fbpx
News update

บทสรุปงานมหกรรมฟินเทคของเอเชีย Money20/20 Asia ครั้งแรกที่กรุงเทพฯ

นับว่าทั้ง 3 วันนั้น มีสิ่งที่เกิดขึ้นมากมายในอุตสาหกรรมฟินเทค ไม่ว่าจะการพูดคุยกันระหว่างบริษัทต่างๆ มากมายในวงการฟินเทค การสร้างเครือข่ายของบริษัทชั้นนำและสตาร์ทอัพต่างๆ ซึ่งเรียกได้ว่าตลอดงานตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำได้มีการสร้างการผลักดันการเปลี่ยนแปลงของวงการฟินเทคอย่างเป็นรูปธรรม

มหกรรมงานรวมฟินเทคที่จัดขึ้นครั้งแรกของเอเชีย ณ กรุงเทพฯ ครั้งนี้มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมงาน 3,000 คน และมีสื่อมวลชนกว่า 200 ท่าน ซึ่งเดินทางมาจากกว่า 85 ประเทศ โดยกว่า 45 ประเทศนั้นอยู่เอเชีย-แปซิฟิก

ยิ่งไปกว่านั้นงานครั้งนี้มีวิทยากรเบอร์ต้นๆ ระดับวงการของเอเชียตบเท้าเข้าร่วมอย่างคับคั่งกว่า 250 ท่าน และแต่ละท่านได้แสดงวิสัยทัศน์บนเวทีทั้ง 4 เวทีสุดยิ่งใหญ่ของงาน ซึ่งร้อยละ 45 คือผู้บริหารที่เป็นผู้หญิง และมากกว่าร้อยละ 60 คือผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ ฟินเทคชั้นนำของอุตสาหกรรม

“งาน Money20/20 Asia ครั้งนี้คือมหกรรมงานฟินเทคที่ผนึกกำลังทัพผู้นำด้านฟินเทคของวงการเพื่อมาประชุมกันสู่การสร้างโอกาสทางธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ โดยมีแบรนด์ผู้ให้บริการด้านธนาคารชั้นนำ บริษัทผู้ให้บริการด้านการชำระเงิน นักลงทุนและ กลุ่มบริษัทร่วมทุน สตาร์ทอัพ หน่วยงานกำกับดูแลการทำธุรกรรมและการเงิน และมีเดียแพลตฟอร์มมากมายที่ตบเท้าเข้าร่วมงานครั้งนี้

ซึ่งสร้างความน่าตื่นเต้นอย่างมากพร้อมยังแสดงถึงการได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยมเนื่องจากเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ด้านการจัดงานด้านฟินเทคที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาที่ประเทศไทยของ Money20/20

การพูดคุย ดีลทางธุรกิจและการประกาศด้านความร่วมมือของบริษัทฯ ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ณ งานครั้งนี้ สะท้อนถึงความยิ่งใหญ่และความสำคัญของเอเชีย ที่เป็นภูมิภาคแถวหน้าที่ขับเคลื่อนการเติบโตระดับโลกด้านฟินเทคอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นอย่างมาก ที่จะได้เห็นศักยภาพที่โดดเด่นและสิ่งต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในปีหน้า”

ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI, การชำระเงินระหว่างประเทศ, ธนาคารแบบเปิด, สินทรัพย์ดิจิทัล, โครงการสกุลเงินดิจิทัล (CBDC) และการเข้าถึงบริการทางการเงิน ถือว่าเป็นประเด็นร้อนบนเวทีทั้งสี่ของงาน Money20/20 Asia 

นอกจากนี้ธนาคารกสิกรไทย หนึ่งในธนาคารพาณิชย์ของประเทศไทย ยังได้มีการประกาศความร่วมมือกับ JP Morgan ในงานแถลงข่าวของ Money20/20 Asia ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา Project Carina ใช้ประโยชน์จากบล็อกเชนเพื่อโอนย้ายอำนาจในการตัดสินใจและการควบคุมจากศูนย์กลางไปยังเครือข่ายแบบกระจายและเทคโนโลยี Web3 เพื่อยกระดับการชำระเงินข้ามพรมแดน ลดระยะเวลาการทำธุรกรรมจากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาทีเท่านั้น

