fbpx
News update

โควิด-19 จุดเปลี่ยนอสังหาฯ ไทย

Onlinenewstime.com : เน็กซัส ชี้โควิด-19 สร้าง Covid Shock จุดเปลี่ยนอสังหาฯ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแบบพลิกฝ่ามือ ทุกคนถูก Fast Forward เข้าสู่โลกอนาคตเพียงพริบตา ปีนี้ซัพพลายเก่าจะถูกเร่งขาย ในขณะที่ซัพพลายใหม่ จะเข้าสู่ตลาดไม่เกิน 30,000 ยูนิต ถือเป็นโอกาสทองของคนเงินเย็น ที่พร้อมช้อนซื้อสินค้าดีราคาประหยัด  

นางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ประเมินสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์หลังวิกฤตโควิด-19  ว่า ในช่วงปีนี้ เป็นช่วงเวลาแห่งการระบายสต๊อกเก่า ข้อมูลจากเน็กซัสพบว่า ซัพพลายของคอนโดมิเนียมคงค้างในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปลายปี 2562 มีประมาณ 60,000 ยูนิต คาดว่าในปีนี้ ตลาดจะสามารถดูดซับไปได้ประมาณ 80% โดยเราจะเริ่มเห็นการลดราคาจากดีเวลลอปเปอร์ ซึ่งราคาที่ลดลงจะอยู่ในเรทเหมาะสมและค่อนข้างดี เป็นระดับราคาที่ดีเวลลอปเปอร์ยอมรับได้ และคุ้มค่าที่จะซื้อในฝั่งผู้บริโภค

คาดการณ์ว่ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่จะกลับมาได้รับความสนใจเร็วที่สุด หลังวิกฤติโควิด-19 คือ คอนโดฯ​ ราคาไม่เกิน 4 ล้านบาท เพราะเป็นระดับราคาที่คนกรุงเทพฯ​ ส่วนใหญ่รับได้ และเป็นเรียลดีมานด์ ที่ต้องการอยู่อาศัยเลย ส่วนอีกตลาด ที่จะฟื้นตัวเร็ว คือ สินค้าในระดับลักซ์ชัวรี ที่ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะมีเงินลดลง แต่ยังมีกำลังซื้อมากพอ ที่จะจ่ายได้ โดยตัวผู้บริโภคเอง จะเลือกซื้อสินค้าที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ใหม่ของตัวเอง และมีฟังก์ชั่น ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ เช่น การปรับให้มีห้องทำงานที่เหมาะกับการทำงานที่บ้านได้ เป็นต้น

เมื่อประเมินเรื่องอสังหาริมทรัพย์ไทย จะเป็นอย่างไรในช่วงเวลาหลังจากโควิด-19 นางนลินรัตน์ ประเมินว่า “หากประเมินภาพเชิงลบที่สุด คือ หากวิกฤติโควิด-19 ยังดำเนินต่อไป และไม่สามารถลดปริมาณผู้ติดเชื้อได้ ผู้ประกอบการภาคเอกชน จะอยู่ได้ยาวที่สุดอีกเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น และจะเป็นงานหนักสำหรับดีเวลลอปเปอร์ เพราะเมื่อภาคธุรกิจขาดสภาพคล่อง จะเริ่มเห็นแนวโน้มการปิดตัวลงของผู้ประกอบการจำนวนมาก

ทำให้เม็ดเงินในกระเป๋าของผู้บริโภค ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจชะลอการซื้อ จะกระทบต่อตลาด อสังหาริมทรัพย์มากขึ้นตามไปด้วย หากประเมินในภาพบวกเพิ่มขึ้น คือ หากเราสามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อได้  และจำนวนผู้ติดเชื้อค่อยๆ ลดลง จนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ประเมินว่าในช่วงไตรมาส 2 นี้ ตลาดก็อาจจะ ยังไม่สดใสนัก แต่จะเห็นแนวโน้มที่จะค่อยๆ ดีขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป

เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มปรับตัว กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ้าง แต่จะเห็นว่าทุกอย่างจะกลับมาดีขึ้นอย่างจริงจัง ในไตรมาส 3 โดยผู้ประกอบการหลายราย จะเริ่มกลับมามีกิจกรรมทางการตลาด เพราะอย่างไรก็ตาม ธุรกิจต้องดำเนินไป และไตรมาสที่4 จะดีที่สุด และคาดว่า จะเป็นไตรมาส ที่รัฐบาลหันกลับมาพิจารณาให้ความสำคัญ กับภาคอสังหาฯ โดยมีมาตรการช่วยเหลือ และผ่อนปรนต่างๆ ออกมาเพื่อสนับสนุนให้อสังหาฯ ยังคงเดินต่อไปได้”

ผ่อนปรนมาตรการด้านอสังหาฯ

ในไตรมาส 4 หากภาครัฐออกมาตรการ เพื่อสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ จะเห็นตลาดรีบาวด์กลับมาอย่างชัดเจน   ไม่ว่าจะเป็น มาตรการลดค่าโอน ที่ขยายให้ครอบคลุม ทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ การยืดหยุ่นภาษีธุรกิจเฉพาะ การผ่อนปรนมาตรการ LTV รวมถึงการผ่อนคลายกฎเกณฑ์การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของชาวต่างชาติ โดยอาจปรับให้สามารถซื้อที่ดิน หรือบ้านในโครงการจัดสรรที่พัฒนาเพื่อที่อยู่อาศัยได้ ซึ่งกำลังซื้อจากต่างชาติ จะช่วยให้ตลาดอสังหาฯ ไทยกลับมาได้เร็วมากยิ่งขึ้น

แนวโน้มอสังหาฯ และเทรนด์การอยู่อาศัยในปี 2564  

เนื่องจากปีนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งระบายสต๊อกเก่า ดังนั้นจะส่งผลให้ซัพพลายใหม่ที่จะออกมา น่าจะไม่เกิน 30,000 ยูนิต จากปกติในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ จะมีซัพพลายใหม่ออกมาเฉลี่ยปีละ 52,000 ยูนิต และเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11%ทุกปี

ใส่ชื่อโควิด-19 จุดเปลี่ยนอสังหาฯ ไทย

Onlinenewstime.com : เน็กซัส ชี้โควิด-19 สร้าง Covid Shock จุดเปลี่ยนอสังหาฯ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแบบพลิกฝ่ามือ ทุกคนถูก Fast Forward เข้าสู่โลกอนาคตเพียงพริบตา ปีนี้ซัพพลายเก่าจะถูกเร่งขาย ในขณะที่ซัพพลายใหม่ จะเข้าสู่ตลาดไม่เกิน 30,000 ยูนิต ถือเป็นโอกาสทองของคนเงินเย็น ที่พร้อมช้อนซื้อสินค้าดีราคาประหยัด  

นางนลินรัตน์ เจริญสุพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เน็กซัส พรอพเพอร์ตี้ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด ประเมินสถานการณ์ตลาดอสังหาริมทรัพย์หลังวิกฤตโควิด-19  ว่า ในช่วงปีนี้ เป็นช่วงเวลาแห่งการระบายสต๊อกเก่า ข้อมูลจากเน็กซัสพบว่า ซัพพลายของคอนโดมิเนียมคงค้างในกรุงเทพฯ ตั้งแต่ปลายปี 2562 มีประมาณ 60,000 ยูนิต คาดว่าในปีนี้ ตลาดจะสามารถดูดซับไปได้ประมาณ 80% โดยเราจะเริ่มเห็นการลดราคาจากดีเวลลอปเปอร์ ซึ่งราคาที่ลดลงจะอยู่ในเรทเหมาะสมและค่อนข้างดี เป็นระดับราคาที่ดีเวลลอปเปอร์ยอมรับได้ และคุ้มค่าที่จะซื้อในฝั่งผู้บริโภค

