fbpx
News update

สภาพัฒน์ เผยGDPของไทยไตรมาส 3 หดตัว -6.4% ปรับตัวดีขึ้นจากในไตรมาส 2 ที่หดตัว -12.1%

Onlinenewstime.com : สำนักงานสภาพัฒนการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่สามของปี 2563 และแนวโน้มปี 2563 – 2564 โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2563

เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 12.1ในไตรมาสก่อนหน้า(%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาส ที่สามของปี 2563 (%QoQ_SA) ร้อยละ 6.5 รวม 9 เดือนแรกของปี 2563 เศรษฐกิจไทยปรับตัวลดลงร้อยละ 6.7

ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายของรัฐบาลและการลงทุนภาครัฐ ขยายตัวเร่งขึ้น การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกสินค้าปรับตัวลดลง ในอัตราที่น้อยกว่าการลดลงในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การส่งออก บริการลดลงต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชน ลดลงร้อยละ 0.6 น้อยกว่ำการลดลงร้อยละ 6.8 ในไตรมาสก่อนหน้า

โดยเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการปิดสถานที่ และยกเลิกการจำกัดการเดินทางในประเทศ และการดำเนินมาตรการช่วยเหลือ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่าย ภายในประเทศกลับมาฟื้นตัวตามลำดับ

การใช้จ่ายในหมวดสินค้าไม่คงทน ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อเนื่องการขยายตัวร้อยละ 1.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายเพื่อซื้ออาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 2.9 การใช้จ่ายในหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 3.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายกลุ่มการเช่าที่อยู่อาศัย กลุ่มการใช้น้ำประปา ไฟฟ้าและพลังงาน การบริการสุขภาพ การบริการด้านการศึกษาขยายตัวร้อยละ 3.7 ร้อยละ 4.3 และร้อยละ 0.7 ตามลำดับ

การใช้จ่ายในหมวดสินค้ากึ่งคงทน ลดลงร้อยละ 14.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการใช้จ่ายเพื่อซื้ออุปกรณ์ ตกแต่งที่อยู่อาศัยและการใช้จ่ายเกี่ยวกับเสื้อผ้าและรองเท้า ลดลงร้อยละ 5.2 และร้อยละ 20.4 ตามลำดับและการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 19.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ30.4ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการซื้อยานพาหนะลดลงร้อยละ 17.6

การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 3.4 เร่งขึ้นจาก ร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัว ของหมวดการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงิน

สำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาด ซึ่งขยายตัวร้อย 8.0 อัตราการเบิกจ่ายงบปริมาณรายจ่ายรวม ในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 21.6 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 21.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)

การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 2.4 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 8.0 ในไตรมาสก่อนหน้าโดยการลงทุนภาคเอกชนลดลง ร้อยละ 10.7 เทียบกับการลดลงร้อยละ 15.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลงทุนในเครื่องมือเครื่องจักรที่ลดลง ร้อยละ 14.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 18.4 ในไตรมาสก่อนหน้า

ขณะที่การลงทุนในสิ่งก่อสร้างกลับมาขยายตัว ร้อยละ 0.3 ส่วนการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 18.5 เป็นผลจากการลงทุนรัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 ในขณะที่ การลงทุนรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบปริมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้ อยู่ที่ร้อยละ 30.8 เทียบกับอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 19.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และร้อยละ 21.6 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน

ในด้านภาคการค้าต่างประเทศการส่งออกสินค้า มีมูลค่า 57,990 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 8.2 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 17.8 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า และ การขยายตัวของการส่งออกสินค้าบางรายการ ที่ได้ประโยชน์จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 7 .6 และราคาส่งออกลดลงร้อยละ 0.7

กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าขยายตัว เช่น มันสำปะหลัง (ร้อยละ 27.9) ปลากระป๋องและปลาแปรรูป (ร้อยละ 10.1) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ 34.1) เตาอบ (ร้อยละ 71.8) ตู้เย็น (ร้อยละ 21.9) เป็นต้น

กลุ่มสินค้าส่งออกที่มูลค่าลดลง แต่เป็นการลดลงในอัตราที่ช้าลง จากไตรมาสก่อนหน้า เช่น ยางพารา (ลดลงร้อยละ 35.5) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 1.8)

รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 22.9) รถกระบะและรถบรรทุก (ลดลงร้อยละ 29.5) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 16.0) เคมีภัณฑ์ (ลดลงร้อยละ 6.7) เป็นต้น

การนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 45,294 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 17.8 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 23.4 ในไตรมาสก่อนหน้า สอดคล้องกับระดับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า

โดยปริมาณการนำเข้าลดลงร้อยละ 16.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 19.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงในทุกหมวดสินค้า ส่วนราคานำเข้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 5.1. ในไตรมาสก่อนหน้า

สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ลดลงร้อยละ 0.9 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของผลผลิตพืชเกษตรสำคัญ เนื่องจากได้รับผลกระทบ จากปัญหาสภาพอากาศที่แห้งแล้งและฝนทิ้งช่วง ส่งผลให้ ปริมาณน้ำน้อยกว่ำปีที่ผ่านมา

ผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ลดลงในอัตราที่ชะลอลง ได้แก่ ข้าวเปลือก (ลดลงร้อยละ 4.2) และยางพารา (ลดลงร้อยละ 2.3) ส่วนผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ลดลงต่อเนื่อง เช่น ปาล์มน้ำมัน (ลดลงร้อยละ 5.6) และมันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 0.8)

ส่วนผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 22.7) ไก่เนื้อ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7) กลุ่มไม้ผล (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5) ตามลำดับ ด้านหมวดประมงลดลงร้อยละ 1.9 ในขณะที่หมวดปศุสัตว์ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 2.7

ราคาสินค้าเกษตรโดยรวม กลับมาขยายตัวร้อยละ 6.4 โดยเฉพาะราคาข้าวเปลือก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4) ราคาปาล์มน้ำมัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.2) ราคากลุ่มผลไม้ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8) เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการ ปรับตัวลดลง เช่น ไก่เนื้อ (ลดลงร้อยละ 6.2) และราคาไข่ไก่ (ลดลงร้อยละ 0.4) เป็นต้น

การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมกลับมาเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 3 ไตรมาสที่ร้อยละ 6.2 สาขาการผลิตอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 5.3 น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 14.6 ในไตรมาสก่อนหน้า

โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อย 30–60 ลดลงร้อยละ 23.9 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การผลิตเพื่อการส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ60) ลดลงร้อยละ 6.0 และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม กลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ30) ลดลงร้อยละ 1.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 7.7 ในไตรมาสก่อน อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ 60.5เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 52.9 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 64.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตยานยนต์ (ลดลงร้อยละ 30.2) การผลิตน้ำตาล (ลดลงร้อยละ 65.2) และการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (ลดลงร้อยละ 7.5) เป็นต้น

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ที่เพิ่มขึ้นๆ เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน (ขยายตัวร้อยละ 25.6) การผลิตปุ๋ยเคมี (ขยายตัวร้อยละ30.7) และการผลิตเภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ที่ใช้รักษาโรค (ขยายตัวร้อยละ 15.5) เป็นต้น

สาขาที่พักโรงแรมและบริการด้านอาหาร ลดลงร้อยละ 39.6  น้อยกว่าการลดลงร้อยละ 50.2 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการลดลงไตรมาสที่ 3 ติดต่อกัน ตามการลดลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ เป็นสำคัญ

โดยในไตรมาสนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ 0 คน ลดลงร้อยละ 100.0 ต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ยังคงมีการระบาดในทุกภูมิภาคของโลก ส่งผลให้ในไตรมาสนี้ มีรายรับรวมจากการท่องเที่ยว (เป็นรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งหมด) 0.116 ล้านล้านบาท ลดลงร้อยละ 84.3

โดยรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยลดลงร้อยละ 55.9 อัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 26.76 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.51 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 64.03 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า ลดลงร้อยละ 23.6 น้อยกว่าการลดลง ร้อยละ 38.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยบริการขนส่งทางอากาศลดลงร้อยละ 71.9 บริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียง ลดลงร้อยละ 17.2 และบริการขนส่งทางน้ำลดลงร้อยละ 0.6 บริการสนับสนุนการขนส่งลดลงร้อยละ 22.7 ในขณะที่บริการไปรษณีย์ขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 5.0 สอดคล้องกับรายรับของผู้ประกอบการที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น

เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าอัตราการว่างงานร้อยละ 1.0 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย อยู่ที่ร้อยละ -0.7 ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 6.3 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (197.3 พันล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 5.1 ของ GDP เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณสิ้นเดือนกันยายน 2563 อยู่ที่ 251.1 พันล้านดอลลำร์ สรอ. และหนี้สำธารณะ สิ้นเดือนกันยายน 2563 มีมูลค่าทั้งสิ้น 7,8487,155.9 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49.4 ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2563

เศรษฐกิจไทยปี 2563 คาดว่าจะลดลงร้อยละ 6.0 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้า ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.5 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมปรับตัวลดลงร้อยละ 0.9 และร้อยละ 3.2 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ยอยู่ที่ร้อย -0.9 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.8 ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2564

เศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 – 4.5 โดยมีแรงสนับสนุนจาก

  1. การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ
  2. การฟื้นตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก
  3. แรงขับเคลื่อนจากภาครัฐจากการเบิกจ่ายภายใต้กรอบงบปริมาณและมาตรการทางเศรษฐกิจ
  4. ฐานการขยายตัวที่ต่ำผิดปกติในปี 2563 ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.4 และร้อยละ 6.6 ตามลำดับ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ช่วงร้อยละ 0.7 -1.7 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 2.6 ของ GDP

