fbpx
News update

“ก้าวสู่ทศวรรษที่ 3” อพท. ขานรับนโยบาย Soft Power พร้อมปักหมุดดันแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนในพื้นที่พิเศษผ่านมาตรฐานสู่เวทีโลก

นาวาอากาศเอกอธิคุณ คงมี ผู้อํานวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 20 ปี ที่ผ่านมา อพท. ได้ทําหน้าที่เป็นเจ้าภาพในการลงไปประสานงานและ ประสานการใช้อํานาจและบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ซึ่งเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม (Holistic Development) กล่าวคือ ทําทุกเรื่องเฉพาะในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อสร้างและกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น โดยการพัฒนาต้องยืนอยู่บนหลักการความยั่งยืนและสมดุลใน 3 มิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ในวันนี้ อพท. จึงได้จัดงาน DASTA FORUM 2024 ใน วาระพิเศษครบรอบ 20 ปี อพท. ภายใต้แนวคิด “20 ปี อพท. การเดินทางเพื่อสร้างความยั่งยืนแก่การท่องเที่ยว ของไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจบทบาทภารกิจของ อพท. และนําเสนอผลงานที่สําคัญตลอด ระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา และมุ่งสู่เป้าหมายในการเป็นหน่วยงานกลางในการบูรณาการการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อส่งมอบแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมาตรฐานให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

9 พื้นที่พิเศษ ต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยืนยืนในประเทศไทย

ภายในงาน อพท. ได้นําเสนอพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ได้ประกาศแล้ว 9 พื้นที่ ได้แก่

1) พื้นที่ พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหมู่เกาะช้างและพื้นที่เชื่อมโยง

2) พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมือง พัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง

3) พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนมรดกโลกสุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กําแพงเพชร

4) พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลย

5) พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน

6) พื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองโบราณอู่ทองและพื้นที่เชื่อมโยง

7) พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ํา ทะเลสาบสงขลา

8) พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเชียงราย

9) พื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน คุ้งบางกะเจ้า โดยได้นําอัตลักษณ์และความโดดเด่นของแต่ละพื้นที่มานําเสนอ

ความสําคัญของการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สืบเนื่องจาก พื้นที่แหล่งท่องเที่ยว มีทรัพยากรและมีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูงและหลากหลาย

การดําเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยวในรูปแบบ “พื้นที่พิเศษ” ถือเป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน เพราะเป็นการพัฒนาที่ใช้หลักการ เชิงวิชาการและเชิงเทคนิคมาวิเคราะห์สถานการณ์ ปัญหาและอุปสรรคด้านการท่องเที่ยว (Pain Point) ของพื้นที่ และแก้ปัญหาความซับซ้อนหรือไม่มีเจ้าภาพชัดเจนในการพัฒนา เพื่อนํามากําหนดเป้าหมายในการพัฒนาการท่องเที่ยวของแต่ละพื้นที่ร่วมกันและเกิดการบูรณาการการพัฒนาอย่างแท้จริง

ผลสําเร็จในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ตลอดระยะเวลา 20 ปี

อพท. ดําเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อสร้างและกระจายรายได้สู่ชุมชน ท้องถิ่นและให้เกิดความยั่งยืน โดยมีผลงานอย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษให้เกิด ความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล

โดยใช้แนวทางตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (Global Sustainable Tourism Criteria : GSTC) จนได้รับการประกาศให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก และได้รับรางวัล Green Destinations Top 100 Stories จํานวน 5 แห่ง ได้แก่ พื้นที่ตําบลในเวียง จังหวัดน่าน พื้นที่ตําบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย พื้นที่ตําบลเชียงคาน จังหวัดเลย พื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด และพื้นที่คลองท่อม จังหวัดกระบี่ และล่าสุด “เชียงคาน” ได้รับเหรียญเงินแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนโลก Green Destinations Award แห่งแรกในอาเซียน อีกด้วย

นอกจากนี้ อพท. ยังร่วมพัฒนาและยกเมืองสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network : UCCN) จํานวน 4 เมือง ได้แก่ สุโขทัย (เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรม และศิลปะพื้นบ้าน) เพชรบุรี (เมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร) เชียงราย (เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบ) และ สุพรรณบุรี (เมืองสร้างสรรค์ด้านดนตรี)

รวมทั้งยังได้ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาการท่องเที่ยวสู่การเป็นต้นแบบการ ท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จนได้รับรางวัล PATA Gold Awards 5 รางวัล ได้แก่ 1) การสนับสนุนและ ส่งเสริมการพัฒนาอาชีพเพื่อยกระดับรายได้ของกลุ่มสตรีในพื้นที่พิเศษภายใต้แบรนด์ “น่านเน้อเจ้า” 2) การสืบสาน รากเหง้าแห่งภูมิปัญญาสู่การพัฒนาเยาวชนที่ยั่งยืน “ DASTA NAN Youth Club” 3) การพัฒนาหลักสูตรการจัดการ การท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชนเชิงบูรณาการ (Certificate in CBT Integrated) 4) การสนับสนุนชุมชน บ้านโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ฟื้นคืนชีวิตให้มรดก (Heritage) ผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน และ 5) การ ฟื้นฟูชุมชนย่านเมืองเก่าริมแม่น้ำเพชรบุรีให้กลับมามีชีวิตด้วยการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงวัฒนธรรม

ก้าวต่อไปในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และการผลักดัน Soft Power ในพื้นที่พิเศษ

นับจากนี้ อพท. ยังคงเตรียมปักหมุดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยยึดหลักการพัฒนาตามแนวทาง การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตามเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) เชื่อมโยงพื้นที่พัฒนาที่สําคัญเพื่อ สร้างความสมดุลทางสังคมและสิ่งแวดล้อม

ซึ่งสอดคล้องตามจุดเน้นของแผนแม่บทภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติ โดยจะทําหน้าที่เป็นองค์กรกลางในการประสาน ส่งเสริม และสนับสนุนทุกภาคีการพัฒนาให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการพื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวในเชิงบูรณาการ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมแบบ Co-Creation & Co-Own คือ ร่วม คิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมรับผิดชอบ ร่วมรับผลประโยชน์ และร่วมเป็นเจ้าของ เพื่อให้ทุกภาคส่วนเกิดความ หวงแหนในทรัพยากรการท่องเที่ยวร่วมกัน

ทั้งนี้ อพท. จะดําเนินการพัฒนาพื้นที่พิเศษฯ ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่สําคัญ 4 ด้านเพื่อมุ่งสู่ “การพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสู่การเป็นต้นแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของประเทศไทยให้เป็นเมืองน่าเที่ยวและน่าอยู่” ได้แก่

1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและยกระดับมาตรฐานด้านการท่องเที่ยวให้ได้รับการยอมรับในระดับสากล

2) เพิ่มและกระจายรายได้จากการท่องเที่ยวไปสู่ชุมชนท้องถิ่น

3) พัฒนา Soft power สนับสนุน ฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ประเพณีท้องถิ่นและพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว

4) การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการท่องเที่ยว ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการผลักดันให้แหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษก้าวเข้าสู่การยอมรับในเวทีระดับโลกต่อไป