fbpx
News update

บุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในเอเชียแปซิฟิค พร้อมปรับตัวในยุคโควิด-19

Onlinenewstime.com : รอยัล ฟิลิปส์ (NYSE: PHG, AEX: PHIA) ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ เผยผลสำรวจดัชนีสุขภาพ Future Health Index: FHI 2020 จากการศึกษาวิจัยใน 15 ประเทศ พบว่า บุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ มีความมุ่งมั่นและทุ่มเททำงานอย่างเต็มความสามารถ เพื่อพัฒนาวงการเฮลท์แคร์ในยุคการระบาดของโควิด-19 พร้อมให้ความสำคัญกับประสบการณ์การทำงาน และความท้าทายในการปฏิรูปวงการเฮลท์แคร์

ผลสำรวจฉบับนี้ได้จัดทำเป็นปีที่ 5 แล้ว แต่ปีนี้เป็นครั้งแรกของโลก กับการสำรวจและเก็บข้อมูลจากบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ ที่มีอายุไม่เกิน 40 ปี โดย Future Health Index (FHI) 2020 ได้ศึกษาวิจัยในหัวข้อ “The age of opportunity: Empowering the next generation to transform healthcare” เพื่อสะท้อนภาพความเป็นจริง ของระบบสาธารณสุขในช่วงวิกฤตโควิด-19 ซึ่งมีผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 3,000 คน จาก 15 ประเทศทั่วโลก

การสำรวจนี้ ให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในแต่ละประเทศ ซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบ ในการกำหนดทิศทางวงการเฮลท์แคร์ของประเทศพวกเขาในอนาคต ผลการศึกษา เผยให้เห็นถึงทัศนคติ และความเชื่อที่ดีต่อการทำงานของพวกเขา รวมถึงช่องว่าง ระหว่างการฝึกอบรมทางการแพทย์ กับการปฏิบัติงานจริง และความคิดแง่บวกต่อดิจิทัล เฮลท์แคร์ ในโลกอนาคต จากการสำรวจติดตาม[i]  เป็นเวลาหลายเดือน ยิ่งตอกย้ำต่อมุมมองของพวกเขาให้ชัดเจนขึ้น จากประสบการณ์ในการรับมือกับโควิด-19 ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

Future Health Index 2020 รายงานถึง 3 ประเด็นสำคัญที่พบ ดังต่อไปนี้:

1. เมื่อเริ่มมีการระบาดของ โควิด-19 ร้อยละ 82 ของบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก[1] กล่าวว่า พวกเขายังคงพึงพอใจในงานที่ทำ ถึงแม้จะต้องรักษาผู้ป่วยมากขึ้นต่อสัปดาห์ (เฉลี่ยประมาณ 103 คน) ซึ่งจำนวนผู้ป่วย เพิ่มมากกว่าในสหรัฐอเมริกา (ประมาณ 99 คน) และในประเทศเนเธอร์แลนด์ (ประมาณ 65 คน)

ในขณะเดียวกัน จำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น ทำให้ร้อยละ 34 ของบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด เผชิญภาวะความเครียดในการทำงาน และมีความคิดที่จะเปลี่ยนงาน ในขณะที่ร้อยละ 45 ของบุคลากรทางการแพทย์ในซาอุดิอาระเบีย และร้อยละ 46 ในสหรัฐอเมริกา ยอมรับว่ามีความคิดที่จะออกจากวิชาชีพ  

ในช่วงหลายเดือนของการระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อประสบการณ์การทำงาน ของบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่อย่างน่าแปลกใจ โดยในรายงาน Future Health Index Insight พบว่า ร้อยละ 57 ของบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในสิงคโปร์ ยังคงมุ่งมั่นและมีความคิดบวกต่อการทำงาน

จากประสบการณ์ และบทเรียนที่ได้รับในช่วงเวลานี้ ทำให้พวกเขารู้ซึ้งถึงจุดหมายในการทำงานมากขึ้น เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 39 จากการสำรวจใน 5 ประเทศ และบุคลากรทางการแพทย์ได้รับความชื่นชมจากผู้ป่วยเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 64 ในสิงคโปร์ เทียบกับค่าเฉลี่ยร้อยละ 47 จากการสำรวจใน 5 ประเทศ)

