fbpx
News update

ภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ภาคใต้ และตะวันออก ขยายตัวดีทั้งด้านการบริโภคและลงทุน

Onlinenewstime.com : เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกรกฎาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ และภาคตะวันออกที่ขยายตัวได้ดีทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุน

นายวุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการคลัง พร้อมด้วยนายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการเศรษฐกิจ) สูง รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคในเดือนกรกฎาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยว และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ และภาคตะวันออก ที่ขยายตัวได้ดีทั้งในด้านการบริโภคและการลงทุน” โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนกรกฎาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 16.2 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -2.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า หลังขจัดผลทางฤดูกาล

จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 33.0 และ 25.0 ต่อปี ตามลำดับ แต่ชะลอตัวร้อยละ -6.3 และ -2.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ

ขณะที่รายได้เกษตรขยายตัวร้อยละ 31.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -13.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 8.3 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -15.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว

สำหรับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 132.8 ต่อปี ด้วยเงินทุน 0.9 พันล้านบาท จากโรงงานฆ่า ชำแหละ ตัดแต่ง แปรรูปสุกรและทำผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปในจังหวัดกระบี่ เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 2,685.1 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ – 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 1,434.5 แต่ชะลอตัวร้อยละ -0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 38.6 และ 82.2 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 37.9 และ 80.4 ตามลำดับ 

เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนกรกฎาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 34.1 ต่อปี แต่ชะลอตัว -7.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 27.9 และ 18.5 ต่อปี ตามลำดับ แต่ชะลอตัว -4.2 และ -10.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ

รายได้เกษตรกรชะลอตัว สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -16.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

เช่นเดียวกันกับจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -12.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 2,118.6 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -4.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 2,773.5

นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.3 และ 106.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 44.5 และ 102.9 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนกรกฎาคม 2565 ได้รับได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 53.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -0.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว

ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 8.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -9.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว เช่นเดียวกันกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัวเช่นกัน ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว

โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 3,519.2 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -11.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 3,728.1 แต่ชะลอตัวร้อยละ -14.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.6 และ 91.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 40.8 และ 89.2 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนกรกฎาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัวร้อยละ -13.3 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 7.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -14.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 28.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 18.1 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -6.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว

ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวร้อยละ 286.8 ต่อปี ด้วยเงินทุน 2.6 พันล้านบาท จากโรงงานโรงงานผลิตนมข้น นมระเหย นมสดสเตอริไรส์ นมยูเอสที เครื่องดื่มยูเอชที นมถั่ว ในจังหวัดสระบุรี เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 3,773.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ – 25.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 4,481.4 แต่ชะลอตัวร้อยละ -3.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 41.6 และ 91.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 40.8 และ 89.2 ตามลำดับ

เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑลในเดือนกรกฎาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัว จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 66.6 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -17.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 42.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -7.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 18.1 ต่อปี

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 40.1 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -9.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 5.1 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -6.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 2,197.6 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ – 10.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 4,501.0 แต่ชะลอตัวร้อยละ – 7.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 40.7 และ 91.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 39.8 และ 89.2 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนกรกฎาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัว -3.5 ต่อปี แต่ขยายตัว 2.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัว 6.6 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -17.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 39.1 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -18.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวเช่นกัน

ขณะที่เงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัว 34.0 ต่อปี ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว
โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 986.7 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 1,391.1 แต่ชะลอตัวร้อยละ – 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.3 และ 69.1 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 44.7 และ 66.1 ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนกรกฎาคม 2565 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น

ด้านอุปสงค์ พบว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ชะลอตัว -2.8 ต่อปี แต่ขยายตัว 5.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัว 5.2 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -10.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 31.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -13.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน มีสัญญาณการฟื้นตัวจากการท่องเที่ยว

โดยจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัว 1,348.5 ต่อปี และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนรวมขยายตัวร้อยละ 2,206.4 แต่ชะลอตัวร้อยละ – 1.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.5 และ 82.5 ตามลำดับ จากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 45.9 และ 80.6 ตามลำดับ