Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

ภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคเดือนมิถุนายน 2566

Onlinenewstime.com : เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนมิถุนายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในทุกภูมิภาค อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดีใน กทม. และปริมณฑล และภาคเหนือ

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนมิถุนายน 2566 ว่า “เศรษฐกิจภูมิภาคเดือนมิถุนายน 2566 ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในทุกภูมิภาค อีกทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดีใน กทม. และปริมณฑล และภาคเหนือ” โดยมีรายละเอียดดังนี้

เศรษฐกิจ กทม. และปริมณฑล ในเดือนมิถุนายน 2566

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น

โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ต่อปี จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 11.8 และ 11.6 ต่อปี ตามลำดับ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 56.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.2 อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรชะลอตัวร้อยละ -3.4 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจาก จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 11.5 ต่อปี อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.6

สำหรับเครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนและรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 56.7 และ 121.7 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคเหนือในเดือนมิถุนายน 2566

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวได้ดี และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น

โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 15.9 และ 9.9 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -0.3 และ -1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.9 และรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 8.8 ต่อปี ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -20.3 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ส่วนจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่และเงินทุนของโรงงาน ที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 96.3 เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 93.0

เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจาก จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 11.6 และ 39.4 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันตกในเดือนมิถุนายน 2566

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน
ที่ขยายตัวได้ และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น
โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 5.9 ต่อปี

ส่วนจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 0.2 และ 12.4 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -0.9 และ -5.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 54.2 ขณะที่ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว

เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อปี และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 3,773.4 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 517.2 ต่อปี ซึ่งเป็นการลงทุนในโรงงานคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นอันตรายในจังหวัดเพชรบุรีเป็นสำคัญ

ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจาก ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.6
ส่วนเครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 33.6
และ 30.0 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกในเดือนมิถุนายน 2566

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน ที่ขยายตัวได้ และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่องอีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวขยายตัวร้อยละ 5.3 และ 6.4 ต่อปี ตามลำดับ

ส่วนจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่แม้ว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.6 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -6.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 59.4 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.5

เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -0.5 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 86.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 87.1 ส่วนเครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 70.9 และ 133.4 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคใต้ในเดือนมิถุนายน 2566

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่

จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 3.8 3.1 และ 0.3 ต่อปีแต่ชะลอตัวร้อยละ -7.6 -2.1 และ -9.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารายได้เกษตรกรชะลอตัวร้อยละ -31.4 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล เช่นเดียวกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 53.2 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 52.2

เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 87.7 ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 88.7 ด้านเครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 96.6 และ 82.3 ต่อปี ตามลำดับ

เศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือนมิถุนายน 2566

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดี อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจาก

รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 10.0 ต่อปี การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ส่วนจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัวร้อยละ -6.0 ต่อปี แต่ขยายตัวร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ชะลอตัว ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 59.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.8

เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการชะลอตัว

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 97.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.0 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 25.3 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -9.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 32.5 ต่อปี

เศรษฐกิจภาคกลางในเดือนมิถุนายน 2566

ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ อีกทั้งความเชื่อมั่นผู้บริโภคและความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี แต่ชะลอตัวร้อยละ -4.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล

ส่วนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่และจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 54.2 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจาก จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี

เช่นเดียวกับเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการมูลค่า 1,640.6 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 321.3 ต่อปี เป็นการลงทุนในโรงงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนสำหรับเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ชะลอตัว

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 98.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 95.6 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้
จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวร้อยละ 12.9 และ 24.2 ต่อปี ตามลำดับ

โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้

ภาวะเศรษฐกิจการคลังภูมิภาคประจำเดือนมิถุนายน 2566

Exit mobile version