Onlinenewstime.com : GSK เปิดเผยผลสำรวจออนไลน์ล่าสุดในกลุ่มผู้ใหญ่ที่ได้จัดทำในหลายประเทศ รวม 3,516 คน ได้แก่ ฝรั่งเศส (1,000 คน) แคนาดา (1,000 คน) ออสเตรเลีย (671 คน) และบราซิล (845 คน) เกี่ยวกับโรค RSV และโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ชี้ให้เห็นถึงประเด็นสำคัญด้านการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัสอาร์เอสวี (RSV) ซึ่งเป็นไวรัสที่มักพบในกลุ่มคนอายุ 50 ปีขึ้นไป
ผลกระทบจากการติดเชื้อไวรัส RSV ต่อสุขภาพของประชาชน
ไวรัส RSV เป็นสาเหตุหลักของโรคทางเดินหายใจในผู้ใหญ่ โดยมีผู้ติดเชื้อจำนวนกว่า 5 ล้านรายแต่ละปี ซึ่งในประเทศที่มีรายได้สูง พบผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลประมาณ 470,000 ราย และเสียชีวิตในโรงพยาบาลประมาณ 33,000 ราย
อย่างไรก็ตาม แม้โรค RSV จะทำให้เกิดความสูญเสียทางด้านสุขภาพจากความเจ็บป่วยและเสียชีวิต แต่พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ตอบแบบสำรวจไม่เคยได้ยินเกี่ยวกับ RSV มาก่อนทั้งในกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการป่วยอย่างรุนแรงจากการติดเชื้อ RSV เนื่องจากมีโรคเรื้อรัง (n=1,771)
โดยส่วนใหญ่ไม่ทราบเกี่ยวกับไวรัสนี้ (56%) ซึ่งสะท้อนว่า ความไม่รู้นี้ทำให้ผู้ตอบแบบสอบถามต้องพลาดโอกาสในการเรียนรู้ เข้าใจและป้องกันตนเองจากโรค RSV1
ผลกระทบของไวรัสทางเดินหายใจ
การศึกษานี้ยังได้สำรวจผลกระทบของไวรัสทางเดินหายใจต่าง ๆ ในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า:
- ร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถาม (n=2,467) เคยมีการติดเชื้อทางเดินหายใจในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา (เช่น COVID-19 ไข้หวัดใหญ่ ไวรัส RSV หรืออื่น ๆ)
- ร้อยละ 35 ระบุว่าต้องใช้เวลามากกว่าสองสัปดาห์จึงจะหายเป็นปกติ (n=860)
- เกือบ 2 ใน 3 (65%) ระบุว่าการติดเชื้อส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวัน (n=1,606)
- ร้อยละ 60 ระบุว่าการติดเชื้อส่งผลต่อการนอนหลับ (n=1,468)
- ร้อยละ 34 ระบุว่าการติดเชื้อส่งผลต่อกิจกรรมทางสังคม (n=837)
- ร้อยละ 31 ระบุว่าการติดเชื้อส่งผลกระทบต่อการทำงาน (n=768)
นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมีความกังวลเกี่ยวกับการพลาดโอกาสที่สำคัญในชีวิตหากต้องติดเชื้อทางเดินหายใจเช่น ไวรัส RSV ไข้หวัดใหญ่ หรือโควิด โดยเรื่องที่กังวลมากที่สุด ได้แก่:
- การพลาดโอกาสพิเศษในครอบครัว (60%) (n=2,120)
- การพลาดโอกาสในช่วงวันหยุด (54%) (n=1,902)
- การพลาดเหตุการณ์สำคัญ เช่น วันเกิด (50%) (n=1,770)
พญ.บุษกร มหรรฆานุเคราะห์ ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวว่า “RSV เป็นสาเหตุสำคัญของโรคทางเดินหายใจในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ผลการสำรวจนี้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาระของโรค
ซึ่งหมายความว่า มีการประเมินผลกระทบของ RSV ต่อสุขภาพของประชาชนต่ำเกินไป และประชาชนกลุ่มเสี่ยงอาจพลาดโอกาสในการเรียนรู้ เข้าใจและป้องกันตนเองจากโรค RSV ผลสำรวจนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดสัปดาห์รณรงค์ไวรัส RSV ระดับโลกนี้มีความจำเป็นเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ RSV แก่ประชาชน”
สัปดาห์รณรงค์ไวรัส RSV ระดับโลกประจำปี 2567
จากผลสำรวจพบว่า มากกว่าร้อยละ 85 ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ RSV ดังนั้น GSK จึงร่วมมือกับ COPD Foundation, Global Allergy & Airways Patient Platform (GAAPP) และ International Federation on Ageing (IFA) จัดสัปดาห์รณรงค์ไวรัส RSV ระดับโลกเป็นครั้งแรก ในวันที่ 2 กันยายน 2567
สัปดาห์รณรงค์ไวรัส RSV จะมุ่งเน้นในการให้ความรู้กับกลุ่มผู้ใหญ่ที่มีความเสี่ยงสูง และสนับสนุนให้ปรึกษาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรค RSV และวิธีป้องกันโรค รวมทั้งการปฏิบัติด้านสุขอนามัยเพื่อระบบทางเดินหายใจที่ดี เช่น การใส่หน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อทางเดินหายใจ
นางมาเรีย คริสติช กรรมการผู้จัดการ บริษัท แกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด หรือ GSK กล่าวว่า “ประชากรโลกมีแนวโน้มที่จะมีอายุมากขึ้น ทำให้ผลกระทบของไวรัส RSV จะเพิ่มสูงขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ขณะที่ผู้ที่มีความเสี่ยงจำนวนมากไม่ทราบเกี่ยวกับไวรัส RSV
การให้ความรู้และกลยุทธ์ด้านสาธารณสุขที่ตรงจุดจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้กลุ่มเปราะบางนี้สามารถป้องกันตนเองจากไวรัส RSV ได้ เราจึงหวังว่า สัปดาห์รณรงค์เกี่ยวกับไวรัส RSV ระดับโลกครั้งแรกนี้ จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนปรึกษากับบุคลากรทางการแพทย์มากขึ้นเพื่อรับคำแนะนำในการลดความเสี่ยงจากไวรัส RSV”
Reference
[1] GSK Data on File: 2024N557710_00_RSV Awareness Survey Results
2. Savic M, Penders Y, Shi T, Branche A, Pirçon JY. Respiratory syncytial virus disease burden in adults aged 60 years and older in high-income countries: A systematic literature review and meta-analysis. Influenza Other Respir Viruses. 2023;17(1):e13031. doi:10.1111/irv.1303