Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

30 ประเทศจับมือกันต่อสู้กับ”เฟคนิวส์” ไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ 2019

Onlinenewstime.com : โครงการรับมือเฟคนิวส์ จากความร่วมมือของนักตรวจสอบข้อเท็จจริง หรือ Fact-Checker จาก 30 ประเทศ ต้องเผชิญกับคลื่นเหตุการณ์ที่ถาโถมเข้ามาของข่าวลวง เกี่ยวกับสถานการณ์ไวรัสโคโรนาถึง 3 ระลอก

โดยต้องใช้กองกำลังจากกว่า 48 องค์กรของ 30 ประเทศ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งโครงการนี้ได้เปิดตัวและเริ่มทำงาน ตั้งแต่ 24 ม.ค. ที่ผ่านมา เพื่อแก้ไขข้อมูลลวง ข่าวปลอมทั้งหลายที่เกี่ยวกับโคโรนา

สำหรับเฟคนิวส์ยอดฮิตอันดับ 1 ก็คือ การเปิดตัววัคซีนมหัศจรรย์ที่ช่วยรักษาได้ ตามมาด้วยข้อมูลปลอม เกี่ยวกับสาเหตุของโรค และสุดท้ายก็คือทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด

โครงการความร่วมมือซึ่งประสานงานโดย เครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงระหว่างประเทศ ได้เปิดตัวในวันที่ 24 มกราคม และยืนยันจะทำงานตราบเท่าที่การแพร่กระกระจายทั่วโลกยังไม่หยุด ซึ่งผู้สนใจสามารถติดตาม และตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ ในช่องทางโซเชียลมีเดีย ผ่านแฮชแท็ก #CoronaVirusFacts และ #DatosCoronaVirus

เฟคนิวส์ระลอกแรก ที่ต้องรับมือก็คือข้อมูลบิดเบือน ที่อ้างว่าสิทธิบัตรของโคโรนาไวรัส 2019 ถูกสร้างขึ้นไม่กี่ปีที่ผ่านมาในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีการโพสต์และแชร์กันในวงกว้างทางโซเชียลมีเดีย ซ้ำเติมด้วยการสร้างความหวาดวิตก ว่าไม่มีวัคซีนที่ใช้รักษาไวรัสชนิดนี้ได้  ซึ่งเป็นชุดข่าวลวงที่คล้ายคลึงกับเรื่องราวสิทธิบัตร ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโคโรนา ในอดีต ซึ่งกระจายข้อมูลเท็จไปทั่วโลก

สำหรับข่าวลวงระลอกถัดมา ซึ่งแพร่หลายเป็นวงกว้างในไต้หวัน อาจมาจากเหตุผลทางภูมิศาสตร์ ที่อยู่ใกล้กับประเทศจีน จึงทำให้เกิดความกังวลอย่างหนัก และมีความพยายามป้องกันตนเอง จากไวรัสใหม่ล่าสุดนี้ โดยผู้คนเริ่มแบ่งปันข้อมูลกันในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นวิธีป้องกันตัวเองที่แปลกประหลาด และไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย

ยกตัวอย่างข้อความกล่าวอ้าง ว่ากรดอะซิติก มีฤทธิ์ป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งไม่มีข้อเท็จจริงและพิสูจน์ไม่ได้

ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงของไต้หวัน ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ แก้ไขคำแนะนำที่เป็นเท็จ รายละเอียดของสารต่างๆที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งต่อกันมาว่าใช้ป้องกันไวรัสได้ ตั้งแต่สเตอรอยด์ เอทานอล และน้ำเกลือ รวมทั้งอีกหลากหลายสูตรที่ไม่มีข้อเท็จจริง

และล่าสุดนักตรวจสอบข้อเท็จจริงทั่วโลก ก็กำลังดิ้นรนกับข่าวลวงระลอก 3 เกี่ยวกับที่มาและต้นกำเนิดของไวรัส ยกตัวอย่าง Aos Fatos ในบราซิลที่จัดอันดับท๊อปเฟคนิวส์โพสต์ คือข้อมูลซึ่งกล่าวอ้างถึงคนที่บริโภคซุปค้างคาว

อย่างไรก็ตาม ยังมีที่ว่างเสมอสำหรับเฟคนิวส์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทฤษฎีสมคบคิด ซึ่งนักตรวจสอบข้อเท็จจริงในจอร์เจีย พบเรื่องนี้ในการนำเสนอผ่านรายการโทรทัศน์ ที่เผยแพร่ทางช่องรัสเซีย พบว่าเป็นวิธีสร้างความเชื่อมโยงแบบผิดๆ  โดยใช้ภาพในอดีตของห้องแลปด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ มาโยงกับข้อมูลว่าสหรัฐอเมริกา กำลังแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาไปทั่วเอเชีย  

จากการตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่ารายการนี้ ใช้เนื้อหาจากไฟล์ตั้งแต่ปี 2018 ซึ่งภาพดังกล่าว มีการส่งต่อและเป็นหัวข้อยอดนิยมอีกเช่นกัน Animal Politico ในเม็กซิโก ตรวจพบ Facebook Page ที่ใช้ภาพดังกล่าว พร้อมโลโก้สำนักข่าว CNN เพื่อโปรโมตแนวคิดที่ว่า นาย Raúl Rodolfo Abhduz Khan วิศวกรชีวเคมีจาก Karmalah Laboratories เป็นผู้สร้างไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จที่รุนแรงมาก

ท่ามกลางความโกลาหล และจำนวนผู้เสียชีวิตจนถึงปัจจุบัน  จำนวนเฟคนิวส์ดูจะเติบโตแบบทวีคูณ และเป็นพิษในโซเชียลมีเดียทั่วโลก เป็นบทเรียนที่ชัดเจนว่า หากไม่มีการยืนยันจากหน่วยงานทางการแพทย์ การแบ่งปันเนื้อหาเกี่ยวกับการติดเชื้อ หรือการเสียชีวิตที่เกิดจากไวรัสโคโรนาเป็นเรื่องที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง

มีแนวโน้มว่าในอีกไม่กี่วันข้างหน้า จะมีเรื่องใหม่ที่น่าสนใจออกมา โดยกลุ่มต่อต้านวัคซีนอาจใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ ซึ่งประเด็นนี้หน่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงของบราซิล กำลังติดตามอยู่ โดยมีสิ่งชี้นำจากตัวอย่างเมื่อวันที่ 24 ม.ค. ซึ่งโพสต์ที่เป็นเฟคนิวส์อันดับต้นๆ กล่าวอ้างว่าการระบาดครั้งนี้ “ถูกสร้างขึ้นเพื่อจะขายวัคซีนใหม่”

หันกลับมามองที่ประเทศไทย ถึงแม้จะเป็นหน้าที่โดยตรงของหน่วยงานภาครัฐ คือกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ประกาศนโยบาย และจัดตั้งศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม เพื่อทำงานทางด้านนี้โดยเฉพาะ แต่เราทุกคน ในฐานะผู้เสพสื่อทางโซเชียลมีเดีย ก็ควรใช้วิจารณญาณในการคัดกรองข้อมูล และมีสติในการวิเคราะห์ โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น ผู้ติดเชื้อ หรือผู้เสียชีวิต และปฏิบัติตามแนวทางที่กรมสุขภาพจิตแนะนำคือ ตระหนักแต่ไม่ตระหนก!

Source

Exit mobile version