fbpx
News update

ศุลกากร “สกัดสินค้านำเข้าไร้ มอก. และผิดกฎหมาย” ต่อเนื่องตามนโยบายรัฐ

ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง โดยนายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ได้สั่งการให้กรมศุลกากร เข้มงวดกวดขันกับการนำเข้ามาเพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้ามาเพื่อจำหน่ายจากสำนักงานมาตฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.)

นายธีรัชย์ อัตนวานิช อธิบดีกรมศุลกากร จึงได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรเพิ่มมาตรการในการป้องกันและปราบปราม ซึ่งสินค้าที่นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) รวมถึงการสกัดกั้นสินค้าผิดกฎหมายทุกรูปแบบ เพื่อปกป้องสังคมและประชาชนให้ปลอดภัย

นายยุทธนาฯ กล่าวต่ออีกว่า กรมศุลกากร โดยสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ได้ปฏิบัติตามที่อธิบดี
กรมศุลกากรสั่งการ โดยเฝ้าระวังและควบคุมตรวจสอบการนำเข้าสินค้าคุณภาพต่ำ และไม่ได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) รวมถึงเพิ่มมาตรการสกัดกั้นสินค้าผิดกฎหมายที่หลีกเลี่ยงลักลอบนำเข้า ส่งออก ผ่านแดน และจำหน่ายในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างเคร่งครัด

ล่าสุด (วันที่ 8 กันยายน 2567) ได้มีการจำกุมสินค้าดังกล่าว ขณะขนย้ายจากหน้าโกดังในจังหวัดชลบุรีเพื่อนำไปจำหน่าย จำนวน 590 ชิ้น อาทิ หม้อปรุงอาหารอเนกประสงค์ พัดลม เครื่องพ่นละออง หมวกนิรภัย เป็นต้น

แม้ว่าการจับกุมในครั้งนี้จะพบจำนวนสินค้าไม่มาก แต่หากสินค้าเหล่านี้นำไปจำหน่ายในท้องตลาด อาจเป็นอันตรายต่อประชาชนในการบริโภคสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน

ซึ่งในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ได้ใช้หลักบริหารความเสี่ยงและเพิ่มอัตราการสุ่มตรวจตู้สินค้า เพื่อเร่งปราบปรามผู้กระทำความผิด โดยมีการจับกุมสินค้าได้ในหลายประเภท ดังนี้ “สินค้าที่ไม่ได้รับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) อาทิ หม้อปรุงอาหารไฟฟ้า อุปกรณ์ของใช้ไฟฟ้า โคมไฟโซล่าเซลล์ เป็นต้น จำนวนรวมกว่า 11,849 ชิ้น”

“สินค้าเป็นภัยอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ประเภทโทรศัพท์และซิมการ์ดต่างประเทศ จำนวน 2,503 ชิ้น”

“สินค้าต้องห้าม ประเภทบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาและอุปกรณ์บุหรี่ไฟฟ้า จำนวน 35,226 ชิ้น”

“สินค้าต้องห้ามประเภทของละเมิดเลียนหรือปลอมเครื่องหมายการค้า จำนวน 194,871 ชิ้น” รวมมูลค่าการจับกุมกว่า 7,500,000 บาท

สำหรับในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 – 8 กันยายน 2567) กรมศุลกากร ดำเนินการปราบปรามผู้กระทำความผิด ในกรณีฉ้ออากร การฉ้อฉลทางการค้า และความผิดฐานหลีกเลี่ยงลักลอบข้อห้ามข้อจำกัด ณ สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ทั้งสิ้น 457 คดี รวมมูลค่าการจับกุมกว่า 109,161,707.23 บาท