fbpx
News update

ภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคเดือนสิงหาคม 2567

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2567 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนสิงหาคม 2567 การจับจ่ายใช้สอยเพื่อการอุปโภคบริโภคและเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังขยายตัวได้ในภาคตะวันออก และ กทม. และปริมณฑล อย่างไรก็ตาม ด้านการบริโภคสินค้าคงทนชะลอตัวในทุกภูมิภาค” โดยมีรายละเอียดดังนี้

มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค รายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ดี และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 13.4 และ 32.9 ต่อปี ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -25.8 และ -3.9 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 54.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.2 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -25.3 และ -15.1 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 2.9 และ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ

ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 109.1 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลในจังหวัดชุมพร เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 79.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.5 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 17.7 และ 24.1 ต่อปี ตามลำดับ

มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค รายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ดี อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 8.9 และ 10.7 ต่อปี ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -35.2 และ -22.9 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 59.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.1 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน

สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -24.5 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -39.3 ต่อปี

ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 769.2 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดปราจีนบุรี เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.3 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 และ 22.7 ต่อปี ตามลำดับ

มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค รายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ดี โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 13.8 และ 12.9 ต่อปี ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -25.2 และ -32.8 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.6 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -43.1 และ -25.0 ต่อปี ตามลำดับ

ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 454.3 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานทำผลิตภัณฑ์เคมีในจังหวัดเพชรบุรี เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.8 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 1.7 และ 7.8 ต่อปี ตามลำดับ

มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ดี โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 10.0 และ 0.8 ต่อปี ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -22.0 และ -15.3 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.9 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -32.1 และ -18.0 ต่อปี ตามลำดับ

ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 713.1 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ในจังหวัดปทุมธานี เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.8 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 5.7 และ 8.1 ต่อปี ตามลำดับ

มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 และ 2.1 ต่อปี ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -31.8 และ -10.5 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.6 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -16.3 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -32.7 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 30.3 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม

สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 92.3 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนที่หดตัวร้อยละ -0.4 ต่อปี อย่างไรก็ตาม รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี ตามลำดับ

มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.4 ต่อปี ขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -0.8 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -43.5 และ -22.7 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.6 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -37.7 และ -17.8 ต่อปี ตามลำดับ

ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ร้อยละ 10.3 ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.8 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 2.7 และ 6.9 ต่อปี ตามลำดับ

มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ร้อยละ 17.8 ต่อปี ขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัวที่ร้อยละ -1.4 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -26.7 และ -18.1 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 59.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.4 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน

สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -17.9 ต่อปี แต่ขยายตัวที่ร้อยละ 6.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ร้อยละ -37.4 ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 71.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 73.6 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 16.7 และ 12.9 ต่อปี ตามลำดับ

นอกจากนี้ ผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคของไทย ประจำเดือนสิงหาคม 2567 ซึ่งสำรวจจากสำนักงานคลังจังหวัดและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพบว่า ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนสิงหาคม 2567 สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภูมิภาคชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค จากการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม และการบริการ

อย่างไรก็ตาม กำลังซื้อสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคประชาชนปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค จากรายได้และการจ้างงานของ ภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้น เป็นสำคัญ สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคใน 6 เดือนข้างหน้าขยายตัวที่ยังขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะในภาคบริการของภาคเหนือและภาคใต้ ทั้งนี้ ยังต้องติดตามประเด็นความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และความผันผวนของเศรษฐกิจโลก อย่างใกล้ชิด