fbpx
News update

ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เผย “ภูเก็ต”เจอฝนหนักที่สุดในรอบ “1000 ปี” ภาวะโลกเดือดทำให้สถานการณ์ยิ่งแย่ลง

ดร.เสรี กล่าวผ่านเพจ Facebook ถึงเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นที่จังหวัดภูเก็ตว่า เมื่อเช้าวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เกิดฝนตกหนักที่ จ.ภูเก็ต วัดปริมาณฝนสะสม 6 ชม. 333 มม. ที่สถานอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ ทำให้เกิดน้ำไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน การจราจรทางบก และทางอากาศเป็นอัมพาต

นี่คือเหตุการณ์ที่เลวร้ายที่สุดในรอบกว่า 1,000 ปี (ข้อมูลกรมชลประทานที่สถานีท่าอากาศยานภูเก็ต) ผมได้โพสเตือนไปเรื่องภาคใต้ให้คอยเฝ้าระวังเหตุการณ์ฝนตกหนักในเวลาจำกัดแบบนี้ตังแต่ต้นปี และจะเกิดขึ้นอีกน่ะครับ เหตุการณ์ลักษณะนี้สะท้อนอะไรให้เราเห็นบ้าง

ประเด็นแรก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้สภาพอากาศแปรปรวนมากขึ้น โดยที่องค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีขีดจำกัดในการคาดการณ์ พฤติกรรมฝนที่ตกจากปริมาณฝนสูงสุดรายวันในอดีตรวมทั้งอนาคตจากแบบจำลอง CMIP6 โดยคณะทำงาน IPCC มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น (แต่ปริมาณฝนรายปีกลับมีแนวโน้มลดลง) และมีความแปรปรวนมากขึ้น และไม่สามารถบ่งชี้สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด (ดูรูปแนบ) ประกอบกับข้อมูลในอดีตปริมาณฝนสูงสุดควรเกิดช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม

นั่นหมายถึงว่าภูเก็ตจะต้องเผชิญกับเหตุการณ์น้ำไหลหลาก ท่วมฉับพลันจากปริมาณฝนตกหนักระยะสั้น (รายวัน) เมื่อไรก็ได้ ในขณะเดียวกันภัยแล้งก็จะเกิดขึ้นจากปริมาณฝนรายปีที่มีแนวโน้มลดลง

ประเด็นที่ 2 การพัฒนา และขยายตัวของเมือง ส่งผลทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่สีเขียว พื้นที่ชุ่มน้ำ และพื้นที่บริเวณริมคลองระบายน้ำ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพ และการใช้ประโยชน์อย่างมาก คลองระบายน้ำตื้นเขิน คับแคบจากการตกตะกอนจากการพัฒนาสิ่งก่อสร้างต่างๆ เราอาจจะมีความสุขกับการพัฒนาสิ่งก่อสร้างต่างๆเพียงชั่วครู่ เราอาจจะนึกถีงความเจริญในระยะเวลาสั้นๆ แต่เราลืมไปว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมต้องมาก่อน ต้องมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ระบบน้ำกิน น้ำใช้ สภาพอากาศเหมาะสม

หากเราละเลยสิ่งเหล่านี้ เราจะมีความสุขอย่างยั่งยืนได้อย่างไร ? โปรดติดตามองค์ความรู้ และนวัตกรรมในการลดผลกระทบ และการปรับตัวได้ที่ www.futuretaleslab.com

error: Content is protected !!