คาดการณ์ว่ากลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ที่จะกลับมาได้รับความสนใจเร็วที่สุด หลังวิกฤติโควิด-19 คือ คอนโดฯ​ ราคาไม่เกิน 4 ล้านบาท เพราะเป็นระดับราคาที่คนกรุงเทพฯ​ ส่วนใหญ่รับได้ และเป็นเรียลดีมานด์ ที่ต้องการอยู่อาศัยเลย ส่วนอีกตลาด ที่จะฟื้นตัวเร็ว คือ สินค้าในระดับลักซ์ชัวรี ที่ถึงแม้คนส่วนใหญ่จะมีเงินลดลง แต่ยังมีกำลังซื้อมากพอ ที่จะจ่ายได้ โดยตัวผู้บริโภคเอง จะเลือกซื้อสินค้าที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ใหม่ของตัวเอง และมีฟังก์ชั่น ที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการ เช่น การปรับให้มีห้องทำงานที่เหมาะกับการทำงานที่บ้านได้ เป็นต้น

เมื่อประเมินเรื่องอสังหาริมทรัพย์ไทย จะเป็นอย่างไรในช่วงเวลาหลังจากโควิด-19 นางนลินรัตน์ ประเมินว่า “หากประเมินภาพเชิงลบที่สุด คือ หากวิกฤติโควิด-19 ยังดำเนินต่อไป และไม่สามารถลดปริมาณผู้ติดเชื้อได้ ผู้ประกอบการภาคเอกชน จะอยู่ได้ยาวที่สุดอีกเพียงแค่ 3 เดือนเท่านั้น และจะเป็นงานหนักสำหรับดีเวลลอปเปอร์ เพราะเมื่อภาคธุรกิจขาดสภาพคล่อง จะเริ่มเห็นแนวโน้มการปิดตัวลงของผู้ประกอบการจำนวนมาก

ทำให้เม็ดเงินในกระเป๋าของผู้บริโภค ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจชะลอการซื้อ จะกระทบต่อตลาด อสังหาริมทรัพย์มากขึ้นตามไปด้วย หากประเมินในภาพบวกเพิ่มขึ้น คือ หากเราสามารถควบคุมจำนวนผู้ติดเชื้อได้  และจำนวนผู้ติดเชื้อค่อยๆ ลดลง จนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ประเมินว่าในช่วงไตรมาส 2 นี้ ตลาดก็อาจจะ ยังไม่สดใสนัก แต่จะเห็นแนวโน้มที่จะค่อยๆ ดีขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป

เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มปรับตัว กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ้าง แต่จะเห็นว่าทุกอย่างจะกลับมาดีขึ้นอย่างจริงจัง ในไตรมาส 3 โดยผู้ประกอบการหลายราย จะเริ่มกลับมามีกิจกรรมทางการตลาด เพราะอย่างไรก็ตาม ธุรกิจต้องดำเนินไป และไตรมาสที่4 จะดีที่สุด และคาดว่า จะเป็นไตรมาส ที่รัฐบาลหันกลับมาพิจารณาให้ความสำคัญ กับภาคอสังหาฯ โดยมีมาตรการช่วยเหลือ และผ่อนปรนต่างๆ ออกมาเพื่อสนับสนุนให้อสังหาฯ ยังคงเดินต่อไปได้”

ผ่อนปรนมาตรการด้านอสังหาฯ

ในไตรมาส 4 หากภาครัฐออกมาตรการ เพื่อสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ จะเห็นตลาดรีบาวด์กลับมาอย่างชัดเจน   ไม่ว่าจะเป็น มาตรการลดค่าโอน ที่ขยายให้ครอบคลุม ทั้งตลาดอสังหาริมทรัพย์ การยืดหยุ่นภาษีธุรกิจเฉพาะ การผ่อนปรนมาตรการ LTV รวมถึงการผ่อนคลายกฎเกณฑ์การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของชาวต่างชาติ โดยอาจปรับให้สามารถซื้อที่ดิน หรือบ้านในโครงการจัดสรรที่พัฒนาเพื่อที่อยู่อาศัยได้ ซึ่งกำลังซื้อจากต่างชาติ จะช่วยให้ตลาดอสังหาฯ ไทยกลับมาได้เร็วมากยิ่งขึ้น

