fbpx
News update

ภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมิถุนายน 2566

Onlinenewstime.com : “เศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงต่อเนื่อง”

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนมิถุนายน 2566 ว่า “เศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงต่อเนื่อง” โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 24.2 และ 3.2 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในเดือนมิถุนายน 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.7 จากระดับ 55.7 ในเดือนก่อน

ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 และสูงสุดในรอบ 40 เดือน สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น รวมถึงความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี รายได้เกษตรกรที่แท้จริง ในเดือนมิถุนายน 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -6.3

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชน
ในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในเดือนมิถุนายน 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -17.1

สำหรับการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 3.1 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -1.8 ขณะที่ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 9.4 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -2.8  

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยภาคบริการด้านการท่องเที่ยว ในเดือนมิถุนายน 2566 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยรวม จำนวน 2.24 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 191.5

และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 17.9 โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย จีน อินเดีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ตามลำดับ

เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวภายในประเทศที่มีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ในเดือนมิถุนายน 2566 จำนวน 19.2 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 22.1 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 14.7

สำหรับภาคการเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม ในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 0.02 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 3.3 จากการขยายตัวของผลผลิตในหมวดปศุสัตว์และประมง

ส่วนภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 94.1 จากระดับ 92.5 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ทั้งการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว

เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 0.23 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.32 ส่วนสัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 61.63 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

และผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ ในเดือนมิถุนายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 0.69 ของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ทั้งหมด สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับที่มั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 อยู่ในระดับสูงที่ 218.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ


“เศรษฐกิจไทยในเดือนมิถุนายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ต่อเนื่องทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อปรับตัวลดลงต่อเนื่อง”

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการบริโภคในหมวดสินค้าคงทน สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งและปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนมิถุนายน 2566

เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 24.2 และ 3.2 ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในเดือนมิถุนายน 2566 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.7 จากระดับ 55.7 ในเดือนก่อน ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 และสูงสุดในรอบ 40 เดือน

สะท้อนความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้น รวมถึงความกังวลจากอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี รายได้เกษตรกรที่แท้จริง ในเดือนมิถุนายน 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -6.3

2. เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยการลงทุนภาคเอกชน ในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในเดือนมิถุนายน 2566 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ -17.1

สำหรับการลงทุนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 3.1 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -1.8 ขณะที่ภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 9.4 แต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ -2.8 

3. การใช้จ่ายงบประมาณ การเบิกจ่ายงบประมาณ ในเดือนมิถุนายน 2566 เบิกจ่ายได้รวมจำนวน 344.1 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 335.3 พันล้านบาท แบ่งเป็นการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ 288.8 พันล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 46.5 พันล้านบาท

และเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน 8.7 พันล้านบาท ทำให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 มีการเบิกจ่ายรวม 2,565.5 พันล้านบาท โดยเป็นการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันจำนวน 2,434.1 พันล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 2,084.5 พันล้านบาท รายจ่ายลงทุน 349.5 พันล้านบาท และการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีก่อน131.3 พันล้านบาท

5. เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ปรับตัวดีขึ้น
จากช่วงเดียวกันปีก่อน
โดยภาคบริการด้านการท่องเที่ยว ในเดือนมิถุนายน 2566 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยรวม จำนวน 2.24 ล้านคน

คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 191.5 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 17.9

โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากมาเลเซีย จีน อินเดีย เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ตามลำดับ เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวภายในประเทศที่มีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ในเดือนมิถุนายน 2566 จำนวน 19.2 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 22.1 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล
ที่ร้อยละ 14.7

สำหรับภาคการเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม ในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 0.02 และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ร้อยละ 3.3 จากการขยายตัวของผลผลิต

ในหมวดปศุสัตว์และประมง ส่วนภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน 2566 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 94.1 จากระดับ 92.5 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของอุปสงค์ในประเทศ ทั้งการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 0.23 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 1.32 ส่วนสัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2566 อยู่ที่ร้อยละ 61.63 ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

และผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานรายใหม่ ในเดือนมิถุนายน 2566 อยู่ที่ร้อยละ 0.69 ของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ทั้งหมด สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับที่มั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2566 อยู่ในระดับสูงที่ 218.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ที่มา: 1/กระทรวงการคลัง 2/ธนาคารแห่งประเทศไทย 3/สำนักงานสถิติแห่งชาติ 4/กระทรวงพาณิชย์ 5/มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 6/สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร 7/Reuters
8/สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 9/สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 10/กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 11/ กรมจัดเก็บประกอบด้วยกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต
และกรมศุลกากร 12/กรมการขนส่งทางบก 13/บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด 14/คำนวณโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง