Onlinenewstime.com : บสย. ชวน SMEs ลงทะเบียนตรวจสุขภาพทางการเงิน แก้ไขหนี้-ปรับโครงสร้างหนี้ ผ่าน Line TCG First (@doctor.tcg) หลังพบว่า SMEs ตื่นตัว ขอปรึกษาเรื่องการแก้หนี้จนแน่นบูธ บสย. ในงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร
นายสิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า งานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน ครั้งที่ 1 ณ อิมแพค ฮอลล์ 5 เมืองทองธานี วานนี้ (4 พ.ย.) ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการ SMEs ที่ลงทะเบียนผ่าน Line TCG First (@doctor.tcg) ขอรับบริการตรวจสุขภาพทางการเงิน และขอคำปรึกษาแก้ไขหนี้ -ปรับโครงสร้างหนี้ ภายในบูธ บสย. ตลอดทั้งวัน
โดยมียอดผู้เข้าขอรับคำปรึกษา เมื่อวันที่ 4 พ.ย. จำนวน 121 ราย แบ่งเป็นผู้ที่สอบถามข้อมูลบริการต่าง ๆ ของ บสย. และการค้ำประกันสินเชื่อ จำนวน 54 ราย และ ลูกค้าขอรับคำปรึกษา จำนวน 67 ราย
โดยหัวข้อที่ขอที่ได้รับความสนใจขอปรึกษามากที่สุด ได้แก่
- ขอสินเชื่อธุรกิจ จำนวน 27 ราย 2. แก้ไขหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 22 ราย 3. การพัฒนาธุรกิจ จำนวน 9 ราย 4. ขอสินเชื่อธุรกิจ แก้ไขหนี้ และปรับโครงสร้างหนี้ จำนวน 6 ราย และ 5. การพัฒนาธุรกิจ จำนวน 3 ราย
สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ที่ต้องการเช็คสุขภาพทางการเงิน และขอรับคำปรึกษา แก้หนี้ โดยทีมผู้เชี่ยวชาญของ บสย. โดย บสย. F.A. Center สามารถลงทะเบียน พร้อมรับ 2 บริการดี ๆ 1. บริการตรวจสุขภาพทางการเงิน และ 2. ลงทะเบียนเพื่อรับบริการแก้หนี้ ฟรี ตรวจสุขภาพทางการเงิน เชื่อมโยงการให้บริการที่สะดวก รวดเร็ว ง่าย ๆ
โดย Add Line TCG First กดค้นหา @doctor.tcg หนี้ลด หมดแน่นอน เมื่อมี Line TCG First โดย บสย. ยังมีมาตรการพิเศษช่วยเหลือลูกหนี้ค้ำประกันสินเชื่อ ผ่อนปรนลูกหนี้ 3 ระดับ ยืดหยุ่นตามความสามารถในการชำระหนี้ 1. ตัดเงินต้น หนี้ลด หมดเร็ว 2. ดอกเบี้ย 0% 3. ผ่อนนาน 7 ปี ยืดระยะเวลาลูกหนี้ให้ไปต่อได้
พบกับบูธ บสย. ในงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้สัญจร ณ อิมแพค ฮอลล์ 5 เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 4-6 พฤศจิกายนนี้
โดย ในวันอาทิตย์ ที่ 6 พฤศจิกายน เวลา 14.00 น. บสย. เชิญผู้ประกอบการ SMEs ร่วมฟังเสวนาหัวข้อ “เคล็ดลับ ปรับโครงสร้างหนี้” โดย คุณสุรชัย กำพลานนท์วัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs บสย. F.A. Center รวมหมัดเด็ด ที่ SMEs ต้องไม่พลาด เคล็ดลับ “การจัดการหนี้ SMEs” และ “ปรับโครงสร้างหนี้” ปรับอย่างไรให้สบายตัว