Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

อโกด้า เผยผลการสำรวจ “ผู้หญิงในที่ทำงานในภูมิภาคเอเชีย” พบคนแต่ละรุ่นมีความเห็นต่างกันเกี่ยวกับการยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก

Onlinenewstime.com : “การมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส” “ความยืดหยุ่นในที่ทำงาน” และ “การเข้าถึงโอกาสได้” ถือเป็น 3 เรื่องที่บริษัทควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนที่สุด ในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมของที่ทำงานให้มีการยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก หรือ Inclusivity

ตามรายงานจากการสำรวจ “ผู้หญิงในที่ทำงานในภูมิภาคเอเชีย” หรือ “Women in the Workplace: Asia” ครั้งแรกของอโกด้า บริษัทเทคโนโลยีด้านการท่องเที่ยวซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย โดย 3 เรื่องที่กล่าวไปข้างต้นอยู่ในอันดับที่สูงกว่าการจ่ายค่าตอบแทนอย่างเท่าเทียมและการสนับสนุนผู้ที่มีบุตร ในการสำรวจผู้คนจำนวน 12,000 คน ใน 10 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย

จากการวิเคราะห์พบว่า ความแตกต่างทางความคิดเห็นเป็นไปตามอายุมากกว่าตามเพศอย่างมาก แม้ว่าในภาพรวมทุกคนจะมองว่า “การมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส” เป็นเรื่องสำคัญอันดับ 1 แต่เมื่อเจาะลึกลงไปเฉพาะกลุ่มตามช่วงอายุ จะเห็นความแตกต่างว่า

ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 18-24 ปี มีเพียง 38% เท่านั้นที่ให้ความสำคัญที่สุดกับการมองเห็นโอกาสได้อย่างชัดเจนโปร่งใส ในขณะที่กลุ่มผู้มีอายุมากกว่า 55 ปีคิดเป็น 49%

การจัดอันดับความสำคัญนั้นแตกต่างไปตามเพศ โดยเมื่อพูดถึงการสร้างพลังบวกเพื่อส่งเสริมความสำเร็จ (empowerment) ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นกลุ่มคนที่ไม่คิดว่าตัวเองเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือ “นอน-ไบนารี” (non-binary) มีแนวโน้มที่จะให้ความสนใจกับการนับรวมทางสังคม (social inclusion) การนับรวมทางอาชีพ (professional inclusion)

และกลุ่มผู้บริหารระดับสูงที่มาจากคนทุกกลุ่มอย่างสมดุล (balanced representation within senior leadership) ว่าเป็นประเด็นสำคัญต่อการสร้างพลังบวกเพื่อส่งเสริมความสำเร็จในที่ทำงาน (empowerment) มากกว่าเพศอื่นๆ

เอเลียนา คาร์เมล, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล, อโกด้า กล่าวว่า ผลสำรวจนี้มีประโยชน์ต่อองค์กรที่ต้องการรักษาคนเก่ง (talent) ที่มีคุณภาพในภูมิภาคเอเชีย “การสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้ผู้คนรู้สึกว่าได้รับความเคารพทั้งในสังคมและทางอาชีพเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

ความเป็นธรรมทางโอกาส ทั้งความสามารถในการมองเห็นโอกาสที่มีอยู่ และการเข้าถึงเครื่องมือ หรือการฝึกอบรมเพื่อเข้าถึงโอกาส เป็นคำตอบที่เราเห็นได้ชัดเจนมากจากการสำรวจครั้งนี้ สำหรับองค์กรที่ต้องการจ้างคนเก่งในระดับแนวหน้า (top talent) เส้นทางอาชีพ เป้าหมายที่ชัดเจน และความชัดเจนว่าความสำเร็จหน้าตาเป็นอย่างไรนั้นสำคัญมากในปัจจุบัน”

3 เรื่องที่บริษัทควรดำเนินการอย่างเร่งด่วนที่สุด ในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมของที่ทำงานให้มีการยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก

เพดานที่มองไม่เห็นยังคงมีอยู่ และผู้ตอบแบบสอบถาม 1 ใน 4 “ลาออก” เนื่องจากการเลือกปฏิบัติทางเพศ

เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสำรวจ (46%) เชื่อว่าเพดานที่มองไม่เห็น (glass ceiling) ซึ่งเปรียบเสมือนเพดานที่กีดกันความก้าวหน้าของคนทุกเพศ ยังคงมีอยู่ในประเทศของตัวเอง โดยผู้ตอบแบบสอบถามจากเวียดนาม (63%) ไทย (56%) และไต้หวัน (53%) มีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยมากกว่า ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามจากฟิลิปปินส์มีแนวโน้มที่จะเห็นด้วยน้อยที่สุด (27%)

นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเพศชาย และนอน-ไบนารี (41%) ที่เชื่อว่าเพดานที่มองไม่เห็นยังคงมีอยู่ มีสัดส่วนน้อยกว่าผู้ตอบแบบสอบถามเพศชายหญิง (52%) และความเชื่อนั้นแตกต่างไปตามอายุ โดยผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18-24 ปี (53%) ที่เชื่อว่าเพดานที่มองไม่เห็นยังคงมีอยู่ มีสัดส่วนมากกว่าผู้ตอบแบบสอบถามอายุมากกว่า 45 ปี (42%)

ผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18-24 ปี มีแนวโน้ม(ที่จะ)ลาออก หรือรู้จักคนที่ลาออกเนื่องจากการเลือกปฏิบัติทางเพศมากกว่า (35%) เมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามอายุมากกว่า 55 ปี (12%)

การเปลี่ยนแปลงกำลังเกิดขึ้น โดยประเทศที่กำลังพัฒนามีมุมมองในแง่บวกมากกว่าว่าการเปลี่ยนแปลงกำลังเป็นไปในทิศทางที่ดี

ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบ 7 ใน 10 เชื่อว่าสภาพแวดล้อมของที่ทำงานของผู้หญิงเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา (เชื่อว่าเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเล็กน้อย 41% และดีขึ้นมาก 28%) มีเพียง 8% ที่เชื่อว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง เมื่อมองผลสำรวจตามแต่ละเพศ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเพศชาย 32% สังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน

ตรงกันข้ามกับผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิง 25% และผู้ตอบแบบสอบถามนอน-ไบนารี 24% ผู้ตอบแบบสอบถามเพศหญิง 42% รับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับผู้ตอบแบบสอบถามเพศชาย 39% และผู้ตอบแบบสอบถามนอน-ไบนารี 37%

การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของที่ทำงานสำหรับผู้หญิงในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา

เมื่อมองผลสำรวจแบบแต่ละประเทศ เห็นได้ว่าญี่ปุ่น (57%) และเกาหลีใต้ (40%) มีแนวโน้มที่จะเห็นว่าสภาพแวดล้อมของที่ทำงานสำหรับผู้หญิงมีการพัฒนาน้อยที่สุด หรือมองว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย หรือมองว่าเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ในทางตรงกันข้ามผู้ตอบแบบสอบถามจากฟิลิปปินส์ (44%) อินเดีย (36%) อินโดนีเซีย (36%) เวียดนาม (35%) และไทย (28%) มองว่ามีการพัฒนาที่ดีขึ้นมากในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา

“การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของที่ทำงานซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้หญิงก็เป็นประโยชน์ต่อองค์กรโดยรวมด้วยเช่นกัน แม้ว่า “เพดานที่มองไม่เห็น” ยังคงมีอยู่

แต่จากผลสำรวจจะเห็นได้ว่าผู้คนในภูมิภาคเอเชียมีความรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ กำลังเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา” เอเลียนา คาร์เมล, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล, อโกด้า กล่าว

