ทีมสัตวแพทย์ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลง”เต่าออมสิน”ตายแล้ว วันนี้ (21 มี.ค.2560) เมื่อเวลา 10.10 น.
นับตั้งแต่ที่ ทีมสัตวแพทย์ ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้าไปช่วยเหลือ เต่า “ออมสิน”ซึ่งเป็นเต่าตนุ เพศเมียอายุ 25 ปี และถูกทิ้งเอาไว้ในบ่อเลี้ยงร้าง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และหลังจากที่พบว่าในร่างกายของเต่าออมสินมีเหรียญจำนวนมากกว่า 5 กิโลกรัม จำนวน 915 เหรียญนั้น ทีมสัตวแพทย์ จึงได้ช่วยเหลือเต่าออมสิน โดยทำการผ่าตัดเอาเหรียญออกจากช่องท้องพบว่า
จากนั้นในวันที่ 19 มี.ค.ที่ผ่านมาพบอาการแทรกซ้อน อวัยวะภายในเกิดความผิดปกติจากลำไส้บิดตัวรัดกันเอง
ซึ่งทีมแพทย์ได้ทำการผ่าตัดอีกครั้ง และหลังการผ่าตัดอาการของเต่าออมสินดี มีแนวโน้มที่ดีขึ้นตามลำดับ
แต่ปรากฏว่าในช่วง 1-2 วันที่ผ่านมา อาการของเต่าออมสินเริ่มทรุดลงอีก จากอาการที่มีแก๊สในช่องท้องมากขึ้นส่งผลทำให้ปวดท้อง ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่เกิดจากการเสียโปรตีน ตลอดจนการทำงานของกล้ามเนื้อลำไส้ในช่องท้องที่การฟื้นตัว และมีพื้นที่มากขึ้น
อีกทั้ง ผลข้างเคียงที่เกิดจากสภาพร่างกายที่อ่อนแอ รวมทั้งยังพบว่า ในร่างกายของเต่าออมสินนั้น มีสารนิกเกิลที่เป็นสารเคลือบเหรียญในกระแสเลือดมากกว่าปกติถึง 200 เท่า ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันต่ำกระทบระบบกล้ามเนื้อและหัวใจ ทำให้เต่าออมสินมีอัตรารอดไม่เกินร้อยละ 50 อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือเต่าออมสิน ซึ่งอยู่ในมือทีมสัตวแพทย์ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ตั้งแต่อยู่ในห้องไอซียูและหลังการผ่าตัดเป็นเวลา 48 ชั่วโมง หรือ 2 วัน
รศ.สพ.ญ.นันทริกา ชันซื่อ ผอ.ศูนย์วิจัยโรคสัตว์น้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขอให้กรณีเต่าออมสิน เป็นบทเรียนสำคัญของสังคมโลก ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการโยนเหรียญ หรือสิ่งแปลกปลอมให้สัตว์กิน เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อชีวิตของสัตว์ และคงไม่มีใครอยากให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นอีก