แนวโน้มอสังหาฯ และเทรนด์การอยู่อาศัยในปี 2564  

เนื่องจากปีนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องเร่งระบายสต๊อกเก่า ดังนั้นจะส่งผลให้ซัพพลายใหม่ที่จะออกมา น่าจะไม่เกิน 30,000 ยูนิต จากปกติในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ จะมีซัพพลายใหม่ออกมาเฉลี่ยปีละ 52,000 ยูนิต และเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11%ทุกปี

ซึ่งผลจาก Covid Shock ในครั้งนี้ส่งผลให้ยอดสะสมของคอนโดมิเนียมจะลดลง ถือเป็นการปรับฐานใหม่อีกครั้งสำหรับอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ซึ่งการปรับฐานในครั้งนี้ ไม่เพียงแค่เรื่องจำนวนคอนโดมิเนียมเท่านั้น แต่ยังปรับไปถึงเรื่องการเปลี่ยนฟังก์ชั่นการใช้งาน ในคอนโดมิเนียมหรือบ้านด้วย เพราะการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป ทำให้การออกแบบที่อยู่อาศัย ต้องตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ใหม่ อาทิ การเริ่มคุ้นชินกับการทำงานที่บ้าน ดังนั้น ดีเวลลอปเปอร์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เรื่องฟังก์ชั่นภายในบ้าน หรือคอนโดฯ เช่น ให้ความสำคัญกับห้องทำงาน มากพอกับห้องนอน เป็นต้น

ในส่วนกลาง ที่เคยให้ความสำคัญกับการมี Co-working space หรือ Co-kitchen แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนเรามีระยะห่างมากขึ้น มีความนิ่ง อยู่กับตัวเอง และรักความสะอาดมากกว่าเดิม ดังนั้นสินค้าใหม่ของดีเวลลอปเปอร์ที่จะผลิตออกมา จะชูจุดขายเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว เช่น ห้องครัว หรือห้องทำงาน แบบรองรับคนเพียงคนเดียว จะเป็นรูปแบบที่ถูกได้รับความสำคัญมากอย่างยิ่ง เพราะคนใช้ชีวิตกับตัวเองมากขึ้น รวมถึงการให้น้ำหนักไปกับ Living Room หรือห้องทำงานมากกว่าห้องนอน เพราะเมื่อคนทำงานอยู่ที่บ้าน มักใช้เวลาในห้องเหล่านี้มากกว่าห้องนอน โดยคาดว่าจะเห็นสินค้าใหม่ๆ รูปแบบนี้ ออกมาจากดีเวลลอปเปอร์ในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า

ตลาดรีเทลและตลาดอาคารสำนักงานกระทบหนัก

กลุ่มรีเทลเป็นอีกกลุ่มสำคัญ ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ผู้เช่าที่เคยเช่าพื้นที่ขายของในห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่คอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ จะเริ่มคุ้นชินกับการขายของผ่านออนไลน์ ดังนั้น ต่อจากนี้ไปหน้าร้านจะถูกลดบทบาทความสำคัญลง ผู้เช่าคุ้นชินกับการขายของผ่านโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น มีทักษะด้านออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การมีหน้าร้าน หรือการเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่จะถูกลดทอนขนาดการเช่าลง แต่เน้นเรื่องการให้บริการออนไลน์ และการส่งเดลิเวอรี่ หรือให้ลูกค้าไปรับสินค้าที่หน้าร้านแทนมากยิ่งขึ้น

