Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

ยุคดิจิทัลส่งผลให้ธุรกิจตลาดทุนขนาดล้านล้านเหรียญเป็น “เสือนอนกิน” ไม่ได้อีกต่อไป

Capital Markets Vision 2022

onlinenewstime.com : งานวิจัยฉบับใหม่ของเอคเซนเชอร์ (NYSE: ACN) ชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมตลาดทุนจะสามารถขจัดความไม่มีประสิทธิภาพได้อย่างไรในยุคปัจจุบันที่อุตสาหกรรมนี้ต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากเทคโนโลยีดิจิทัล หรือดิจิทัลดิสรัปชั่น และรับมือกับการบริหารโครงสร้างต้นทุนใหม่ พร้อมสร้างมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นไปด้วย

รายงานวิจัยเรื่อง “Capital Markets Vision 2022” เป็นผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินในอุตสาหกรรมตลาดทุน ด้วยระเบียบวิธีของเอคเซนเชอร์ และการสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรชั้นนำในตลาดทุน


นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการ และหัวหน้าสายงานบริการทางการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า ผลวิจัยหลัก ๆ ที่พบได้แก่ ผู้บริหารสินทรัพย์และความมั่งคั่งต่าง ๆ สามารถทำกำไร (หลังหักภาษีและต้นทุนเงินทุน) ได้ถึง 90% ของทั้งวงการ

แต่กลับไม่มีประสิทธิภาพด้านขนาด (scale efficiency) และควรเตรียมรับมือกับภาวะตลาดขาลงได้แล้ว เนื่องจากมีอัตรากำไรน้อยลง


ขณะเดียวกัน ในแวดวงกิจการวาณิชธนกิจ กลับมีหลายทิศทางต่างกัน มีทั้งกิจการทั้งขนาดใหญ่และเล็กที่ทำกำไรทางเศรษฐศาสตร์ได้ในสัดส่วน 10 เซ็นต์หรือมากกว่านั้นต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

ขณะที่อีกหลายแห่งทำกำไรได้ไม่คุ้มกับต้นทุนเงินทุน ส่วนกิจการด้านระบบพื้นฐานตลาดแบบเดิม ก็ต้องเจอกับคู่แข่งใหม่ ๆ ในตลาดค้าเงินดิจิทัล



“เสือนอนกิน” (Lucrative Inefficiencies)

จากการวิเคราะห์ของเอคเซนเชอร์พบว่า กิจการในตลาดทุนมีรายได้สุทธิต่อปีถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ในแง่กำไรทางเศรษฐศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ทั้งผู้ถือหุ้น หน่วยงานกำกับ และลูกค้า ต่างหวังให้กิจการสร้างมูลค่าให้ได้มากขึ้นด้วยต้นทุนที่ต่ำลง เพราะผลประโยชน์ที่ได้รับจากมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณหรือ QE นั้น ลดลงเรื่อย ๆ จึงเกิดแรงกดดันต่อรายได้ค่าธรรมเนียม อุตสาหกรรมอาจมีภาระหนักอึ้ง ไม่สามารถทำกำไรมาชดเชยส่วนที่หายไป ซึ่งในอดีตเคยทำกำไรได้ดี แม้จะหย่อนประสิทธิภาพ คล้ายกับเสือนอนกิน

“บางคนคาดว่าตลาดทุนจะปรับฐานอีกครั้งและกลับมาใกล้ระดับก่อนวิกฤตทางการเงิน แต่เรากลับเห็นภาพรวมในอีกหลายปีต่อไปข้างหน้า ในทางตรงกันข้าม” 


นายนนทวัฒน์ กล่าวอีกว่าอุตสาหกรรมนี้ ยังคงพึ่งพากิจกรรมที่เป็นเหมือน “เสือนอนกิน” (lucrative inefficiencies) ที่ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรมาก เพราะอุตสาหกรรมยังทำกำไรได้ดีอยู่ แต่สิ่งที่ไม่เหมือนอุตสาหกรรมอื่น คือ เซกเตอร์ที่ทำเงินหลักในตลาดทุน มีโครงสร้างต้นทุนแยกย่อยออกไป เป็นผลจากดิสรัปชั่นด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงทำให้สถานการณ์สุกงอม”


รายงานฉบับนี้ใช้ข้อมูลการวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมตลาดทุน ด้วยระเบียบวิธีของเอคเซนเชอร์ รวมทั้งสัมภาษณ์ผู้บริหารกิจการชั้นนำในอุตสาหกรรม โดยเน้นที่ 3 กลุ่มหลัก คือ วาณิชธนกิจ การบริหารความมั่งคั่งและสินทรัพย์ และกิจการด้านระบบพื้นฐานของตลาด พบว่า:
 



“การปรับตัวของอุตสาหกรรมมูลค่าล้านล้านเหรียญในยุคดิจิทัล ในช่วงที่มีการดิสรัปชั่นชัดเจน ถือได้ว่าซับซ้อนมาก และต้องปรับเป้าหมายในแนวทางใหม่กันเลยทีเดียว

แต่ก็ถือเป็นยุคที่มีโอกาสสำคัญ ๆ ให้สำหรับคนที่ลงมือทำก่อน ไม่เช่นนั้น แหล่งที่สร้างมูลค่าหรือโอกาสต่าง ๆ อาจถูกฉวยไปจนไม่เป็นกอบเป็นกำ กิจการที่ขยับตัวไวจะมีโอกาสการทำกำไรใหม่ ๆ ได้จาก “การแข่งขันเพื่ออยู่รอด” (race for relevance) ขณะที่ยังทำกำไรจากธุรกิจและลูกค้าเดิมในอุตสาหกรรมได้ด้วย”

เส้นทางสู่ความสำเร็จ

รายงานฉบับนี้ได้แนะนำกลยุทธ์เป็นทางเลือกให้ผู้บริหารกิจการในตลาดทุนได้พิจารณาหลากหลายทาง หากต้องการมุ่งสู่ความสำเร็จในยุคแห่งการดิสรัปชั่น กลยุทธ์เหล่านั้น ได้แก่:

Exit mobile version