รายละเอียดของการปริมาณการเศรษฐกิจในปี 2564 ในด้านต่างๆ มีดังนี้

  1. การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค(1)การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.4 เร่งขึ้นจากการลดลงร้อยละ 0.9 ในปี 2563 ตามการผ่อนคลายมาตรการควบคุมและป้องกัน การระบาดของโรคโควิด-19 การดำเนินมาตรการฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง และการเพิ่มขึ้นของความเชื่อมั่นผู้บริโภคตามความสามารถในการควบคุมการระบาดภายในประเทศ รวมทั้งแนวโน้ม การฟื้นตัวของฐานรายได้จากภาคการส่งออก และ(2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาลคาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 4.7 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.6 ในปี 2563 สอดคล้องกับสมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายงบปริมาณรายจ่ายประจำปีงบปริมาณ 2564 อยู่ที่ร้อยละ 98.0 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 97.4 จากปีงบปริมาณ 2563 รวมถึง การเบิกจ่ายภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ 1 ล้านล้านบาทที่คาดว่าจะมีเม็ดเงินเบิกจ่ายเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ในปี 2564 รวม 403,249 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 34.8
  2. การลงทุนรวมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 เทียบกับการลดลงร้อยละ 3.2 ในปี 2563 โดย การลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.4 ต่อเนื่องจากร้อยละ 13.7 ในปี 2563 สอดคล้องกับวงเงินงบลงทุนภายใต้กรอบงบปริมาณประจำปี 2564 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.0 เทียบกับกรอบปีงบปริมาณ 2563 รวมทั้งการเบิกจ่ายภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ส่วนการลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัว ร้อยละ 4.2 ฟื้นตัวจากการลดลงร้อยละ 8.9 ในปี 2563 สอดคล้องกับแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออก และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนมากขึ้น
  3. มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ.คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 7.5 ในปี 2563 โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.6 ในปี 2563 ตามสมมติฐานแนวโน้มการขยายตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ในปี 2564 ส่วนราคาสินค้าส่งออกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.9 ในปี 2563 สอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่การส่งออกบริการยังคงได้รับผลกระทบ จากมาตรการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศที่แม้จะผ่อนคลายมากขึ้น แต่ยังไม่สามารถเปิดรับ นักท่องเที่ยวได้อย่างเต็มที่ และส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทย ทั้งนี้ในกรณีฐานคาดว่ารายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติจะอยู่ที่ 4. 9 แสนล้านบาทเทียบกับ 4.6 แสนล้านบาทในปี 2563 หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ7.0 ดังนั้นโดยรวมคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2564 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 19.5 ในปี 2563

ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2563 และปี 2564

ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2563 และปี 2564 ควรให้ความสำคัญกับ

(1) การป้องกันการกลับมาระบาดระลอกที่สองในประเทศ

(2) การดูแลภาคเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว (i) การเร่งรัดติดตามมาตรการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพิ่มเติมหรือปรับเปลี่ยนให้ตอบสนองสาขาและพื้นที่เศรษฐกิจที่มีข้อจำกัด ในการฟื้นตัว (ii) การช่วยเหลือและดูแลแรงงาน (iii) การรณรงค์ให้คนไทยเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น (iv) การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติภายใต้มาตรการควบคุมและป้องกันการระบาดของโรคอย่างรัดกุม และ (v) การดำเนินการด้านวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

(3) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายภาครัฐ (i) การเร่งรัดการเบิกจ่าย งบปริมาณรายจ่ายประจำปี 2564 ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 94.4 (ii) งบลงทุนรัฐวิสาหกิจให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 (iii) งบเหลื่อมปีให้ไม่น้อยกว่ำร้อยละ 85 (iv) การเบิกจ่ายโครงการตามพระราชกำหนดเงินกู้ 1 ล้านล้านบาท ให้ได้ไม่น้อยกว่ำร้อยละ70

(4) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคการผลิตและการลงทุนภาคเอกชน (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าที่ได้รับประโยชน์จากการระบาดของโรคโควิด-19 (ii) การขยายควำมร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้า (iii) การให้ความสำคัญกับข้อตกลงระหว่างประเทศ ที่อาจถูกใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการดำเนินมาตรการกีดกันทางการค้า (iv) การลดต้นทุนการผลิตสินค้าที่สำคัญ ๆ (v) การป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนและการแข็งค่าของเงินบาท(vi)การส่งเสริมการตลาดเชิงรุกและผ่านช่องทางออนไลน์

(5) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน (i) เร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติ และออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2563 ให้เกิดการลงทุนจริง(ii) การขับเคลื่อนการส่งออกเพื่อเพิ่มการใช้กำลังการผลิต (iii) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ (iv) การประชาสัมพันธ์จุดแข็งของประเทศไทย และ (v) การขับเคลื่อนมาตรการสร้างศักยภาพการขยายตัว ทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง

(6) การดูแลราคาสินค้าเกษตรในบางพื้นที่ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาด และการเตรียมการรองรับปัญหาภัยแล้ง

(7) การรักษาบรรยากาศทางการเมืองในประเทศ และการเตรียมการรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกและการดูแลเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

16 พฤศจิกายน 2563