www.onlinenewstime.com ยุคที่การทำงานมีการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันสูงทั้งด้านธุรกิจ บุคลากร หลายองค์กรมีการปรับกลยุทธ์เพื่อรับมือ โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน “ข้อมูล” นับว่ามีความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างมาก
ในการทำงานเชิงรุก หากมีการนำข้อมูลมาสร้างเป็นกลยุทธ์สนับสนุนให้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นทวีความสำคัญเป็นอย่างมากในยุคแห่งการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ได้นำ 3 วิธีการในการสร้างทีมทำงานโดยใช้ข้อมูล เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อนำพาทีมไปสู่ความสำเร็จ
พร้อมกันนี้ ได้นำบางส่วนของบทความของ “โทมัส คามอร์โร-พรีมูซิค” ซึ่งระบุว่า ผู้นำ ในหลายองค์กรยอมรับว่าตนเองตัดสินใจโดยใช้สัญชาตญาณมากกว่าที่จะใช้ข้อมูล ตามหลักความเป็นจริงการเป็นผู้นำที่ตัดสินใจโดยอาศัยข้อมูลถือว่าเป็นผู้มีลักษณะที่ “เปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งใหม่” และ “รับผิดชอบต่อสังคม” นำไปสู่การปฏิบัติตาม
นอกจากนี้ การการคิดแบบมี ตรรกะ ยังช่วยนำไปสู่การพัฒนาทีมได้อีกด้วย
สำหรับข้อแนะนำ 3 วิธีที่จะช่วยให้ทีมกลายเป็นทีมที่ทำงานโดยใช้ข้อมูลอย่างมีตรรกะเป็นหลัก
วิธีที่หนึ่ง การส่งเสริมการคิดเชิงวิเคราะห์ ในการทำงานผู้นำและทีมงานจะต้องมีการร่วมประชุมปรึกษาหารือ เกี่ยวกับงาน รวมถึงการแลกเปลี่ยนมุมมอง ทัศนะต่างๆ โดยการวิเคราะห์และมีข้อมูลประกอบเพื่อสนับสนุนและวิเคราะห์ถึงแก่นของข้อมูลนั้นๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการทำงาน ถึงแม้ว่าปัจจุบัน บทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงการทำงาน แต่มนุษย์ก็ยังมีส่วนสำคัญและรู้จักการปรับประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์จะทำให้องค์กรสามารถคาดการณ์ได้โดยใช้ต้นทุนที่ต่ำลง ดังนั้น ความสนใจใฝ่รู้และการคิดเชิงวิเคราะห์ของมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็น
อย่างไรก็ตาม หากบุคลากรจะแตกต่างกันในแง่การยอมรับการคิดเชิงวิเคราะห์ ผู้นำสามารถช่วยทีมงานได้พัฒนาศักยภาพที่มีได้ หากมอบสิ่งจูงใจแก่พนักงาน ให้ความเห็นสะท้อนกลับที่เหมาะสม และสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างไม่เป็นทางการและไม่มีลำดับขั้นที่บุคลากรสามารถแบ่งปันมุมมองและแนวคิดของตนได้
ตัวอย่างเช่น ที่แอร์บีเอ็นบี พนักงานสามารถเขียนปัญหาไว้ในฐานข้อมูลความรู้ภายในที่อนุญาตให้บุคลากรอื่นสามารถตอบหรือเสนอทางแก้ไขได้ ความพยายามง่าย ๆ ในการรวบรวมความรู้แบบนี้จะช่วยยกระดับความสามารถในการแก้ไขปัญหาของทีมงานของคุณโดยการเพิ่มพูนความรู้ความสามารถโดยรวมของบุคลากร
วิธีที่สอง การลงทุนด้านการฝึกอบรม จะเห็นได้ว่า ผู้นำและบุคลากรให้ความสำคัญอันดับต้นๆ จากผลการศึกษาด้านการวิเคราะห์ระบุว่าการฝึกอบรมที่ออกแบบย่างเหมาะสมจะช่วยส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นทางการได้ถึง 60 ของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า โดยเฉลี่ยบุคลากรในกลุ่มที่รับการฝึกอบรมจะสามารถปฏิบัติงานได้ดีขึ้นถึงร้อยละ73 ของบุคลากรในกลุ่มที่ไม่ได้รับการฝึกอบรม
ซึ่งหมายความว่าศักยภาพของบุคลากรจากการฝึกอบรม การฝึกฝนที่ดีทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานเพียงร้อยละ 1 ในขณะที่ร้อยละ 99 ที่เหลือขึ้นอยู่กับคุณภาพของบุคลากรที่แสดงออกมา (หรือวัดได้) ก่อนการฝึกอบรมจะเกิดขึ้น อีกนัยหนึ่ง ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกอบรมในส่วนของความเชี่ยวชาญหรือความรู้สามารถคาดการณ์ได้จากศักยภาพเบื้องต้นของบุคลากร ซึ่งเป็นผลดีต่อการจ้างงานในระยะยาวมากกว่าการฝึกอบรมที่ดี
ปัจจุบัน แหล่งข้อมูลสามารถเข้าถึงได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น กูเกิ้ล เปิดให้ใช้ทรัพยากรโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายรวมถึงหลักสูตรออนไลน์เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ การลงทุนเบื้องต้นที่สำคัญไม่ใช่เงิน แต่เป็นเวลา และเชื่อว่าคุณต้องจูงใจบุคลากรให้ใช้เวลาให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์ที่สุด
วิธีที่สาม การเลือกจ้างบุคคลที่เหมาะสมตรงกับงาน หลังการฝึกอบรมทักษะเชิงปริมาณ ข้อมูล หรือการคิดวิเคราะห์เชิงตรรกะ สิ่งที่จะสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของบุคลากรในการเรียนรู้และแสดงทักษะเหล่านั้นออกมา โดยวัดได้จากความสามารถ ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างชาญฉลาดและเรียนรู้ศักยภาพด้านอื่น ๆ ซึ่งเปรียบเทียบกับการวัดแรงม้าทางความคิดหรือความเร็วของกระบวนการในการคิด นอกจากนี้การวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าบุคลากรเหล่านี้จะมีความเชี่ยวชาญหรือความรู้พื้นฐานในสาขาใด พวกเขาจะสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าและดีกว่า
ทั้งนี้ 3 วิธีดังกล่าวที่นำมาเป็นแนวทางในการสร้างทีมเวิร์ค โดยมีสิ่งสำคัญคือ “ข้อมูล” นำมาคิดวิเคราะห์ย่างมีตรรกะ นอกจากนี้ ยังเสริมทีมด้วยการฝึกอบรมทักษะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และอีกหนึ่งสิ่งที่จะละเลยไม่ได้คือ การเลือกบุคคลให้เหมาะสมกับงาน จะส่งผลให้งานมีความสำเร็จเพราะบุคลากรมีความเข้าใจในงานนั้นๆ อย่างแท้จริง องค์กรต่างๆสามารถนำแนวทางไปปรับให้เหมาะกับองค์กรของคุณ…เพราะความสำเร็จออกแบบได้