Site icon Onlinenewstime.com – News and Knowledge to sustainability

สถิติต่างชาติลงทุนในไทย 5 เดือนแรกของปี 67 รวม 71,702 ล้านบาท

มีการจ้างแรงงานไทยมากถึง 1,212 คน ญี่ปุ่นยังคงครองแชมป์ลงทุนเป็นอันดับที่ 1 รองลงมาเป็นฮ่องกง และ จีน ตามลำดับ ส่วนการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC มีจำนวน 99 ราย เพิ่มขึ้นถึง 106% จากปีที่แล้ว มีมูลค่าการลงทุนรวม 18,224 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 93% จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566

นางอรมน  ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า 5 เดือนแรกของปีนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2567 มีการอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทย ภายใต้พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 จำนวน 317 ราย

โดยเป็นการลงทุนผ่านช่องทางการขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จำนวน 85 ราย และการขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (ผ่านช่องทางการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน

หรือได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และการใช้สิทธิตามสนธิสัญญาหรือความตกลงระหว่างประเทศ) จำนวน 232 ราย   เม็ดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 71,702 ล้านบาท มีการจ้างงานคนไทย 1,212 คน โดยชาวต่างชาติที่เข้ามาลงทุน 5 อันดับแรก ได้แก่

1. ญี่ปุ่น จำนวน  84 ราย คิดเป็นร้อยละ 26 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย เงินลงทุนรวม 40,214 ล้านบาท
โดยลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับ  

2. สิงคโปร์ จำนวน 51 ราย คิดเป็นร้อยละ 16 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย มีเงินลงทุน 5,189 ล้านบาท ลงทุนในธุรกิจ เช่น 

3. สหรัฐอเมริกา จำนวน 50 ราย คิดเป็นร้อยละ 16 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ มีเงินลงทุน 1,196 ล้านบาท
ลงทุนในธุรกิจ เช่น  

4. จีน จำนวน 38 ราย คิดเป็นร้อยละ 12 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติ มีเงินลงทุน 5,485 ล้านบาท ลงทุนในธุรกิจประเภท

5. ฮ่องกง จำนวน 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 ของจำนวนธุรกิจต่างชาติในไทย มีเงินลงทุน 12,048 ล้านบาท ลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับ

อธิบดี กล่าวเพิ่มเติมว่า การเข้ามาประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติในประเทศไทยช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะ    ในอุตสาหกรรมที่กล่าวมาข้างต้น มีส่วนช่วยในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและทักษะการทำงานขั้นสูงให้กับแรงงานไทย

ซึ่งเป็นองค์ความรู้เฉพาะด้านจากประเทศที่เข้ามาลงทุน ไม่ว่าจะเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ระบบบริหารจัดการทรัพยากรทางการเงิน องค์ความรู้เกี่ยวกับการทำการตลาดผ่านสื่อดิจิทัลรูปแบบใหม่ องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการ Hybrid Cloud และ Multi Cloud  รวมไปถึง องค์ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีควบคุมอุณหภูมิของเครื่องทำความเย็นที่ใช้ติดตั้งกับรถขนส่งขนาดเล็ก เป็นต้น

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน พบว่า การอนุญาตให้คนต่างชาติเข้ามาลงทุนประกอบธุรกิจในประเทศไทยในปี 2567 เพิ่มขึ้นจากปี 2566 จำนวน 43 ราย คิดเป็นร้อยละ 16 (เดือน ม.ค. – พ.ค. 67 อนุญาต 317 ราย/ เดือน ม.ค. – พ.ค. 66 อนุญาต 274 ราย)

และมีมูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 26,310 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58 (เดือน ม.ค. – พ.ค. 67 ลงทุน 71,702 ล้านบาท/ เดือน ม.ค. – พ.ค. 66 ลงทุน 45,392 ล้านบาท)

ในขณะที่มีการจ้างงานคนไทยลดลง 1,787 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 (เดือน ม.ค. – พ.ค. 67 จ้างงาน 1,212 คน/
เดือน ม.ค. – พ.ค. 66 จ้างงาน 2,999 คน) โดยจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาสูงสุดยังคงเป็นนักลงทุนญี่ปุ่นเช่นเดียวกับปีก่อน

สำหรับการลงทุนในพื้นที่ EEC ของนักลงทุนชาวต่างชาติในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2567 มีชาวต่างชาติสนใจลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 99 ราย คิดเป็น 31% ของจำนวนนักลงทุนต่างชาติในไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน จำนวน 51 ราย หรือเพิ่มขึ้น 106% (เดือนเดือน ม.ค. – พ.ค. 67 ลงทุน 99 ราย/ เดือน ม.ค. – พ.ค. 66 ลงทุน 48 ราย)

และมีมูลค่าการลงทุนในพื้นที่ EEC จำนวน 18,224 ล้านบาท คิดเป็น 25% ของเงินลงทุนทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 8,782 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 93% (เดือนเดือน ม.ค. – พ.ค. 67 เงินลงทุน 18,224 ล้านบาท/ เดือน

เดือน ม.ค. – พ.ค. 66 เงินลงทุน 9,442 ล้านบาท  เป็นนักลงทุนจาก *ญี่ปุ่น 31 ราย ลงทุน 3,523 ล้านบาท *จีน 19 ราย ลงทุน 1,803 ล้านบาท *ฮ่องกง 11 ราย ลงทุน 5,005 ล้านบาท และประเทศอื่นๆ 38 ราย ลงทุน 7,893 ล้านบาท โดยธุรกิจที่ลงทุนเช่น

  1. ธุรกิจบริการทางวิศวกรรม โดยเป็นการออกแบบทางวิศวกรรมสำหรับระบบต่างๆ ภายในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบทำน้ำเย็น และระบบปรับอากาศ เป็นต้น
  2. ธุรกิจบริการออกแบบชิ้นส่วนยานยนต์ประเภทเข็มขัดนิรภัย ถุงลมนิรภัย
  3. ธุรกิจบริการให้ใช้แอปพลิเคชันสำหรับเชื่อมต่อกับระบบบริการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตและเดบิตของ      ผู้ให้บริการทางการเงิน
  4.  ธุรกิจบริการรับจ้างผลิตสินค้า (ชุดเกียร์สำหรับยานพาหนะและชิ้นส่วนชุดเกียร์, ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ชิ้นส่วนโลหะ เป็นต้น)
  5. ธุรกิจบริการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อจำหน่าย และ/หรือให้บริการ เช่น ระบบควบคุมการผลิตในโรงงาน และระบบจัดการคลังสินค้า เป็นต้น
Exit mobile version