Onlinenewstime.com : นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือนธันวาคม 2563 และปี 2563 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผลการจดทะเบียนธุรกิจ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่เดือนธันวาคม 2563
- จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนธันวาคม 2563 จำนวน 3,287 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 27,584 ล้านบาท
- ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 320 ราย คิดเป็น 10% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 200 ราย คิดเป็น 6% และอันดับ 3 คือ ธุรกิจบริการด้านอาหารในภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 116 ราย คิดเป็น 4% ตามลำดับ
- ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 2,283 ราย คิดเป็น 69.46% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 936 ราย คิดเป็น 28.48% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 55 ราย คิดเป็น 1.67% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 13 ราย คิดเป็น 0.39% ตามลำดับ
ธุรกิจจัดตั้งใหม่ปี 2563
- จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศปี 2563 จำนวน 63,340 ราย เมื่อเทียบกับปี 2562 จำนวน 71,485 ราย ลดลงจำนวน 8,145 ราย คิดเป็น 11% และเมื่อเทียบปี 2561 จำนวน 72,109 ราย ลดลงจำนวน 8,769 ราย คิดเป็น 12%
- ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 6,392 ราย คิดเป็น 10% รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 3,138 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจขนส่งและขนถ่ายสินค้ารวมถึงคนโดยสาร จำนวน 1,790 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ
- มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ในปี 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 235,272 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 2562 จำนวน 327,464 ล้านบาท ลดลงจำนวน 92,192 ล้านบาท คิดเป็น 28% และเมื่อเทียบกับปี 2561 จำนวน 374,284 ล้านบาท ลดลงจำนวน 139,012 ล้านบาท คิดเป็น 37%
- ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท มีจำนวน 46,488 ราย คิดเป็น 73.39% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 15,841 ราย คิดเป็น 25.01% รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 879 ราย คิดเป็น 1.39% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 132 ราย คิดเป็น 0.21%
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการเดือนธันวาคม 2563
- จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำเดือนธันวาคม 2563มีจำนวน 6,013 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 16,726 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
- ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 508 ราย คิดเป็น 8% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 269 ราย คิดเป็น 4% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 167 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ
- ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 4,190 ราย คิดเป็น 69.68% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 1,532 ราย คิดเป็น 25.48% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 275 ราย คิดเป็น 4.57% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 16 ราย คิดเป็น 0.27% ตามลำดับ
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการปี 2563
- จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ประจำปี 2563มีจำนวน 20,920 ราย โดยมีมูลค่าทุนจดทะเบียนจำนวน 91,859 ล้านบาท ซึ่งสอดคล้องกับแนวโน้มการเลิกกิจการในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
- ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 1,830 ราย คิดเป็น 9% รองลงมาคือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 1,081 ราย คิดเป็น 5% และธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร จำนวน 594 ราย คิดเป็น 3% ตามลำดับ
- ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการทั่วประเทศ มากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 14,438 ราย คิดเป็น 69.01% รองลงมาช่วงทุนมากกว่า 1- 5 ล้านบาท จำนวน 5,434 ราย คิดเป็น 25.98% ลำดับถัดไป คือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 965 ราย คิดเป็น 4.61% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 84 ราย คิดเป็น 0.40% ตามลำดับ
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ ณ เดือนธันวาคม 2563
- ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ธ.ค. 63) ธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 769,208 ราย มูลค่าทุน 19.17 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน 187,015 ราย คิดเป็น 24.31% บริษัทจำกัด จำนวน 580,911 ราย คิดเป็น 75.52% และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,282 ราย คิดเป็น 0.17% ตามลำดับ
- ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 452,938 ราย คิดเป็น 58.88% รวมมูลค่าทุน 0.40 ล้านล้านบาท คิดเป็น 2.09% รองลงมา คือ ช่วงทุนมากกว่า 1-5 ล้านบาท จำนวน 227,977 ราย คิดเป็น 29.64% รวมมูลค่าทุน 0.76 ล้านล้านบาท คิดเป็น 3.95% ช่วงถัดไปคือ ช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 72,225 ราย คิดเป็น 9.39% รวมมูลค่าทุน 1.97 ล้านล้านบาท คิดเป็น 10.29% และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 16,068 ราย คิดเป็น 2.09% รวมมูลค่าทุน 16.04 ล้านล้านบาท คิดเป็น 83.67% ตามลำดับ
การลงทุนประกอบธุรกิจในไทยภายใต้กฎหมายต่างด้าว
เดือนธันวาคม 2563
- เดือนธันวาคม 2563 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น มีจำนวน 32 ราย แบ่งเป็นใบอนุญาตประกอบธุรกิจ จำนวน 13 ราย และหนังสือรับรองประกอบธุรกิจ จำนวน 19 ราย โดยมีเม็ดเงินลงทุนทั้งสิ้น 4,646 ล้านบาท
- นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ได้แก่ ญี่ปุ่น จำนวน 8 ราย เงินลงทุน 1,103 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สิงคโปร์ จำนวน 6 ราย เงินลงทุน 605 ล้านบาท และฮ่องกง จำนวน 5 ราย เงินลงทุน 1,711 ล้านบาท
ปี 2563 (มกราคม – ธันวาคม)
- เดือนมกราคม – ธันวาคม 2563 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติประกอบธุรกิจทั้งสิ้น จำนวน 668 ราย มีเงินลงทุนทั้งสิ้น 114,309 ล้านบาท ทั้งนี้ ธุรกิจที่ต่างชาติเข้ามาดำเนินการ เป็นธุรกิจบริการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ และเป็นธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) ที่เน้นเทคโนโลยีหรือบริการที่เกี่ยวเนื่องกับดิจิทัลหรือแพลตฟอร์มต่างๆ อาทิ บริการออกแบบติดตั้ง ทดสอบระบบต่างๆ สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ระบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของโรงงานไฟฟ้า และระบบรักษาความปลอดภัยของอาคารเทียบเครื่องบิน บริการรับชำระเงินและโอนเงินด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ บริการให้ใช้แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจ E-commerce เป็นต้น
การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดือนธันวาคม 2563
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลดิจิทัล และ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกเพื่อลดต้นทุน ลดเวลา และลดการใช้กระดาษ โดยพัฒนางานบริการทุกกระบวนการของกรมผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้ใช้บริการยื่นขอรับบริการได้ทุกที่ ทุกเวลาได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว และประกาศกรม เรื่องการให้บริการในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
การบริการหนังสือรับรองข้อมูลนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์และผลักดันการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ยกระดับการเป็นหน่วยงานรัฐบาลดิจิทัล โดยการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature) มาให้บริการ ซึ่งการบริการ e-Service เป็นการบริการขอหนังสือรับรองผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยขอรับข้อมูลได้ผ่านช่องทาง Walk in EMS Delivery และการออกหนังสือรับรองรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Certificate File) มีจำนวนการใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2563 (ม.ค. – ธ.ค.) มีจำนวน 563,949 ราย คิดเป็นร้อยละ 31 ของการให้บริการผ่านระบบ e-Service และรองรับการให้บริการหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติและสมาคมการค้า หนังสือรับรองภาษาอังกฤษ
ทั้งนี้ การขอรับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากผ่านทางเว็บไซต์ แล้ว สามารถขอรับบริการผ่านทาง Application DBD e- Service ได้ทั้งระบบ Android และ IOS
การให้บริการขอหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคล ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (ส่วนกลาง) และสำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้า เขต 1-6 ให้ขอรับบริการได้เฉพาะทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Service) ผ่านเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2563
DBD e – Filing การนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์
การนำส่งงบการเงินของนิติบุคคลที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดปี 2562 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีนิติบุคคลนำส่งงบการเงินแล้ว จำนวน 575,679 ราย คิดเป็น 80% ของนิติบุคคลที่ต้องนำส่งงบการเงิน
โดยนำส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) จำนวน 563,556 ราย คิดเป็น 98% และนำส่งในรูปแบบกระดาษ จำนวน 12,123 ราย คิดเป็น 2%
ทั้งนี้การนำส่งงบการเงิน และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นสามารถนำส่งได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถตรวจสอบข้อมูลงบการเงินผ่าน DBD Data Warehouse หรือ DBD Service ผ่าน Application ได้อย่างรวดเร็ว
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขอเชิญชวนให้นิติบุคคล ที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 เตรียมความพร้อมจัดทำและนำส่งงบการเงินตั้งแต่เนิ่นๆ ให้ทันระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการยื่นงบการเงิน พ.ศ.2563 และแนวทางปฏิบัติในการยื่นงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ซึ่งกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน นิติบุคคลต่างประเทศ กิจการร่วมค้า ต้องนำส่งงบการเงินภายใน 5 เดือนนับแต่วันปิดรอบปีบัญชี คือ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2564
สำหรับบริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด ต้องนำงบการเงินเสนอต่อผู้ถือหุ้น เพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่สามัญภายใน 4 เดือนนับแต่วันปิดรอบปีบัญชี (ภายใน 30 เมษายน 2564)
บริษัทจำกัดต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ประชุมใหญ่ ส่วนบริษัทมหาชนจำกัดจะต้องนำส่งบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บมจ.006) ภายใน 1 เดือนนับแต่วันเสร็จการประชุม
หลังจากนั้นทั้งบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด จะต้องนำส่งงบการเงินต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่งบการเงินได้รับอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
สำหรับสมาคมการค้าและหอการค้า มีหน้าที่นำงบดุลเสนอเพื่ออนุมัติต่อที่ประชุมใหญ่ ภายใน 120 วัน และต้องนำส่งงบดุลนั้นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าภายใน 30 วัน โดยในปีนี้ กรมฯ ได้เพิ่มช่องทางนำส่งงบดุล ผ่านออนไลน์ในระบบ DBD e-Filing ให้แก่สมาคมการค้าและหอการค้า
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในการนำส่งงบดุลของสมาคมการค้า และหอการค้าให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น จึงขอเชิญชวนให้สมัคร ขอรับรหัสผู้ใช้งานและรหัสผ่าน (Username & Password) ได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
กรมจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ภาคธุรกิจ สมาคมการค้า หอการค้า นำส่งงบการเงินประจำปี 2564 ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) เป็นหลัก เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าทางธุรกิจ และสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลงบการเงินประกอบการทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างรวดเร็ว โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าระบบ DBD e-Filing จะเป็นหัวใจสำคัญ ที่ขับเคลื่อนและสนับสนุนภาคธุรกิจไทย ให้ก้าวสู่การค้าในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเป็นรูปธรรม
e-Certificate บริการระบบหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านธนาคาร
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ดำเนินการพัฒนาต่อยอดระบบการให้บริการหนังสือรับรอง และรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านธนาคาร (e-Certificate) ซึ่งเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2555 และผ่านการรับรองระบบพิมพ์ออกฯ จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) จึงเป็นนวัตกรรมที่สามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือ และเป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด
ให้ภาคธุรกิจและประชาชนผู้สนใจ สามารถติดต่อขอรับบริการ ณ สาขาธนาคารใกล้บ้านที่เข้าร่วมโครงการได้รวมทั้งสิ้น 10 ธนาคาร จำนวน 3,745 สาขา
e-Secured จดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร ผ่าน Web Application และ Web Service แบบ Host to Host และชำระค่าธรรมเนียมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และออกใบเสร็จรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) โดยเจ้าพนักงานทะเบียนลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Digital Signature)