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีประสบการณ์ทำงานในช่วงการระบาดของโควิด-19 แต่บุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในสิงค์โปร์ ร้อยละ 68 ก็ยังคงยืนยันว่า จะทำงานในวงการแพทย์ต่อไป ในขณะที่บุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในอเมริกามีเพียง ร้อยละ13 และในเยอรมนี มีเพียงร้อยละ 23 ที่มีแนวคิดเช่นนี้

เนื่องด้วยประเทศในเอเชียแปซิฟิก ให้ความสำคัญและมีการลงทุนพัฒนาในด้านดิจิทัล เฮลท์แคร์ บุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในภูมิภาคนี้ จึงเชื่อมั่นในศักยภาพทางด้านข้อมูล และเทคโนโลยี ที่สามารถเข้ามาช่วยพัฒนาการทำงานของพวกเขา และเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยให้ดีขึ้นได้

บุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ยังเล็งเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี อย่างเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการสาธารณสุขทางไกล (Telehealth) ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงวงการเฮลท์แคร์ โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโควิด-19

โดยประมาณ 9 ใน 10 ของบุคลากรทางการแพทย์ (ร้อยละ87) มีความเห็นตรงกันว่า เทคโนโลยีดิจิทัลด้านสุขภาพที่เหมาะสม มีศักยภาพที่จะช่วยลดภาระงานของพวกเขาได้ ในขณะที่ร้อยละ77 กล่าวว่า เทคโนโลยีเหล่านั้น จะช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดีขึ้น ให้กับผู้ป่วย และร้อยละ 76 กล่าวว่าการใช้เทคโนโลยี สามารถช่วยลดความตึงเครียดในการทำงานได้

ถึงแม้ว่าพวกเขาจะทุ่มเทให้กับการดูแลรักษาผู้ป่วย และมีความเชื่อมั่นในงานที่ทำ แต่จากการสำรวจความคิดเห็นของแพทย์รุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พวกเขา (ร้อยละ 42) ยังมีความกังวลเกี่ยวกับช่องว่างทางทักษะ ที่พวกเขาต้องเจอในการทำงานจริง เมื่อเทียบกับความคาดหวัง ในขณะที่พวกเขาศึกษาด้านการแพทย์ อีกทั้งความเครียดในการทำงาน ยังส่งผลให้บุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในภูมิภาคนี้ ถึงร้อยละ 73  รู้สึกเหนื่อยล้า เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มมากขึ้น ในแต่ละสัปดาห์

นอกเหนือจากการพัฒนาของ ดิจิทัล เฮลแคร์ แล้วบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยังรู้สึกไม่พร้อมเมื่อต้องรับมือกับข้อมูลจำนวนมาก ประมาณครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 47) กล่าวว่า หลักสูตรการศึกษาด้านการแพทย์ที่พวกเขาเรียนมา เตรียมความพร้อมให้พวกเขาได้เพียงนิดเดียวเท่านั้น และไม่ได้เตรียมความพร้อม สำหรับงานด้านข้อมูล เช่น การวิเคราะห์และการตีความข้อมูล เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 51 ยังกล่าวว่า พวกเขาได้รับการฝึกอบรมในด้านนี้ ขณะที่ทำงานหรือฝึกงานในโรงพยาบาล จึงพอจะช่วยลดช่องว่างด้านทักษะที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการข้อมูลได้

อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ56) ของบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เชื่อว่าพวกเขาสามารถผลักดัน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินงาน และการจัดการในโรงพยาบาลที่พวกเขาทำงานอยู่ ในขณะที่อีกกลุ่ม กลับรู้สึกว่าพวกเขาไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง หรือไม่แน่ใจว่าจะทำได้หรือไม่