“ผลการสำรวจของอโกด้าเผยให้เห็นว่ามีคนอายุ 18-24 ปี ที่แนวโน้มที่จะไม่ทนต่อการเลือกปฏิบัติทางเพศมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงหรือรู้สึกว่าเป็นเช่นนั้น องค์กรที่จะประสบความสำเร็จต้องสร้างวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่ไม่เพียงแต่ส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ

แต่ต้องลงมือทำให้เห็นจริงในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นการทำให้ทุกคนรู้บทบาทและเห็นโอกาสของตัวเองอย่างชัดเจน การสนับสนุนวัฒนธรรมการกล้าพูดที่ซึ่งเสียงของทุกคนจะไม่ถูกละเลย มองข้าม หรือเพียงแค่นำเสนอความเท่าเทียมด้วยการใช้แนวทางปฏิบัติที่สร้างความยืดหยุ่นในการทำงานให้พนักงาน เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีกลุ่มคนใดเสียเปรียบ”

ประโยชน์ของความสมดุลทางเพศในกลุ่มพนักงาน

2 ใน 3 (66%) ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศต่าง ๆ ระบุว่าความสมดุลทางเพศในกลุ่มพนักงานเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18-24 ปี (71%) การเพิ่มความหลากหลายทางเพศในทีมผู้บริหารหรือผู้นำจึงมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นสำหรับองค์กรต่าง ๆ

ผลการสำรวจพบว่าประโยชน์สูงสุดของความสมดุลทางเพศในกลุ่มพนักงาน คือสภาพแวดล้อมของการทำงานที่ยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยก (inclusive work environment) (70%) ช่วยดึงดูดและรักษาคนเก่ง (63%) และปรับปรุงผลลัพธ์ทางธุรกิจให้ดีขึ้น (45%)

เอเลียนา คาร์เมล, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล, อโกด้า กล่าวว่า ผลการสำรวจ “ผู้หญิงในที่ทำงานในภูมิภาคเอเชีย” (Women in the Workplace: Asia) ครั้งแรกของอโกด้า เผยให้เห็นชัดว่าทัศนคติต่อการยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยกในสถานที่ทำงาน (workplace inclusivity) เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มคนแต่ละรุ่น การทำความเข้าใจ และยอมรับความแตกต่างระหว่างคนแต่ละรุ่นในกลุ่มพนักงานไม่ได้เป็นเพียงข้อได้เปรียบเชิงกลยุทธ์เท่านั้น

แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการปลดล็อกนวัตกรรม ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน และสร้างสถานที่ทำงานที่ประสบความสำเร็จในมุมมองที่หลากหลาย ผลสำรวจนี้เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญในการสร้างทีมผู้นำที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของการเป็นตัวแทนทางเพศ ในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ไม่แบ่งแยก การดึงดูดคนที่มีความสามารถ และการขับเคลื่อนความสำเร็จของธุรกิจ

การศึกษานี้ทำหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญในการทำความเข้าใจและผลักดันแนวทางของการยอมรับคนทุกกลุ่มโดยไม่แบ่งแยกในสถานที่ทำงานในภูมิทัศน์เอเชียที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา”


ข้อมูลเพิ่มเติม

เรื่องที่ควรปฏิบัติมากที่สุดเพื่อเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศ

ภาพรวมของผลการสำรวจ

วิธีการสำรวจ

การศึกษาเรื่อง Women in Asia ดำเนินการโดยบริษัทวิจัยตลาดอิสระ YouGov ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 มีการสัมภาษณ์ผู้ตอบแบบสอบถาม 12,078 รายทางออนไลน์ โดยมีผู้เข้าร่วมการสำรวจจาก 10 ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ (1008 คน)  อินเดีย (1032 คน) อินโดนีเซีย (2008 คน) ญี่ปุ่น (1000 คน) เกาหลี (1009 คน) มาเลเซีย (1002 คน) ฟิลิปปินส์ (1008 คน) ไต้หวัน (1005 คน) ไทย (2004 คน) และเวียดนาม (1002คน)

Exit mobile version