Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

Soft Power เพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในเวทีโลก

คุณฐาปณี เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก “Soft Power” คือคำตอบสำคัญในเวทีการแข่งขันระดับประเทศ

มุมมองของบีเจซีบิ๊กซีกรุ๊ป มุ่งเน้น 2 เสาหลักคือ People กับ Value  ภายใต้แนวคิด DEI (Diversity, Equity, Inclusion)  ที่ส่งเสริมความหลากหลาย ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร รวมถึงกลุ่ม LGBTQ  ให้เป็นพื้นที่น่าอยู่และเปิดกว้างให้กับทุกโอกาส และการสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่เอื้อต่อการพัฒนาทั้งตัวบุคคลและองค์กร

“การสร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยโอกาส และให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม” ภายใต้ DEI มีการปรับสวัสดิการสำหรับพนักงานทุกกลุ่ม การใช้เทคโนโลยีและ AI เพื่อพัฒนาความเท่าเทียม ที่ไม่ใช่เพียงแค่สัญลักษณ์ แต่เป็นการดำเนินการจริงในทุกมิติ

“ซึ่งแนวคิดนี้ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กรอย่างชัดเจน โดยหัวใจสำคัญคือการสร้าง Knowledge Sharing และเป็น Soft Power ที่แท้จริง เช่น การพัฒนาโครงการด้านการศึกษากับยูนิเซฟและโครงการพัฒนาครูไทยทั่วประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการลงทุนในทุนมนุษย์อย่างต่อเนื่อง” 

คุณศุภจี สุธรรมพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท ดุสิตธานี จํากัด (มหาชน) เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของการศึกษาในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย “ถ้าจะพูดถึง Soft Power จริงๆ คือการมีอิทธิพลโดยไม่ต้องใช้กำลังให้คนรักและยอมรับ”

และให้ความเห็นว่าเสาหลักสำคัญของ Soft Power ที่เชื่อมโยงทั้งเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือการศึกษา สถิติแสดงให้เห็นว่าประชากรไทยที่ได้รับการศึกษาในระดับสูงมีเพียง 16% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 28%

คุณศุภจียังย้ำว่าประเทศเกาหลีใต้ที่มี Soft Power ที่เข้มแข็งนั้นเกิดจากระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ ดังนั้น การเข้าถึงการศึกษาในประเทศไทยยังคงเป็นความท้าทายที่ต้องแก้ไข เพื่อนำไปสู่ความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจและการพัฒนาทุนมนุษย์ 

คุณอรนุช เลิศสุวรรณกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เทคซอส มีเดีย มองว่าจุดแข็งสำคัญของประเทศไทยในอนาคตคือการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล “Soft Power ของเราต้องเน้นที่การสร้างผู้สร้าง ไม่ใช่แค่ผู้ใช้เทคโนโลยี”

และเชื่อว่าเทคโนโลยีคือ S-Curve ใหม่ที่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการเข้าถึงการศึกษาและสุขภาพได้ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปีในวงการเทคโนโลยี คุณอรนุช ได้เห็นการดิสรัปฯ หลายครั้ง ซึ่งมองว่าประเทศไทยมีจุดแข็งในด้านอาหาร เกษตรกรรม และสุขภาพ ซึ่งสามารถนำเทคโนโลยีเข้ามาเพิ่มมูลค่าและสร้างความแตกต่างให้กับประเทศในตลาดโลก

Exit mobile version