
Onlinenewstime.com : วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 20.20 น. นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี แถลงข่าวความคืบหน้าสถานการณ์แผ่นดินไหวบนบกขนาด 8.2 ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร และมีแผ่นดินไหวตามมา (After Shock) มีขนาด 2.8 – 7.1 จำนวน 27 ครั้ง (ข้อมูล ณ เวลา 18.48 น.) (ที่มา : USGS กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทรัพยากรธรณี)
สาเหตุเกิดจากรอยเลื่อนสะกาย รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนเป็นบริเวณกว้างและสร้างความเสียหายจำนวนมากทั้งในประเทศเมียนมาและในประเทศไทย

นายพิชิต สมบัติมาก อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กล่าวว่า จากสถานการณ์แผ่นดินไหวบนบกขนาดในครั้งนี้ จุดศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ที่บริเวณเมืองมันดาเลย์ ประเทศเมียนมา ห่างจากเมืองสะกายไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือค่อนไปทางเหนือเป็นระยะทาง 16 กิโลเมตร
โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ละติจูด 22.013 องศาเหนือ ลองจิจูด 95.922 องศาตะวันออก
สาเหตุ เกิดจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย ซึ่งเป็นรอยเลื่อนระนาบเหลื่อมขวา (Right-lateral strike slip fault) แนวตัวในแนวทิศเหนือ-ทิศใต้) ซึ่งมีอัตราการเคลื่อนตัวประมาณ 18-20 มม./ปี (ที่มา : กรมทรัพยากรธรณี)
ผลกระทบ มีรายงานการรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนเป็นบริเวณกว้างและมีรายงานความเสียหายจำนวนมากทั้งในประเทศเมียนมาและในประเทศไทย
ข้อปฏิบัติตน สำหรับประชาชนที่พักอาศัยบนอาคารสูงกว่า 10 ชั้น สามารถกลับเข้าที่พักได้แต่ขอให้สังเกตรอยร้าวในที่พัก หากพบรอยร้าวให้แจ้งวิศวกรเข้าตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย และขอให้เฝ้าระวังเรื่องอัคคีภัยจากท่อแก๊สในอาคาร ที่แผ่นดินไหวอาจส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และขอให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือ Aftershock ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ 24 ชั่วโมง โดยไม่ตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
ทั้งนี้ กรมทรัพยากรธรณีได้ติดตามสถานการณ์และเตรียมพร้อม ให้การสนับสนุนข้อมูลกับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง (ที่มา : USGS กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทรัพยากรธรณี)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี โทร. 02 621 9702-5
สรุปเหตุการณ์แผ่นดินไหว รอยเลื่อนสะกาย ประเทศเมียนมา
เหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลา 13.20 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เกิดแผ่นดินไหวบนบกขนาด 8.2 มาตราริกเตอร์ (ตามรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา) หรือขนาด 7.7 มาตราโมเมนต์ (ตามรายงานของ USGS) จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ เมืองมันดาเลย์ ประเทศเมียนมา ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 1,100 กิโลเมตร ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร
แผ่นดินไหวตาม (Aftershock)
หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว ได้เกิดแผ่นดินไหวตามหรืออาฟเตอร์ช็อกต่อเนื่องจำนวน 39 ครั้ง โดยมีขนาดตั้งแต่ 2.4 – 7.1 (ข้อมูล ณ เวลา 21.32 น.) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติที่เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหวขนาดใหญ่
เหตุใดจึงรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ถึงประเทศไทย
แผ่นดินไหวครั้งนี้มีขนาดรุนแรงมากรวมถึงเกิดจาก “รอยเลื่อนสะกาย” ซึ่งเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ ที่สามารถส่งแรงสั่นสะเทือนไปได้ไกล โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มี ชั้นดินอ่อน เช่น ที่ราบภาคกลางของไทย ทำให้คลื่นแผ่นดินไหวขยายตัวและรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ชัดเจน
นอกจากนี้ ความเร็วของคลื่นแผ่นดินไหวยังขึ้นอยู่กับ ตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน โดยเมื่อคลื่นแผ่นดินไหววิ่งผ่าน หินแข็ง คลื่นจะมีความเร็วสูง แต่เมื่อผ่าน ชั้นดินเหนียวกรุงเทพฯ (Bangkok clay) ความเร็วของคลื่นจะลดลง ส่งผลให้ ความสูงคลื่น (amplitude) เพิ่มขึ้น เพื่อรักษาพลังงานของคลื่นให้คงที่ จึงทำให้บริเวณกรุงเทพฯ และพื้นที่ที่มีชั้นดินอ่อนรับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้รุนแรงขึ้น
สามารถพยากรณ์แผ่นดินไหวล่วงหน้าได้หรือไม่?
แผ่นดินไหวเป็น ภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่สามารถคำนวณ ขนาด, สถานที่, และเวลา ของการเกิดแผ่นดินไหวได้อย่างแม่นยำ
ข้อปฏิบัติตน
สำหรับประชาชนที่พักอาศัยบนอาคารสูงกว่า 10 ชั้น สามารถกลับเข้าที่พักได้แต่ขอให้สังเกตรอยร้าวในที่พัก หากพบรอยร้าวให้แจ้งวิศวกรเข้าตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย และขอให้เฝ้าระวังเรื่องอัคคีภัยจากท่อแก๊สในอาคาร ที่แผ่นดินไหวอาจส่งผลกระทบทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และขอให้ทุกคนเตรียมพร้อมรับมือ Aftershock ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ 24 ชั่วโมง โดยไม่ตื่นตระหนกต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
ทั้งนี้ กรมทรัพยากรธรณีได้ติดตามสถานการณ์และเตรียมพร้อม ให้การสนับสนุนข้อมูลกับประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง (ที่มา : USGS กรมอุตุนิยมวิทยา และกรมทรัพยากรธรณี)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์ปฎิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี โทร. 02 621 9702-5