โดยมีบุคลากรทางการแพทย์ถึงร้อยละ 48 รู้สึกว่าข้อเสนอและความคิดเห็นของพวกเขา ไม่ได้รับการตอบสนอง รับฟังหรือยอมรับ นอกจากนี้การตัดสินใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ ยังส่งผลด้านลบ ต่อบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ใ นภูมิภาคนี้ถึงร้อยละ 30 และส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพวกเขาด้วย

นอกจากนี้ บุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่หลายคน ยังกังวลว่าจะไม่สามารถรับมือกับความต้องการ ของระบบการดูแลสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไป และภาระงานด้านการจัดการที่มีมากขึ้น เช่น การทำเอกสารเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ และการเพิ่มขึ้นของการดำเนินคดี/ การเปิดเผยทางกฎหมาย เป็นสองประเด็นสำคัญ ที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อความพึงพอใจของบุคลากรทางการแพทย์ในภูมิภาคนี้ (ร้อย38 และร้อยละ48 ตามลำดับ)

แม้จะเผชิญกับความท้าทาย แต่การศึกษาของ FHI ยังระบุถึงความต้องการที่ชัดเจ นของบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ที่ ต้องการสภาพแวดล้อมการทำงาน ที่ส่งเสริมความร่วมมือกันและมีความยืดหยุ่น สิ่งสำคัญที่สุด คือ การสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการทำงาน และการเปิดรับเอาเทคโนโลยี มาแบ่งเบาภาระในการทำงาน รวมถึงการผลักดันด้านการมีส่วนร่วม 

จากการสำรวจปัจจัยสำคัญ ในการเลือกสถานที่ทำงาน สำหรับบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คือ มีการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย (ร้อยละ69) มีอำนาจในการตัดสินใจ (ร้อยละ65) มีวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน (ร้อยละ65) และมีความสมดุลระหว่างชีวิตงานและชีวิตส่วนตัว หรือ work-life balance (ร้อยละ71)

แคโรไลน์ คลาร์ค ประธานกลุ่มธุรกิจ ฟิลิปส์ อาเซียน แปซิฟิก กล่าวว่า “ปัจจุบัน บุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ ต้องแบกรับความรับผิดชอบ ในการเปลี่ยนแปลงวงการเฮลท์แคร์ในอนาคต แต่พวกเขาหลายคน ยังรู้สึกว่า ความคิดเห็นของพวกเขาไม่ได้รับการยอมรับ พวกเขาต้องพบกับอุปสรรค ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับทางคลีนิกในเชิงปฏิบัติ และต้องเผชิญความเครียดจากการอุทิศตน เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

การระบาดของโควิด-19  ทำให้เห็นถึงช่องว่างและโอกาส ในการเปลี่ยนแปลงวงการเฮลท์แคร์ ที่สำคัญ คือ การสร้างและจัดเตรียมแพลตฟอร์ม และการนำเอาเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการทำงานอย่างเพียงพอ  เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานบุคลากรทางการแพทย์ในปัจจุบัน เพื่ออนาคตของวงการเฮลท์แคร์ที่ดีขึ้น”

นับตั้งแต่ปี 2559 ฟิลิปส์จัดทำการสำรวจ เพื่อระบุถึงความพร้อมของประเทศต่างๆ ในการรับมือกับความท้าทายด้านสุขภาพระดับโลก และช่วยสร้างระบบเฮลท์แคร์ ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย Future Health Index methodology และการเข้าถึงรายงาน Future Health Index 2020 ฉบับเต็ม ซึ่งจะเจาะลึกข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัย โควิด-19 และบุคลากรทางการแพทย์รุ่นใหม่ สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์


[1] APAC countries surveyed for FHI 2020: Australia, China, Japan, India, Singapore


[i] The Future Health Index Insights: COVID-19 and Younger Healthcare Professionals survey supplements the main Future Health Index 2020 report, capturing feedback from 500 doctors under the age of 40 in five countries: Singapore, the United States of America, China, France and Germany. The findings reveal how the COVID-19 pandemic has affected the attitudes and experiences of younger doctors, and how they believe the healthcare industry should change in response.