รวมถึงสามารถตรวจค้นข้อมูลหลักประกันทางธุรกิจเบื้องต้นผ่านเว็บไซต์ หรือผ่านระบบ mobile application (ios และ android) บนสมาร์ทโฟน
โดยตั้งแต่ 4 กรกฎาคม 2559 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 574,150 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 9,054,142 ล้านบาท โดยมีการนำทรัพย์สินที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ และใช้ประกอบธุรกิจมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สิน
สำหรับเดือนธันวาคม 2563 มีการจดทะเบียนสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 7,557 คำขอ มูลค่าทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกัน จำนวน 163,954 ล้านบาท ทั้งนี้ทรัพย์สินที่นำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ มากที่สุด ได้แก่ สิทธิเรียกร้อง เช่น บัญชีเงินฝาก ลูกหนี้การค้า สิทธิการเช่า คิดเป็นร้อยละ 79.99 (มูลค่า 131,152 ล้านบาท) รองลงมาคือ สังหาริมทรัพย์ที่ใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง คิดเป็นร้อยละ 20 (มูลค่า 32,787 ล้านบาท) กิจการ มีการจดทะเบียน คิดเป็นร้อยละ 0.01 (มูลค่า 13 ล้านบาท)
ไม้ยืนต้น มีการจดทะเบียน คิดเป็นร้อยละ 0.001 (มูลค่า 2 ล้านบาท) จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 565 คำขอ จดทะเบียนยกเลิกสัญญาหลักประกันทางธุรกิจ จำนวน 4,858 คำขอ และมีผู้รับหลักประกัน รวมจำนวนทั้งสิ้น 295 ราย
e-Registration การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์
การจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2560 – 31 ธันวาคม 2563 มีการยืนยันการใช้งาน (Activate) จำนวน 75,360 ราย รับจดทะเบียน 35,377 ราย
ซึ่งกรมได้มีการเตรียมการพัฒนาระบบให้อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการยืนยันตัวตนนิติบุคคลและการใช้ระบบงาน รวมถึงการเชื่อมโยง เพื่อสร้างความพร้อมในการดำเนินธุรกิจให้แก่ SME ทั้งด้านการเงินและซอฟแวร์ รวมทั้งการให้บริการสำเนาเอกสารทะเบียนนิติบุคคลรูปแบบไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนผ่านระบบ e-Registration
DBD Connect เชื่อมระบบบัญชีสู่การยื่นงบการเงินออนไลน์(DBD e-Filing)
กรมฯ ร่วมกับผู้ผลิตซอฟแวร์บัญชีชั้นนำของประเทศ จำนวน 16 ราย (20 โปรแกรม) พัฒนาการเชื่อมโยงซอฟต์แวร์บัญชี กับระบบการนำส่งงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) แบบอัตโนมัติ ผ่านระบบ DBD Connect อำนวยความสะดวกการจัดทำบัญชีและงบการเงินสำหรับนักบัญชีให้สามารถนำส่งงบการเงิน ในรูปแบบ XBRL ที่เชื่อมโยงข้อมูลทางบัญชีพร้อมนำส่งงบการเงินผ่าน DBD e-Filing ได้โดยตรง และไม่ต้องคีย์ข้อมูลงบการเงินซ้ำ
การบริหารจัดการธุรกิจแบบครบวงจร (Total Solution for SMEs) และ e-Accounting for SMEs
Total Solution for SMEs เป็นการขับเคลื่อน SMEs ด้วยนวัตกรรม โดยส่งเสริมให้ธุรกิจเข้าถึงเทคโนโลยีในการบริหารจัดการธุรกิจที่ครบวงจรได้โดยง่าย เปลี่ยน Traditional SMEs เป็น Smart SMEs ซึ่งกรมได้รวบรวมโปรแกรมด้านการบริหารจัดการทั้ง 3 ภาคส่วนไว้ด้วยกันคือ โปรแกรมสำนักงาน (Office) โปรแกรมหน้าร้าน (POS) โปรแกรมบัญชี online (Cloud Accounting) ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เข้าร่วมโครงการรวมทั้งสิ้น 25 โปรแกรม
นอกจากนี้ กรมฯ ยังได้แจกฟรี “โปรแกรม e-Accounting for SMEs” ซึ่งเป็นโปรแกรมหน้าร้าน (POS) ที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในการค้าขาย เช่น มี Scanner เพื่อซื้อขายสินค้าในตัว, มีฐานข้อมูลของสินค้ามากกว่า 10,000 รายการ เป็นต้น โดยร้านค้าสามารถสมัครขอใช้งานโปรแกรม e-Accounting for SMEs ได้ผ่านทางโครงการ Total Solution for SMEs หรือดาวน์โหลดได้ที่ Google Play Store ในระบบ Android
DBD Data Warehouse
กรมได้พัฒนาระบบสารสนเทศ ให้มีความสมบูรณ์หลากหลาย และสามารถจัดทำผลวิเคราะห์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลธุรกิจ ประกอบด้วยข้อมูลนิติบุคคล ข้อมูลและวิเคราะห์งบการเงิน ข้อมูลซัพพลายเออร์ลูกค้า คู่ค้าทางธุรกิจ ข้อมูลโอกาสทางธุรกิจ ข้อมูลการลงทุนจากต่างชาติในนิติบุคคลไทย รวมทั้งข้อมูลสถิติการจดทะเบียนนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูล พร้อมทั้งนำข้อมูลธุรกิจไปสนับสนุนการตัดสินใจในการประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดยในปี 2563 (ม.ค.-ธ.ค.) มีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งสิ้นจำนวน 8,943,925 ครั้ง