Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

นิด้าโพล สำรวจ“ความเข้าใจของคนไทยต่อการเลือกตั้งแบบใหม่ 2562”

poll_election

onlinenewstime.com : ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ความเข้าใจของคนไทยต่อการเลือกตั้งแบบใหม่ 2562”

ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 5 – 7 พฤศจิกายน 2561 เกี่ยวกับความเข้าใจของคนไทยต่อ การเลือกตั้งแบบใหม่ ตามรัฐธรรมนูญ 6

จากการสำรวจ เมื่อถามถึงการรับทราบ ของประชาชน เกี่ยวกับการ “กาบัตรลงคะแนน” คนละกี่ใบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 77.80 ระบุว่า ไม่ทราบ ว่าจะต้อง “กาบัตรลงคะแนน” คนละกี่ใบ และร้อยละ 22.20 ระบุว่า ทราบ ว่าจะต้อง “กาบัตรลงคะแนน” เพียง 1 ใบ

ด้านการรับทราบของประชาชน เกี่ยวกับหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร “ส.ส.แบบแบ่งเขต” ของแต่ละพรรค ในต่างเขตเลือกตั้ง จะมีหมายเลขเดียวกันหมด หรือ ต่างเขตเลือกตั้งต่างหมายเลข

พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.79 ระบุว่า ไม่ทราบ ว่าหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร “ส.ส.แบบแบ่งเขต” ของแต่ละพรรค ในต่างเขตเลือกตั้ง จะมีหมายเลขเดียวกันหมด หรือ ต่างเขตเลือกตั้ง ต่างหมายเลข และร้อยละ 17.21 ระบุว่า ทราบ ว่าหมายเลขประจำตัวผู้สมัคร “ส.ส.แบบแบ่งเขต” ของแต่ละพรรคจะเป็น “ต่างเขตเลือกตั้ง ต่างหมายเลข”

สำหรับการรับทราบของประชาชน เกี่ยวกับช่วงเวลาการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 73.51 ระบุว่า ไม่ทราบ รองลงมา ร้อยละ 20.30 ระบุว่า ทราบ ว่าเป็นช่วงเวลา 8.00 – 17.00 น. และร้อยละ 6.19 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ

ซึ่งในจำนวนของ ผู้ที่ระบุว่า “ไม่ทราบ” พบว่า ร้อยละ 75.73 ระบุว่า เป็นช่วงเวลา 8.00 – 15.00 น. และร้อยละ 24.27 ระบุว่า เป็นช่วงเวลา 8.00 – 16.00 น.

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึง การไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งของประชาชน ในการเลือกตั้งวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 62 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 95.80 ระบุว่า ไปแน่นอน รองลงมา ร้อยละ 2.22 ระบุว่า ไม่ไปแน่นอน เพราะ เลือกไปก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ขณะที่บางส่วนระบุว่า ไม่สะดวกในการเดินทางไปลงคะแนนเสียง และร้อยละ 1.98 ไม่ระบุ / ไม่แน่ใจ

เมื่อสอบถามผู้ที่ระบุว่า จะไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 62 อย่างแน่นอน ว่า จะเลือกผู้สมัคร เลือกพรรค เลือกว่าที่นายกรัฐมนตรี ที่พรรคสนับสนุน หรือเลือกนโยบายพรรค พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 47.02 ระบุว่า เลือกนโยบายพรรค รองลงมา ร้อยละ 19.62 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 14.15 ระบุว่า เลือกพรรค ร้อยละ 13.91 ระบุว่า เลือกผู้สมัคร และร้อยละ 5.30 ระบุว่า เลือกว่าที่นายกรัฐมนตรี ที่พรรคสนับสนุน

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไป ของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.56 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.85 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.08 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.31 มีภูมิลำเนาอยู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.20 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้

ตัวอย่าง ร้อยละ 50.99 เป็นเพศชาย และร้อยละ 49.01 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 5.07 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 15.23 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.84 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 33.78 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 21.97 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.11 ไม่ระบุอายุ

ตัวอย่าง ร้อยละ 93.97 ระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.33 ระบุว่า นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.72 ระบุว่า นับถือศาสนาคริสต์ / ฮินดู / ซิกข์ / ยิว / ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.98 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 21.57 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 72.01 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.20 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 2.22 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่าง ร้อยละ 29.90 จบการศึกษาประถมศึกษา หรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.78 จบการศึกษามัธยมศึกษา หรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.22 จบการศึกษาอนุปริญญา หรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.69 จบการศึกษาปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.79 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.62 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.77 ประกอบอาชีพข้าราชการ / ลูกจ้าง / พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.56 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.14 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ / อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.81 ประกอบอาชีพเกษตรกร / ประมง ร้อยละ 16.18 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป / ผู้ใช้แรงงาน

ร้อยละ 15.86 เป็นพ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ / ว่างงาน ร้อยละ 1.90 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 2.78 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่าง ร้อยละ 10.94 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 28.87 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.85 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.10 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.74 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 7.30 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.20 ไม่ระบุรายได้

ทั้งนี้นิด้าโพล เรื่อง “ความเข้าใจของคนไทยต่อการเลือกตั้งแบบใหม่ 2562” เป็นการสำรวจจากประชาชน ที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,261 หน่วยตัวอย่าง โดยการสำรวจ อาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้น ในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

Exit mobile version