- การโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ ข้อมูล เป็นภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดขึ้น ตลอดปี 2559
- ในรอบปีที่ผ่านมานั้น ได้มีการโจรกรรมข้อมูลจากเครื่องคอมพ์ของบุคคลและหน่วยงานทั้งเอกชนและรัฐหลายแห่ง
- ดังนั้นทางออกสำหรับคนไทยยุค 4.0 ที่เป็นนักท่องโลกโซเชียลกันทุกครัวเรือน คงต้องเรียนรู้หาทาง เก็บข้อมูลสำคัญๆไว้ก่อนที่สายเกินแก้……..
ทั้งนี้มีข้อมูลน่าสนใจ จากต่างประเทศ บริษัท SonicWall เผยรายงาน 2017 SonicWall Annual Threat Report สรุปข้อมูลสถิติภัยคุกคามไซเบอร์ปี 2559 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 167 เท่า (จากประมาณ 280,000 ครั้งเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านครั้ง)
แนวโน้มที่เกิดขึ้นนี้ มาจากหลายปัจจัย เช่น การทำธุรกิจพัฒนามัลแวร์เรียกค่าไถ่แบบสำเร็จรูป (ransomware-as-a-service หรือ RaaS) ซึ่งใช้ค่าใช้จ่ายในการสร้างมัลแวร์เรียกค่าไถ่ไม่มาก
อาชญากรไซเบอร์ที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิคขั้นสูงก็สามารถหาซื้อมัลแวร์เรียกค่าไถ่มาใช้โจมตีได้ เพราะมีลักษณะการทำงานที่ไม่ได้ซับซ้อนมากนัก ความง่ายในการแพร่กระจาย โอกาสโจมตีสำเร็จ และความเสี่ยงที่จะถูกสืบสวนมาถึงตัวผู้กระทำผิดนั้นยังมีน้อย
นอกจากนั้น ประเภทของหน่วยงานที่ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีนั้นไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ เพราะทุกหน่วยงานมีโอกาสถูกโจมตีได้เท่าๆ กันทั้งหมด
ทางรอดที่จะไม่ให้ข้อมูลใน เครื่องคอมพิวเตอร์ อันตราธานหายไปจากเครื่องของหน่วยงานและบุคคลทั่วไป นั่นคือ “การสำรองข้อมูลสำคัญ ๆ”อย่างสม่ำเสมอและทำอยู่เป็นประจำ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการกู้คืนระบบ ในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด
ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีรายงาน ที่น่าสนใจอื่นๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของ botnet หรือ ภัยคุกคามต่อผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ ซึ่งแฮ็กเกอร์เขียนโปรแกรมบอตเน็ตโดยใช้เทคนิคการโจมตีเครือข่ายอินเทอร์เ น็ตด้วยโปรแกรมประสงค์ ร้าย ในอุปกรณ์ประเภท Internet of Things ( IOT) ซึ่งถูกนำมาใช้ในการโจมตีแบบ DDoS การโจมตีช่องโหว่ SSL/TLS เป็นต้น
เครดิตข้อมูล : https://www.thaicert.or.th