ทำให้กลุ่มธุรกิจส่วนนี้ ต้องวางแผนการปรับตัวอย่างมาก เพื่อให้พื้นที่เช่ายังคงเป็นที่ต้องการอยู่ ร้านค้าจะเป็นดิสเพลย์ที่ให้ประสบการณ์ หลังจากศึกษาข้อมูลออนไลน์ หรือเข้ามาเพื่อรับบริการหลังการขายต่างๆ มากกว่า การตกแต่งภายในของพื้นที่ อาจมีความจำเป็นน้อยลง นอกจากนี้พื้นที่ค้าปลีกอาจมี Stand alone เพื่อบริการเดลิเวอรี่มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้างสรรพสินค้าใหญ่อีกต่อไป

สำหรับตลาดอาคารสำนักงานนั้น เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากปีที่ผ่านมาและอีก 2 ปีข้างหน้า ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ จะมีซัพพลายใหม่ออกมาอีกนับเป็นล้านตารางเมตร จากอาคารที่กำลังก่อสร้าง กว่า 40 อาคาร พื้นที่ประมาณ 1.61 ล้านตารางเมตร และจะแล้วเสร็จพร้อมๆ กันในปี 2564 – 2566 แต่พฤติกรรมของคนได้ถูกปรับเปลี่ยนไปแล้ว เพราะการทำงานที่บ้านเริ่มได้รับการยอมรับ และมีความเป็นไปได้สูง ที่จะเกิดเทรนด์ต่อไป แม้ว่าเหตุการณ์โควิดจะผ่านไปแล้วก็ตาม

ส่งผลให้บริษัทต้องการพื้นที่ออฟฟิศลดลง ทั้งจำนวนที่นั่ง โต๊ะทำงาน และห้องประชุม และจะส่งผลกระทบ ต่อเจ้าของอาคารอย่างชัดเจน เทรนด์ที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ ล้วนเป็นไลฟ์สไตล์ใหม่ เทรนด์ใหม่ที่ออกมาท้าทายโลกของเราอย่าง Fast Forward แบบที่เราเองก็ไม่นึกมาก่อน ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อม ที่จะรับมือและต้องปรับตัว อาทิ

  1. Facilities ปรับปรุงระบบ Facilities ของอาคาร ให้สามารถสนับสนุนการทำงานข้ามไปข้ามมา ระหว่างที่อาคารสำนักงาน (Head Office) กับการทำงานนอกสถานที่ (Home) โดย Facilities ที่สำคัญ ได้แก่ ระบบทางด้าน IT ที่จะต้องมีความพร้อมในขั้นสูงสุด และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนระบบ ให้ได้อย่างรวดเร็วตามกระแสการใช้งาน
  2. Flexibility เนื่องจากเทรนด์สมัยใหม่ ผู้เช่าหลายๆ ราย ต้องการความยืดหยุ่นในการใช้พื้นที่ ปรับลด/เพิ่ม ได้ตามความต้องการ ผู้ประกอบการที่เข้าใจในรูปแบบของผู้เช่า อาจจะต้องปรับรูปแบบของสัญญาเช่า และพื้นที่เช่าให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
  3. Fair Price จากการที่ Supply & Demand กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ ในขณะที่ Supply กำลังจะมีคู่แข่งเข้ามาในตลาดที่มากขึ้น ทางด้าน Demand ก็กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบของความต้องการ แน่นอนเลยคือตลาด     จะพบกับการแข่งขันที่ดุเดือด สิ่งที่จะเห็นได้คือ สงครามราคา ดังนั้นผู้ประกอบการที่ปรับตัว และพร้อมที่จะแข่งขันในเรื่องราคา และบริการได้ก่อนผู้ประกอบการรายอื่น ก็จะสามารถผ่านช่วงเวลาท้าทายช่วงนี้ไปได้อย่างไม่ลำบาก

