credit picture: Sergey Soldatov/123RF.com
onlinenewstime : ในขณะที่คนจำนวนมากกำลังวิตก ว่าหุ่นยนต์กำลังจะเข้ามาแทนที่งานของมนุษย์อย่างเบ็ดเสร็จ เมื่อการค้นคว้าและพัฒนา AI ก้าวไปจนถึงขีดสูงสุด
แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อย เชื่อว่างานเขียนวรรณกรรมเป็นเซฟโซนที่หุ่นยนต์ไม่มีทางก้าวแตะคำว่า “ผู้เขียน” อย่างแน่นอน
จนกระทั่งวันนี้ เกิดผลงานช๊อควงการออกมาแล้ว เพราะเมื่อเร็วๆนี้โปรแกรม AI ของญี่ปุ่นได้ร่วมเขียนเรื่องสั้น ที่สามารถผ่านการคัดเลือกเข้ารอบแรก ของการชิงรางวัลวรรณกรรมระดับประเทศ
คงจะต้องกล่าวว่า ไม่มีอาชีพใดที่ปลอดภัยอีกต่อไป ถึงแม้เรื่องสั้นที่ว่าจะไม่สามารถชิงรางวัลชนะเลิศของการแข่งขัน แต่ใครรู้ว่าในคราวหน้า จะไม่มีการพยายามให้ดีขึ้น!
เรื่องสั้นเรื่องนี้มีชื่อว่า The Day A Computer Writes A Novel (วันที่คอมพิวเตอร์เขียนนวนิยาย) หรือ“ Konpyuta ga shosetsu wo kaku hi” ในภาษาญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าแนวคิดหลักของเรื่องยังไม่ดีพอ ที่จะชนะรางวัลที่หนึ่ง จากเวทีรางวัลวรรณกรรม Nikkei Hoshi Shinichi ครั้งที่สาม
แต่ก็ถือว่าเข้ามาใกล้ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์
เรื่องสั้นเรื่องนี้เกิดขึ้น โดยทีมงานมนุษย์ที่เป็นผู้พัฒนาโปรแกรม AI นำโดยนายฮิโตชิมัตสึบาระและทีม จาก Future University Hakodate ซึ่งเป็นผู้คัดเลือกคำ และประโยค ก่อนจะตั้งค่าพารามิเตอร์ และปล่อยให้ AI “เขียน” เรื่องขึ้นมา จากนั้นหนึ่งในทีมงาน ได้ส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขัน จนผ่านการคัดเลือกรอบแรก เพราะนโยบายการคัดเลือกไม่ได้เปิดเผยให้ผู้ตัดสินรู้ข้อมูลว่า AI มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเขียน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รางวัลวรรณกรรม Hoshi Shinichi ได้เปิดกว้างให้กับการส่งผลงานของผู้เขียนที่ไม่ใช่มนุษย์ (non-human) โดยเฉพาะ โปรแกรม AI และอื่น ๆ โดยปีนี้เป็นปีแรกที่คณะกรรมการ มอบรางวัลได้รับผลงานที่เขียนโดย AI ทั้งหมด 11 เรื่องจาก 1,450 เรื่องที่ส่งเข้าประกวด โดยผลงานเหล่านี้มีบางส่วนที่เขียนโดย non-human
Satoshi Hase นักประพันธ์นิยายวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น ให้ความเห็นว่า “รู้สึกประหลาดใจกับผลงานชิ้นนี้ เพราะถือเป็นงานที่มีแบบแผน แม้จะยังมีปัญหาบางอย่าง ที่จะไปถึงระดับชนะเลิศ เช่นคำอธิบายตัวละคร”
” อย่างไรก็ตาม นักวิจารณ์และผู้สนับสนุนการพัฒนา AI หลายคน เห็นด้วยว่า หนึ่งในอุปสรรคที่ยากที่สุด ทางความคิดของAI ก็คือภาพลักษณ์ของมนุษย์หาก AI ไม่สามารถเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ก็เป็นเรื่องยากสำหรับมนุษย์ที่จะเกี่ยวข้องกับ AI เช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องนำมาคิดต่อในการขยายศักยภาพของ AI ให้มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ “