการโรงพยาบาลที่ต้องเร่งปรับปรุงด่วนที่สุด ได้แก่

 

รอคิวนาน บางรายรอการรักษาข้ามปี ร้อยละ 33.5

รองลงมาคือ หมอ พนักงาน พยาบาล ไม่ยินดีต้อนรับ พูดจาไม่ดี

ร้อยละ 15.2 จัดยาให้ราคาถูก ไม่มีคุณภาพ มุ่งแต่เอากำไร

ร้อยละ 13.4 ปัญหาเกี่ยวกับ หมอ เช่น รักษาไม่ตรงโรค ผิดจรรยาบรรณ

ร้อยละ 8.7 ปัญหาผลกระทบจากการรักษา

ร้อยละ 4.2 และ อื่นๆ เช่น ไม่รับรักษาคนไข้ ร้องเรียนไปก็เงียบ จ่ายค่ายาเอง เลือกปฏิบัติ ไม่เต็มใจรักษา

สถานที่ไม่สะอาด ระบบไม่ดี ร้อยละ 7.4

ในขณะที่ ร้อยละ 17.6 ไม่มีปัญหา

 

 

อย่างไรก็ตาม ค่าคะแนนเฉลี่ยความพอใจจากการใช้สิทธิรักษาพยาบาล เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า พอใจค่อนข้างมากจากการใช้สิทธิรักษาพยาบาล อยู่ที่ 7.06 คะแนน แต่เมื่อแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ พบ ผู้ใช้สิทธิข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐมีความพอใจสูงสุดคือ 7.83 คะแนน รองลงมาคือ สิทธิประกันชีวิต บริษัทเอกชน ได้ 7.20 คะแนน ในขณะที่ ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม กับ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) พอใจไม่แตกต่างกันคือ 6.98 และ 6.74 คะแนน

 

 

ที่น่าสนใจคือ ผลการจัดอันดับคะแนนเฉลี่ยความพอใจต่อโรงพยาบาลรัฐบริการดี เมื่อคะแนนเต็ม 10 คะแนน พบว่า โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ได้ 9.25 คะแนน อันดับสอง คือ ศิริราช ได้ 8.74 คะแนน อันดับสามได้แก่ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้คะแนนเท่ากันคือ 8.53 คะแนน อันดับห้า ได้แก่ โรงพยาบาล มหาราช นครราชสีมา และ โรงพยาบาล รามา ได้คะแนนเท่ากัน คือ 8.41 อันดับเจ็ด ได้แก่ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลราชวิถี ได้คะแนนเท่ากันคือ 8.27 อันดับที่ 9 ได้แก่ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ได้ 8.18 และอันดับที่สิบ ได้แก่ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ได้ 8.11 คะแนน ตามลำดับ

Exit mobile version