Focus keyphraseHelp on choosing the perfect focus keyphrase(Opens in a new browser tab)Preview as:Mobile resultDesktop resultUrl preview:https://www.onlinenewstime.com › โควิด-19-จุดเปลี่ยนอสังหาฯ-ไทยSEO title preview:โควิด-19 จุดเปลี่ยนอสังหาฯ ไทย – Online NewstimeMeta description preview:เม.ย. 18, 2020 ⋅ โควิด-19 จุดเปลี่ยนอสังหาฯ ไทย เน็กซัส ชี้โควิด-19 สร้าง Covid Shock จุดเปลี่ยนอสังหาฯ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแบบพลิกฝ่ามือSEO titleTitle Page Separator Site title SlugMeta descriptionโควิด-19 จุดเปลี่ยนอสังหาฯ ไทย เน็กซัส ชี้โควิด-19 สร้าง Covid Shock จุดเปลี่ยนอสังหาฯ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแบบพลิกฝ่ามือ หัวข้อแนะนำตัวแบ่งส่วนและจัดการเนื้อหาแบบใหม่ เพื่อช่วยให้ผู้เยี่ยมชม (และ Search engines) เข้าใจโครงสร้างของเนื้อหาได้ดีขึ้น

ระดับ

ซึ่งผลจาก Covid Shock ในครั้งนี้ส่งผลให้ยอดสะสมของคอนโดมิเนียมจะลดลง ถือเป็นการปรับฐานใหม่อีกครั้งสำหรับอสังหาฯ ในกรุงเทพฯ ซึ่งการปรับฐานในครั้งนี้ ไม่เพียงแค่เรื่องจำนวนคอนโดมิเนียมเท่านั้น แต่ยังปรับไปถึงเรื่องการเปลี่ยนฟังก์ชั่นการใช้งาน ในคอนโดมิเนียมหรือบ้านด้วย เพราะการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป ทำให้การออกแบบที่อยู่อาศัย ต้องตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ใหม่ อาทิ การเริ่มคุ้นชินกับการทำงานที่บ้าน ดังนั้น ดีเวลลอปเปอร์จำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เรื่องฟังก์ชั่นภายในบ้าน หรือคอนโดฯ เช่น ให้ความสำคัญกับห้องทำงาน มากพอกับห้องนอน เป็นต้น

ในส่วนกลาง ที่เคยให้ความสำคัญกับการมี Co-working space หรือ Co-kitchen แต่ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ทำให้คนเรามีระยะห่างมากขึ้น มีความนิ่ง อยู่กับตัวเอง และรักความสะอาดมากกว่าเดิม ดังนั้นสินค้าใหม่ของดีเวลลอปเปอร์ที่จะผลิตออกมา จะชูจุดขายเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว เช่น ห้องครัว หรือห้องทำงาน แบบรองรับคนเพียงคนเดียว จะเป็นรูปแบบที่ถูกได้รับความสำคัญมากอย่างยิ่ง เพราะคนใช้ชีวิตกับตัวเองมากขึ้น รวมถึงการให้น้ำหนักไปกับ Living Room หรือห้องทำงานมากกว่าห้องนอน เพราะเมื่อคนทำงานอยู่ที่บ้าน มักใช้เวลาในห้องเหล่านี้มากกว่าห้องนอน โดยคาดว่าจะเห็นสินค้าใหม่ๆ รูปแบบนี้ ออกมาจากดีเวลลอปเปอร์ในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า

ตลาดรีเทลและตลาดอาคารสำนักงานกระทบหนัก

กลุ่มรีเทลเป็นอีกกลุ่มสำคัญ ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ผู้เช่าที่เคยเช่าพื้นที่ขายของในห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่คอมมูนิตี้มอลล์ต่างๆ จะเริ่มคุ้นชินกับการขายของผ่านออนไลน์ ดังนั้น ต่อจากนี้ไปหน้าร้านจะถูกลดบทบาทความสำคัญลง ผู้เช่าคุ้นชินกับการขายของผ่านโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น มีทักษะด้านออนไลน์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้การมีหน้าร้าน หรือการเช่าพื้นที่ขนาดใหญ่จะถูกลดทอนขนาดการเช่าลง แต่เน้นเรื่องการให้บริการออนไลน์ และการส่งเดลิเวอรี่ หรือให้ลูกค้าไปรับสินค้าที่หน้าร้านแทนมากยิ่งขึ้น

