fbpx
News update

กรมพัฒน์ฯ ประกาศ 9 มาตรการเสริมแกร่งผู้ประกอบการไทยรับมือการค้ายุคใหม่

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากรูปแบบการค้าในปัจจุบันที่มีการรุกตลาดแรงและเร็วผ่านระบบออนไลน์ เน้นการขายด้วยสินค้าต้นทุนถูก ทำให้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SME ที่ปรับตัวไม่ทัน

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ขานรับข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายภูมิธรรม เวชยชัย) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายนภินทร ศรีสรรพางค์) ให้ดูแล SME จึงพร้อมเดินหน้าเร่งเสริมแกร่งติดอาวุธให้ผู้ประกอบการไทย

เพื่อปรับตัวก้าวให้ทันการแข่งขันยุคใหม่ที่รูปแบบการค้าเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยจัดกิจกรรมที่จะเสริมแกร่ง SME ด้วยองค์ความรู้และการตลาดแนวใหม่ เสริมด้วยการขยายช่องทางการตลาด ก้าวทันเทรนด์และตรงใจผู้บริโภค ผ่าน 9 มาตรการ ดังนี้

1.2) การสร้างโอกาสทางการตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce Booster) ผ่าน * หลักสูตรชุมชนออนไลน์นวัตกรรมรักษ์โลก (Digital Village by BCG) เป็นกิจกรรมยกระดับชุมชน โดยการนำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเหลือชุมชนที่อยู่ห่างไกลให้สามารถทำการค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง โดยได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มีเป้าหมาย 20 ชุมชนทั่วประเทศ

1.3) สร้างความเชื่อมั่นและน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าออนไลน์ (Trust and Security) ผ่านเครื่องหมายรับรองผู้ประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered) และเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือ (DBD Verified)

1.4) สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Market Collaboration) ยกระดับสภาพแวดล้อมและปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา e-Commerce ecosystem ผ่านงานมหกรรม Thailand e-Commerce Expo 2024 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 21 สิงหาคม 2567 ณ ไอคอนสยาม โดยมีผู้ประกอบการกลุ่มเป้าหมาย 3,000 ราย

รวมถึงการสร้างเครือข่ายแพลตฟอร์มและส่งเสริมการค้าออนไลน์ในประเทศ โดยการจัดทำหน้า Landing Page บนแพลตฟอร์ม e-Marketplace และ Social Commerce ที่มีชื่อเสียง เพื่อส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการไทยในแพลตฟอร์มเหล่านั้นอีกด้วย

* โครงการส่งเสริมกระจายสินค้าพื้นถิ่นไทยสู่ตลาด จัดขึ้นระหว่างเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2567 ณ ไอคอนสยาม * นำผู้ประกอบการธุรกิจบริการและสินค้าสุขภาพและความงาม อาทิ ธุรกิจสปา ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ร่วมออกงานแสดงและจำหน่ายสินค้า ภายในงาน Thailand Wellness & Healthcare Expo 2024 ระหว่างวันที่ 16 – 18 สิงหาคม 2567 ณ ไบเทค บางนา พร้อมทั้งนำผู้ประกอบการชุมชนเข้าเจรจาจับคู่ธุรกิจกับเทรดเดอร์/บายเออร์รายใหญ่ของประเทศ เพื่อขยายตลาดและสร้างการรับรู้ให้แก่สินค้ามากขึ้น

3. การส่งเสริมสร้างภาพลักษณ์สินค้าชุมชนของไทย ทั้งการช่วยประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย การส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชน DBD Smart Local BCG ให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้บริโภคมากขึ้น

6. ส่งเสริมการเชื่อมโยงพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล ส่งต่อความรู้และลูกค้าระหว่างกัน เช่น การรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ร่วมกับ เครือข่ายธุรกิจ MOC Biz Club ทั่วประเทศ จัดงานสัมมนา ‘พลิกโฉมธุรกิจ พิชิตโอกาส’ ระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2567 ณ จ.เชียงราย และการรวมกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ที่ได้รับการส่งเสริมจากกรมฯ

7. การสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ สร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ ด้วยระบบแฟรนไชส์ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการมีแต้มต่อในการประกอบธุรกิจจากแบรนด์และแผนธุรกิจที่ผ่านความสำเร็จมาแล้ว

8. เสริมศักยภาพร้านค้าโชห่วยด้วยเทคโนโลยียุคใหม่ทั้งด้านความรู้ และใช้ POS บริหารจัดการร้านค้า เพื่อลดต้นทุน เพิ่มยอดขาย และนำร้านค้าส่งค้าปลีกท้องถิ่นต้นแบบที่ผ่านการพัฒนาจากกรม ไปเป็นพี่เลี้ยงยกระดับร้านโชห่วยให้มีภาพลักษณ์ที่ดี มีความสามารถในการแข่งขัน พร้อมเชื่อมโยงกับซัพพลายเออร์เพื่อเป็นพันธมิตรในการทำธุรกิจ

9. อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ โดยนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาให้บริการประชาชนและภาคธุรกิจ เพื่อช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่าย ลดระยะเวลา และเพิ่มความเชื่อมั่นในการเข้าใช้บริการกับกรมฯ เช่น การให้บริการข้อมูลธุรกิจ ผ่านระบบ DBD DataWarehouse+ การให้บริการหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Certificate File) และการจดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจกิจกรรมติดอาวุธเสริมทักษะเพื่อเร่งปรับตัวรับมือกระแสการค้าโลกใหม่ทั้ง 9 มาตรการ สามารถติดตามข้อมูลและลงทะเบียนร่วมกิจกรรมได้ทาง www.dbd.go.th

ซึ่งกรมฯ หวังว่ากิจกรรมเสริมทักษะและติดอาวุธเหล่านี้จะเป็นลมใต้ปีกและพลังสำคัญที่ช่วยให้ SME ไทยสามารถแข่งขันได้อย่างเข้มแข็งและเติบโตได้อย่างมีศักยภาพในโลกการค้ายุคใหม่

ขณะเดียวกัน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะเร่งทำงานร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรด้านการบังคับใช้กฎหมายเพื่อกำกับดูแลให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการไทย จากการเข้ามาแข่งขันและจัดตั้งธุรกิจโดยผิดกฎหมายของต่างชาติซึ่งรวมถึง การตรวจสอบธุรกิจที่มีลักษณะนอมินี หรือให้คนไทยถือหุ้นแทนคนต่างด้าวเพื่อหลีกเลี่ยงการขออนุญาตประกอบธุรกิจตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ที่กำหนดให้คนต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจบริการตามบัญชีท้าย พ.ร.บ.ฯ และต้องการถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ต้องเข้าสู่กระบวนการขออนุญาตโดยถูกต้อง

มิฉะนั้นจะมีความผิดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนถึงหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” อธิบดีอรมน กล่าวทิ้งท้าย