Onlinenewstime.com: Johnnie Walker วิสกี้ที่มีตำนานย้อนหลังมานานกว่า 200 ปี มีแผนจะวางจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ใหม่เป็นขวดกระดาษ
Diageo บิ๊กเครื่องดื่ม ที่เป็นเจ้าของแบรนด์ Johnnie Walker กล่าวว่า มีแผนจะทดลองบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมใหม่ในปีหน้า วันนี้บริษัทฯกำลังมองหาวิธีการใช้พลาสติกให้น้อยลง และถึงแม้ที่ผ่านมาวิสกี้ของ Johnnie Walker ทั้งหมดบรรจุในขวดแก้ว แต่การผลิตขวดจากแก้วก็ต้องใช้พลังงาน และเกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเช่นกัน
ในการสร้างสรรค์ขวดแบบใหม่นี้ Diageo จะเปิดตัวร่วมกับ Pulpex ซึ่งเป็นรายใหญ่ที่ผลิตบรรจุภัณฑ์ให้กับ Unilever และ PepsiCo ด้วย Diageo กล่าวว่า ขวดวิสกี้กระดาษของ Johnnie Walker จะเริ่มทดลองตลาดในฤดูใบไม้ผลิปี 2021 ซึ่งขวดดังกล่าวใช้วัตถุดิบจากเยื่อไม้ และสามารถนำไปรีไซเคิลได้อย่างสมบูรณ์ แนวคิดก็คือลูกค้าจะสามารถทิ้งขวดลงในขยะรีไซเคิลได้ทันที
กระแสเลิกการใช้พลาสติก
บริษัท เครื่องดื่มจำนวนมาก ต่างมีทิศทางการพัฒนาขวดกระดาษ โดยเป็นความพยายามลดมลภาวะ และทำธุรกิจอย่างยั่งยืน
Carlsberg เบียร์ชื่อดังก็อยู่ในขั้นตอนการพัฒนาขวดเบียร์กระดาษเช่นกัน และยังมี Frugalpac โรงงานไวน์ในประเทศอังกฤษ ที่มีการผลิตไวน์ในขวดกระดาษ และยังระบุว่าทำจากกระดาษรีไซเคิลที่เป็นเกรดของอาหารอีกด้วย
ในขณะที่ยักษ์ใหญ่น้ำอัดลมโคคา – โคล่า กล่าวเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่า ยังไม่สามารถเลิกการใช้ขวดพลาสติกได้ เพราะผู้บริโภคยังคงต้องการบรรจุภัณฑ์นี้อยู่
Diageo ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ขวดกระดาษนวัตกรรมล่าสุดนี้ ผลิตจากเยื่อกระดาษ อัดลงในแม่พิมพ์ โดยขวดจะถูกเคลือบภายใน ด้วยสารที่ป้องกันการเกิดปฏิกิริยากับเครื่องดื่มที่บรรจุ
“กล่องกระดาษทั่วไปจำนวนมาก มีการเคลือบด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องดื่มรั่วซึมออกมา แต่สำหรับเรา เราจะไม่ใช้พลาสติกในกระบวนการนี้”
ธุรกิจต่างๆกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้น เพื่อลดปริมาณการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์เนื่องจากผู้บริโภค ให้ความสำคัญกับความเสียหายของระบบนิเวศมากขึ้นเป็นลำดับ
เฉพาะในยุโรปมีอัตราการใช้พลาสติกถึง 8.2 ล้านตันสำหรับการบรรจุอาหารและเครื่องดื่มในปี 2018 ตามข้อมูลของ ING
Diageo ซึ่งเป็นผู้ผลิต Guinness และ Smirnoff vodka กล่าวว่ามีการใช้พลาสติกน้อยกว่า 5% ในบรรจุภัณฑ์ทั้งแพคเกจ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผู้ผลิตขวดแก้วจะมุ่งมั่น ในการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากอย่างไรก็ตาม แต่ในกระบวนการผลิตก็ยังมีการปล่อยคาร์บอนออกมาที่ปริมาณสูงอยู่ดี เนื่องจากการผลิตขวดแก้วต้องใช้พลังงานอย่างมหาศาลในเตาเผา ที่หลายแห่งใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อหลอมวัตถุดิบ เช่น ทรายและหินปูน
Source : BBC News