fbpx
News update

เปิด “ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม” ในชุมชุนนางเลิ้ง กรุงเทพฯ

onlinenewstime.com : กองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี หน่วยงานเพื่อสังคมของ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประกาศการก่อตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม” หรือ FREC ในกรุงเทพฯ

ศูนย์ FREC แห่งนี้จะเป็นบ้านหลังใหม่ให้กับองค์กรเอ็นจีโอด้านสิ่งแวดล้อมของกรุงเทพฯ หลายองค์กร โดยเป็นความร่วมมือระหว่างกองทุนฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี และหน่วยงานเอ็นจีโอหลายองค์กร มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาพื้นที่ในชุมชนนางเลิ้ง ซึ่งมีประวัติอันยาวนาน

34,35,302,315.997925

การจัดกิจกรรมแรกของศูนย์ FREC เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มพันธมิตรองค์กรเอ็นจีโอและผู้คนในชุมชนได้มาพบปะกัน และ เยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้เป็นครั้งแรก และได้รับทราบถึงโครงการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในชุมชนแห่งนี้

นายไมค์ ชมิดท์ ผู้อำนวยการ การศึกษาและการพัฒนาประชาคมโลก กองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าวว่า ภารกิจของกองทุนฟอร์ดมอเตอร์ คัมปะนี คือการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น โดยศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและ สิ่งแวดล้อมได้ตั้งขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์นี้ ซึ่งมีอยู่ทั่วโลก จะเป็นสถานที่เพื่อให้ชุมชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรและความช่วยเหลือตามความต้องการและวัฒนธรรมของชุมชนนั้นๆ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานพันธมิตรที่ยอดเยี่ยมซึ่งมุ่งหวังที่จะได้ทำงานร่วมกัน เพื่อนำโครงการและโอกาสใหม่ๆ ส่งต่อให้แก่ผู้อยู่อาศัยในชุมชนแห่งนี้

ศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ที่จะรวมหน่วยงานพันธมิตรที่ไม่แสวงกำไรมาทำงานร่วมกัน เพื่อส่งเสริมชุมชนโดยรอบและช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งการเปิดศูนย์ FREC แห่งใหม่นี้เป็นการต่อยอดศูนย์ FREC ที่มีอยู่อีก ๒ แห่งในเมืองดีทรอยต์ สหรัฐอเมริกา และประเทศแอฟริกาใต้ (พ.ศ.๒๕๖๐) และเมืองไครโอวา ประเทศโรมาเนีย (พ.ศ.๒๕๖๑) โดยสร้างขึ้นตามแบบ ในเมืองดีทรอยต์ ซึ่งเปิดทำการในปี พ.ศ.๒๕๕๖ และได้ทำหน้าที่เป็นที่พึ่งพิงของชุมชน โดยที่ผ่านมาสามารถช่วยเหลือผู้คนได้มากกว่า ๘๕,๐๐๐ คน จากการแบ่งปันอาหาร การเตรียมการคืนภาษี การศึกษา การริเริ่มงาน และการช่วยเหลือด้านกฎหมาย 

ายวิชิต ว่องวัฒนาการ กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย

นายวิชิต ว่องวัฒนาการ กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย กล่าวว่า ฟอร์ดมุ่งมั่นที่จะสร้างความสัมพันธ์อันแข็งแกร่งและสนับสนุนชุมชนในพื้นที่ ที่เข้าไปดำเนินธุรกิจ ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ฟอร์ดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมแห่งนี้ จะช่วยผลักดันให้การทำกิจกรรมช่วยเหลือสังคมและชุมชนของฟอร์ดในประเทศไทยก้าวขึ้นไปอีกระดับ โดยศูนย์ FREC กรุงเทพฯ จะส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างฟอร์ดและผู้อยู่อาศัยในชุมชนในการผลักดันให้เกิดกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้คนในสังคมอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ศูนย์ FREC กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่โรงเรียนสตรีจุลนาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนที่เก่าแก่ที่สุดของกรุงเทพฯ และมีตลาดอาหารนางเลิ้งที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ในหลายสิบปีที่ผ่านมา การพัฒนาได้ขยายไปยังส่วนต่างๆ ของกรุงเทพฯ ชุมชนดังกล่าวจึงมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ จำนวนประชากร และทางสังคม โดยสถานีรถไฟใต้ดินที่กำลังจะเปิดตัวเพื่อเชื่อมต่อชุมชนนี้กับส่วนอื่นๆ ของเมืองอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง

ดร.พงษ์พิศิษฐ์ หุยากรณ์ อาจารย์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้ที่ทำงานร่วมกับกองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมและเรียนรู้เกี่ยวกับชุมชนเพิ่มเติมในช่วง ๖ เดือนที่ผ่านมา กล่าวว่า “ศูนย์ FREC กรุงเทพฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นพื้นที่สาธารณะและทรัพยากรสำหรับชุมชนนี้ และเพื่อให้โครงการนี้สำเร็จ พวกเราจะต้องคอยดู รับฟัง เข้าใจ และเรียนรู้ ซึ่งในอนาคตข้างหน้า หากเรามีการฟังความต้องการของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ศูนย์ FREC ก็จะเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนนี้ได้ โดยบรรลุทั้งเป้าหมายที่มีอยู่และยังนำไปสู่  เป้าหมายใหม่ต่อไป ผมเชื่อว่าศูนย์ FREC กรุงเทพฯ และองค์กรพันธมิตรต่างๆ จะสามารถทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวกับข้องทุกฝ่ายมาร่วมมือกับผู้คนในชุมชนในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชนนางเลิ้งได้อย่างสร้างสรรค์”

ทีมนักวิจัยซึ่งเป็นที่ยอมรับจากมหาวิทยาลัยชื่อดังของประเทศไทยจะจัดตั้งเออเบิน สตั้ดดี้ส์ แล็บ เป็นศูนย์การศึกษาชุมชนเมือง ที่ศูนย์ FREC กรุงเทพฯ เพื่อให้มั่นใจให้ว่าโครงการต่างๆ ของศูนย์จะขับเคลื่อนโดยชุมชนอย่างแท้จริง โดยทีมนักวิจัยเหล่านี้จะทำงานร่วมกับคนในพื้นที่ในการค้นคว้าและจัดตั้งโครงการที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนร่วมกัน

นอกจากนี้ เออเบิน สตั้ดดี้ส์ แล็บ จะจัดการเรียนการสอน “ชั้นเรียนชุมชนเมือง” ให้แก่นักศึกษา รวมถึงจัดการบรรยายและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการให้กับประชาชนทั่วไปโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตลอดจนทำโครงการศึกษาวิจัยที่มีเป้าหมายในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม นอกจากนี้ ศูนย์วิจัย USL ยังให้การสนับสนุนด้านบริหารจัดการความรู้และการสนับสนุนทางวิชาการสำหรับโครงการต่างๆ ของศูนย์ FREC ผ่านทางศูนย์การวิจัยข้อมูลแบบเปิด

โดยมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ หรือ เอสโอเอส ซึ่งเป็นพันธมิตรหลักของศูนย์ FREC จะใช้สาขาที่กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการดำเนินการเพื่อส่งต่ออาหารส่วนเกินที่ยังคงคุณค่าทางโภชนาการ โดยใช้รถกระบะ ๕ คัน ในการรวบรวมอาหารส่วนเกินที่มีปริมาณมากถึงวันละ ๒ ตัน ในแต่ละวัน จากร้านอาหาร ร้านขายของชำและโรงแรม หลังจากนั้น เอสโอเอสจะนำอาหารเหล่านี้ที่ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยแล้ว ไปแจกจ่ายให้กับสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าและสถานสงเคราะห์กว่า ๓๐ แห่ง ทั่วกรุงเทพฯ

นายโบ โฮล์มกรีน ผู้ก่อตั้งและประธานบริหารมูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ กล่าวว่า มูลนิธิ    สโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ ร่วมวางแผนก่อตั้งศูนย์ FREC กรุงเทพฯ กับกองทุนฟอร์ดมานานกว่า ๑ ปี และพวกเรายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการเปิดตัวศูนย์ฯ ในวันนี้ นอกจากสถานที่ทำการแล้ว ยังเป็นครัวและสถานที่ทำความสะอาด เพื่อช่วยให้เราสามารถแปรรูปอาหารที่จะนำไปบริจาคได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นสถานที่สำหรับการจัดแสดงเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การเพาะปลูกแบบแอโรโพนิกสำหรับชุมชนในเมือง ซึ่งทางเราจะจัดแสดงเร็วๆ นี้ภายหลังจากย้ายเข้าไปที่ศูนย์ฯ แล้ว”

นอกจากนี้ กองทุนฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ยังได้มอบรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ คันใหม่ ซึ่งมีการติดตั้งเครื่องทำความเย็นเพื่อควบคุมอุณหภูมิอาหารให้แก่มูลนิธิสโกลารส์ ออฟ ซัสทีแนนซ์ เพิ่มจากขบวนรถเก็บความเย็นที่มีอยู่เดิมของมูลนิธิ ซึ่งทั้งหมดจะจอดรับส่งอาหารประมาณ ๔๕ ที่ในแต่ละวัน และเดินทางร่วม ๕๐๐ กิโลเมตรทั่วกรุงเทพฯ

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน เอสโอเอส บริหารจัดการการเดินทางของรถเองโดยมีผู้บริจาคและคนขับรถโทรศัพท์แจ้งข้อมูลการรับส่งอาหารและสถานที่  ดังนั้น เพื่อให้การเก็บรวบรวมอาหารเป็นไปอย่างชาญฉลาดและปลอดภัยยิ่งขึ้น เอสโอเอส จึงได้พัฒนาแอปพลิเคชัน เพื่อติดตามและบริหารจัดการการเดินทางของรถได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยได้รับเงินช่วยเหลือจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและการสนับสนุนจากฟอร์ด ซึ่งแอปพลิเคชันนี้จะเปิดตัวภายในปีนี้