กรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจและผลการให้บริการประจำเดือนมกราคม 2560 โดยพบว่า ประเภทธุรกิจที่จดทะเบียนจัดตั้งสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
- ธุรกิจร้านขายปลีกเครื่องประดับ จำนวน 696 ราย
- ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 623 ราย
- ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 282 ราย
- ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการจัดการ จำนวน 150 ราย
- ธุรกิจขายส่งเครื่องจั กรและอุปกรณ์ จำนวน 149 ราย ตามลำดับ
ส่วนผลการจดทะเบียนธุรกิจอื่นๆของเดือนมกราคม มีรายละเอียดดังนี้
ผลการจดทะเบียนธุรกิจ เดือนมกราคม
-
จำนวนการจดทะเบียน มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศเดือนมกราคม 2560 จำนวน 6,279 ราย เพิ่มขึ้น 1,869 ราย คิดเป็น 42%เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งมีจำนวน 4,410 ราย และเพิ่มขึ้น จำนวน 530 ราย คิดเป็น 9% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2559 ซึ่งมีจำนวน 5,749 ราย สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนเลิ กมีจำนวน 1,157 ราย ลดลงจำนวน 3,961 ราย คิดเป็น 77% เมื่อเทียบเดือน ธันวาคม 2559 ซึ่งมีจำนวน 5,118 ราย และลดลงจำนวน 312 ราย คิดเป็น 21% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2559 ซึ่งมีจำนวน 1,469 ราย
-
มูลค่าทุนจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ในเดือนมกราคม 2560 มีจำนวนทั้งสิ้น 16,492 ล้านบาท ลดลงจำนวน5,760 ล้านบาท คิดเป็น 26% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2559 ซึ่งมีจำนวน 22,252 ล้านบาท และมีมูลค่าลดลง จำนวน 11,704 ล้านบาท คิดเป็น 42% เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2559 ซึ่งมีจำนวน 28,196 ล้านบาท
-
ห้างหุ้นส่วนบริษัทจดทะเบียนจั ดตั้งทั้งสิ้น (ณ วันที่ 31 ม.ค.60) จำนวน 1,366,591 ราย มูลค่า ทุนจดทะเบียนรวม 20.62 ล้านล้านบาท โดยมีห้างหุ้นส่วนบริษัทที่ ดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน 649,523 รายมูลค่าทุนจดทะเบียน 15.93 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นบริษัทจำกัด 469,434 ราย บริษัทมหาชนจำกัด 1,153 ราย และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด/ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 178,936 ราย
การคาดการณ์ตลอดปี 256
นางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กล่าวเพิ่มเติมว่า การจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบริษัทในเดือนมกราคม 2560 เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (ธ.ค.59) และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ม.ค.59) คิดเป็น 9%
ซึ่งในปี 2560 นี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าคาดว่าจะมีแนวโน้มการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ ไม่น้อยกว่า 66,000 ราย เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ รวมทั้งการบริโภคการลงทุนภาคเอกชน ที่ปรับตัวดีขึ้น
สอดคล้องกับการคาดการณ์ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังที่ คาดว่าเศรษฐกิจไทยปี 2560 มีแนวโน้มขยายตัวร้อยละ 3.6 ซึ่งดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติ ดตามอย่างใกล้ชิด อาทิ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ ค้า และการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจด้านต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาที่อาจส่ งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เป็นต้น