ทำให้กลุ่มธุรกิจส่วนนี้ ต้องวางแผนการปรับตัวอย่างมาก เพื่อให้พื้นที่เช่ายังคงเป็นที่ต้องการอยู่ ร้านค้าจะเป็นดิสเพลย์ที่ให้ประสบการณ์ หลังจากศึกษาข้อมูลออนไลน์ หรือเข้ามาเพื่อรับบริการหลังการขายต่างๆ มากกว่า การตกแต่งภายในของพื้นที่ อาจมีความจำเป็นน้อยลง นอกจากนี้พื้นที่ค้าปลีกอาจมี Stand alone เพื่อบริการเดลิเวอรี่มากขึ้น ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้างสรรพสินค้าใหญ่อีกต่อไป

สำหรับตลาดอาคารสำนักงานนั้น เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ ที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน เนื่องจากปีที่ผ่านมาและอีก 2 ปีข้างหน้า ตลาดอาคารสำนักงานในกรุงเทพฯ จะมีซัพพลายใหม่ออกมาอีกนับเป็นล้านตารางเมตร จากอาคารที่กำลังก่อสร้าง กว่า 40 อาคาร พื้นที่ประมาณ 1.61 ล้านตารางเมตร และจะแล้วเสร็จพร้อมๆ กันในปี 2564 – 2566 แต่พฤติกรรมของคนได้ถูกปรับเปลี่ยนไปแล้ว เพราะการทำงานที่บ้านเริ่มได้รับการยอมรับ และมีความเป็นไปได้สูง ที่จะเกิดเทรนด์ต่อไป แม้ว่าเหตุการณ์โควิดจะผ่านไปแล้วก็ตาม

ส่งผลให้บริษัทต้องการพื้นที่ออฟฟิศลดลง ทั้งจำนวนที่นั่ง โต๊ะทำงาน และห้องประชุม และจะส่งผลกระทบ ต่อเจ้าของอาคารอย่างชัดเจน เทรนด์ที่เปลี่ยนไปเหล่านี้ ล้วนเป็นไลฟ์สไตล์ใหม่ เทรนด์ใหม่ที่ออกมาท้าทายโลกของเราอย่าง Fast Forward แบบที่เราเองก็ไม่นึกมาก่อน ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อม ที่จะรับมือและต้องปรับตัว อาทิ

  1. Facilities ปรับปรุงระบบ Facilities ของอาคาร ให้สามารถสนับสนุนการทำงานข้ามไปข้ามมา ระหว่างที่อาคารสำนักงาน (Head Office) กับการทำงานนอกสถานที่ (Home) โดย Facilities ที่สำคัญ ได้แก่ ระบบทางด้าน IT ที่จะต้องมีความพร้อมในขั้นสูงสุด และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนระบบ ให้ได้อย่างรวดเร็วตามกระแสการใช้งาน
  2. Flexibility เนื่องจากเทรนด์สมัยใหม่ ผู้เช่าหลายๆ ราย ต้องการความยืดหยุ่นในการใช้พื้นที่ ปรับลด/เพิ่ม ได้ตามความต้องการ ผู้ประกอบการที่เข้าใจในรูปแบบของผู้เช่า อาจจะต้องปรับรูปแบบของสัญญาเช่า และพื้นที่เช่าให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น
  3. Fair Price จากการที่ Supply & Demand กำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งยิ่งใหญ่ ในขณะที่ Supply กำลังจะมีคู่แข่งเข้ามาในตลาดที่มากขึ้น ทางด้าน Demand ก็กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบของความต้องการ แน่นอนเลยคือตลาด     จะพบกับการแข่งขันที่ดุเดือด สิ่งที่จะเห็นได้คือ สงครามราคา ดังนั้นผู้ประกอบการที่ปรับตัว และพร้อมที่จะแข่งขันในเรื่องราคา และบริการได้ก่อนผู้ประกอบการรายอื่น ก็จะสามารถผ่านช่วงเวลาท้าทายช่วงนี้ไปได้อย่างไม่ลำบาก