Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

อินไซด์ 3 พฤติกรรมที่ผู้ประกอบธุรกิจอาจ “ฮั้ว” โดยไม่รู้ตัว

Onlinenewstime.com : การกระทำร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจ อันเป็นการผูกขาด ลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาด หรือที่เรียกกันว่า “การฮั้ว” ซึ่งเป็นการร่วมกันกระทำให้เกิดความเสียหายต่อการแข่งขันทางการค้า เช่น การฮั้วราคา หรือฮั้วประมูล ฯลฯ ผู้ประกอบธุรกิจบางราย อาจมีพฤติกรรมการพูดคุยหรือตกลงราคาร่วมกัน โดยมองว่าเป็นเรื่องปกติที่เคยทำกันมาเป็นปกติ และไม่ทราบว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือมองว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่คู่แข่งจะได้ไม่ต้องสู้ราคากัน แต่การกระทำนั้น อาจส่งผลเสียต่อการแข่งขันในตลาดและผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงกว่าปกติและเป็นการจำกัดทางเลือกซื้อสินค้า

และเพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจ เข้าใจผลกระทบจากพฤติกรรมการ “ฮั้ว” มากขึ้น สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขัน
ทางการค้า
หรือ สขค. จะพาไปอินไซด์การฮั้วในรูปแบบต่าง ๆ พร้อมแนวทางการป้องกัน ไม่ให้เข้าข่ายกระทำความผิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้า

รวมถึงเข้าใจเกี่ยวกับบทลงโทษที่มากขึ้น โดยประเด็นเหล่านี้ ถือเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งกำกับดูแล เพื่อยกระดับการแข่งขันการค้าให้มีความยุติธรรมมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่สำคัญต่อการค้า ที่จะเติบได้อย่างยั่งยืนอีกด้วย

ฮั้วแบบไหนที่ร้ายแรง และไม่ร้ายแรง

สำหรับประเทศไทย แบ่งการฮั้วออกเป็น 2 ประเภท

ประเภทแรกคือ การกระทำร่วมกันที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันอย่างร้ายแรง (Hardcore Cartels) ตามมาตรา 54 หรือการฮั้วแบบร้ายแรง เป็นการกระทำร่วมกันระหว่างผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นคู่แข่งในตลาดเดียวกัน เช่น บริษัท ก และบริษัท ข ต่างเป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน ที่แข่งขันอยู่ในตลาดเดียวกัน และบริษัททั้ง 2 ได้ทำข้อตกลงร่วมกันในลักษณะดังนี้ ได้แก่

1) การฮั้วราคาหรือเงื่อนไขทางการค้า เช่น การกำหนดราคาเดียวกันหรือเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การกำหนดเงื่อนไขการชำระเงินหรือการรับประกัน

2) การฮั้วเพื่อจำกัดปริมาณ เช่น การร่วมกันกำหนดปริมาณในการผลิต ซื้อ หรือจำหน่ายสินค้าและการบริการของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละราย

3) การฮั้วประมูล เช่น การร่วมกันกำหนดข้อตกลงหรือเงื่อนไขในลักษณะสมรู้กัน เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดได้รับการประมูล หรือเพื่อไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเข้าแข่งขันราคาในการประมูลหรือประกวดราคาสินค้าหรือบริการนั้น

4) การฮั้วแบ่งตลาด เช่น การร่วมกันกำหนดแบ่งท้องที่ที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละราย จะจำหน่ายหรือลดการจำหน่ายในท้องที่นั้น รวมถึงการกำหนดคู่ค้าในการซื้อขายที่ผู้ประกอบธุรกิจแต่ละราย จะจัดจำหน่ายหรือซื้อสินค้าหรือบริการได้เพื่อที่จะไม่ต้องแข่งขันกัน เป็นต้น

ประเภทที่สองคือ การกระทำร่วมกันที่ส่งผลกระทบต่อการแข่งขัน (Non-Hardcore Cartels) ตามมาตรา 55 หรือ
การฮั้วแบบไม่ร้ายแรง
เป็นการกระทำร่วมกัน ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นคู่แข่งในตลาดเดียวกัน (การร่วมกันในแนวราบ) หรืออยู่ในตลาดต่างระดับกัน และไม่ได้เป็นคู่แข่งในตลาดเดียวกัน (การร่วมกันในแนวดิ่ง) ได้แก่

1) การฮั้วราคาหรือเงื่อนไขทางการค้า การฮั้วจำกัดปริมาณ หรือการฮั้วแบ่งตลาดระหว่างผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่คู่แข่งกัน

2) การฮั้วเพื่อลดคุณภาพสินค้าหรือบริการ เช่น การร่วมกันลดคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้ต่ำลงกว่าเดิม

3) การฮั้วเพื่อแต่งตั้งหรือมอบหมายบุคคลเดียวกันเป็นผู้จำหน่าย

4) การฮั้วเงื่อนไขหรือวิธีปฏิบัติทางการค้า และ

5) การฮั้วในลักษณะอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าประกาศกำหนด  

3 พฤติกรรมต้องระวังที่อาจทำให้ “ฮั้ว” ไม่รู้ตัว

นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ยังมีพฤติกรรมการร่วมกันทางธุรกิจบางอย่าง ที่ถึงแม้จะไม่ได้ทำให้เกิดการผูกขาด หรือเกิดความเสียหายต่อการแข่งขันทางการค้าอย่างร้ายแรง แต่ก็อาจผิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้าตามมาตรา 55 ได้ โดยมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้

ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการฮั้ว

การฮั้วที่เข้าข่ายผิดกฎหมายในลักษณะต่างๆ ดังกล่าว นำไปสู่ปัญหาการผูกขาด การลดการแข่งขัน และการจำกัดการแข่งขัน กล่าวคือ ผู้ประกอบธุรกิจ มีอำนาจกำหนดราคาและปริมาณสินค้าหรือบริการของตนเองได้อย่างอิสระ ทำให้การแข่งขันในตลาดลดลง จำนวนสินค้าหรือบริการในตลาดที่แข่งขันลดลง จำนวนคู่แข่งในตลาดลดลง คู่แข่งรายอื่นถูกจำกัดสิทธิ หรือโอกาสในการดำเนินการเพื่อแข่งขันในตลาด

ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้บริโภคและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากการแข่งขันระหว่างคู่แข่งที่อยู่ในตลาดเดียวกัน มีจำนวนลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีการกระทำร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจ ในลักษณะที่ไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิด กรณีที่การฮั้วนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดการวิจัยหรือพัฒนาการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า และการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคนิคหรือเศรษฐกิจ โดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้บริโภคในด้านต่างๆ ไม่เป็นการจำกัดทางเลือกสินค้าและไม่ก่อให้เกิดการผูกขาดในตลาด

บทลงโทษทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติของ สขค.

ประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาการกระทำร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจ
อันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาด พ.ศ. 2561 ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาดไว้หลายกรณี ตลอดจนข้อยกเว้นต่างๆ ซึ่งแต่ละกรณี จะส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการแข่งขันในตลาดและผู้บริโภคที่่แตกต่างกัน

กฎหมายจึงกำหนดบทลงโทษที่่แตกต่างกันไปตามความร้ายแรงที่เกิดขึ้น โดยการฮั้วแบบรุนแรงตามมาตรา 54 ได้กำหนดบทลงโทษอาญาจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 10% ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด หรือทั้งจำทั้งปรับ ในส่วนของการฮั้วแบบไม่ร้ายแรงตามมาตรา 55  มีโทษทางปกครองต้องชำระค่าปรับไม่เกิน 10% ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด

Exit mobile version