Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

“ฟิชชิ่งและแรนซัมแวร์” พุ่งสูงขึ้น ฟอร์ติเน็ต แนะวิธีเตรียมพร้อมเพื่อรับมือ

ดร. รัตติพงษ์ พุทธเจริญ และ ภัคธภา ฉัตรโกเมศ

โดยผลสำรวจได้ให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าเกี่ยวกับภาพรวมของ SecOps ในปัจจุบัน ที่เน้นถึงบทบาทของ AI และระบบอัตโนมัติ  โดยทำการศึกษาในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นแนวทางปฏิบัติด้านการรักษาความปลอดภัยที่ใช้กันแพร่หลาย ความถี่และผลกระทบ

รวมถึงระยะเวลาในการตรวจจับและดำเนินการตอบโต้ ความเหนื่อยล้าจากการแจ้งเตือนที่มากเกิน (Alert Fatigue) รวมถึงสถานภาพและผลกระทบของระบบอัตโนมัติในเวิร์กโฟลว์ของ SecOps ตลอดจนความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะด้าน SecOps ทั้งนี้ผลที่ได้จาก “การสำรวจในประเทศไทย” ยังรวมถึงประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจต่อไปนี้

ความท้าทายของการรักษาความปลอดภัยในปัจจุบัน กับความพร้อมของทีมงานและภัยคุกคามต่างๆ

ฟิชชิ่งและมัลแวร์คือวิธีหลักในการโจมตี ส่วนการโจมตีที่มีนัยสำคัญอื่นๆ ได้แก่การโจมตีด้วยการหลอกลวงโดยใช้จิตวิทยาทางสังคม (Social Engineering) ภัยคุกคามจากในองค์กร และการเจาะช่องโหว่ Zero-day

SecOps SOS กับการต่อสู้กับความเหนื่อยล้าจากการแจ้งเตือนที่มากเกิน และการควบคุมภัยคุกคาม

ระบบอัตโนมัติใน SecOps กับการใช้งานในปัจจุบันและความเป็นไปได้ในอนาคต

เหนือภัยคุกคาม คือการเตรียมความพร้อมให้ SecOps และจัดลำดับความสำคัญในอนาคต

แนวทางดังกล่าวมุ่งเน้นเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวม ให้ความสามารถในการมองเห็นและนำความรู้เท่าทันมาใช้ประโยชน์เพื่อรับมือกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แบบไดนามิก

ลำดับความสำคัญเรื่องเหล่านี้ สอดคล้องกับภาพรวมภัยคุกคามที่มีการพัฒนาตลอดเวลา และเน้นความสำคัญของการมุ่งเน้นเชิงกลยุทธ์เรื่องมาตรการดูแลความปลอดภัยไซเบอร์ที่ครอบคลุม

ไซมอน พิฟฟ์ รองประธานฝ่ายวิจัย ไอดีซี เอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “การรักษาความปลอดภัยระบบโครงสร้างพื้นฐานไอทีที่ทันสมัย ต้องอาศัยความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องในการเฝ้าระวัง มีการดำเนินการเชิงรุก และสามารถปรับตัวรับความท้าทายจากการทำงานแบบไฮบริด AI และการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากการควบคุมการทำงานแบบเดิม เป็นการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ที่เน้นเรื่องความเสี่ยง

นับว่าสอดคล้องกับภาพรวมด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง โดยผลการสำรวจชี้ว่า การผสานการทำงานร่วมกันระหว่างเครื่องมือที่ใช้ความสามารถของ AI และมีการประเมินคนทำงาน มีการเอาท์ซอร์สงานบางส่วน พร้อมนำระบบอัตโนมัติมาใช้เพิ่มขึ้น เหล่านี้เน้นให้เห็นถึงความเร่งด่วนที่องค์กรจำเป็นต้องนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในเชิงกลยุทธ์

ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวว่า ภาพรวมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์มีพัฒนาการไปไกลกว่าที่ผ่านมามาก 70.7% ขององค์กรให้ความสำคัญกับการตรวจจับภัยคุกคามได้เร็วขึ้นด้วยระบบอัตโนมัติ ที่ฟอร์ติเน็ต เราตระหนักดีถึงความจำเป็นในการตรวจจับและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการยกระดับมาตรการในการรักษาความปลอดภัยให้เหนือชั้น

ระบบอัตโนมัติจึงมีบทบาทสำคัญในการระบุหาและตอบสนองต่อภัยคุกคามได้อย่างทันท่วงที ช่วยลดช่องโหว่ในการละเมิดได้มาก ประสบการณ์ที่ลูกค้าเราเคยเจอเน้นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการลดเวลาการตรวจจับ จากโดยเฉลี่ย 21 วัน เหลือแค่เพียงหนึ่งชั่วโมง ซึ่งขับเคลื่อนด้วยระบบ AI และการวิเคราะห์ขั้นสูง

เรื่องนี้แสดงให้เห็นขั้นตอนที่เป็นพื้นฐานสำคัญ ในการเสริมความแข็งแกร่งให้กับการป้องกันเพื่อรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยเรื่องของเวลาในการตรวจจับและตอบสนองคือสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง จึงทำให้ระบบอัตโนมัติมีความสำคัญยิ่ง ในการรับมือกับความท้าทายของภัยคุกคามในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา

ดร.รัตติพงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวว่า ด้วยภาพรวมของภัยคุกคามที่พัฒนาไปไกลมาก องค์กรต่างๆ ต้องรับมือกับภัยไซเบอร์หลายรูปแบบที่มุ่งเป้าที่สินทรัพย์ดิจิทัล โดยโซลูชันด้านการดำเนินงานในการรักษาความปลอดภัยของฟอร์ติเน็ต สนับสนุนการทำงานด้วยระบบ AI ขั้นสูง

นอกจากจะตอบโจทย์ความจำเป็นเร่งด่วนเรื่องระบบอัตโนมัติแล้ว ยังให้กลยุทธ์ที่ครอบคลุมในการตรวจจับและตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความมุ่งมั่นของฟอร์ติเน็ตในการสร้างขุมพลังให้กับองค์กรในการควบคุมการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์แบบไดนามิก

สะท้อนอยู่ในโซลูชันนวัตกรรมของเรา ที่ใช้เวลาในการตรวจจับและจำกัดการคุกคามได้อย่างน่าประทับใจ ด้วยเวลาแค่หนึ่งชั่วโมงโดยเฉลี่ย (ในหลายกรณีน้อยกว่านั้น) และใช้เวลาในการตรวจสอบและแก้ไขแค่ 11 นาทีโดยเฉลี่ย ให้ ROI สูงถึง 579% ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ทีมงานได้ถึงสองเท่า และคาดว่าช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการละเมิดได้มากถึง 1.39 ล้านเหรียญสหรัฐ

Exit mobile version