ทั้งนี้หน่วยงานกำกับดูแลการทำธุรกรรมและการเงินของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ยังมีบทบาทสำคัญในการอภิปรายบนเวทีของเราอีกด้วย จาก 20 การอภิปรายของการประชุม ณ งานจากทั้งหมด 189 การอภิปรายของเรามีหน่วยงานกำกับดูแลการทำธุรกรรมและการเงินในเอเชียรวมไปถึงฟินเทคและสถาบันการเงินต่างๆ เข้าร่วม และได้กล่าวถึงเทรนด์ล่าสุดและผลกระทบของเทคโนโลยีที่จะมีต่อกฎระเบียบด้านการทำธุรกรรมและการเงินอีกด้วย

ในการอภิปรายที่นำโดย Dr. Wong Huei Ching จาก the Securities Commission Malaysia หรือ SC Malaysia ได้มีการเล่าถึงการเส้นทางของฟินเทคที่ประเทศมาเลเซียในตลาดทุนว่ามีความเป็นมาอย่างไร โดยมีการมุ่งเน้นไปที่การส่งเสริมด้านนวัตกรรมและการให้ความสำคัญกับการคุ้มครองแก่นักลงทุน

“ประเทศมาเลเซียนั้นเปิดกว้างอย่างมากสำหรับโอกาสทางธุรกิจ หลักการทั้ง 14 ประการของเราเป็นจุดเด่นของแนวทางด้านนวัตกรรมที่ประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เราได้นำหลักการด้านความร่วมมือมาปรับใช้ โดยตระหนักถึงการทำงานร่วมกันอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของหลากหลายภาคส่วน อาทิ ประชาชน ภาครัฐ และบริษัทต่าง ๆ ในอุตสาหกรรม

ความมุ่งมั่นของเรายิ่งใหญ่ไปไกลกว่าแค่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่เป็นการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อบรรลุพันธกิจอันยิ่งใหญ่ของเราอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างง่ายดายหรือแม้กระทั่งยกระดับสังคมของเราให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นกว่าเดิม” Dr. Wong กล่าว

ความปลอดภัย การระบุตัวตนบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และการป้องกันการฉ้อโกงในยุคของ AI นั้นถือว่าเป็นอีกหนึ่งในวาระสำคัญของงานเลยก็ว่าได้ ซึ่งทำให้ได้มีการพูดคุยกันเกี่ยวกับหัวข้อเหล่านี้ในหลากหลายช่วงการอภิปรายตลอดทั้งงาน

คุณ Justin Lie, Founder และ CEO ของ SHIELD ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความน่าเชื่อถือและความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วนในการแก้ปัญหาการฉ้อโกงในยุคดิจิทัลในการอภิปรายภายใต้หัวข้อ “Trust Tech, Empower Lives: Redefining Financial Inclusion in the AI Age.” ที่ SHIELD ได้จัดขึ้นที่งาน Trust Summit ณ Money20/20 Asia เพื่อร่วมแบ่งปันองค์ความรู้และเป้าหมายอันก้าวหน้าสู่การป้องกันกลโกงโลกออนไลน์ต่างๆ ที่มีอย่างมากมาย ณ ปัจจุบัน

“แม้ว่าเราจะมีส่วนร่วมในการต่อสู้กับกลโกงบนโลกออนไลน์มานานกว่า 15 ปี ในแต่ละวันเราเผยให้เห็นถึงศักยภาพของความไว้วางใจที่ถือว่าคือองค์ประกอบสำคัญ เราใช้เวลาอย่างยาวนานเพื่อตั้งมั่นว่าพันธกิจของเรานั้นสามารถไปไกลกว่าแค่การป้องกันการฉ้อโกงเท่านั้น

สำหรับองค์กรที่ทำธุรกิจระหว่างคู่ค้าธุรกิจด้วยกันเอง เราทำหน้าที่เป็นผู้ผลักดันในการรวมผู้นำอุตสาหกรรมให้เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันภายใต้วัตถุประสงค์ที่จะร่วมกันต่อสู้กับการฉ้อโกงต่างๆ ซึ่งเป็นที่มาของการประชุม Trust Summit ครั้งนี้” คุณ Justin Lie กล่าว

จากความสำเร็จของงานมหกรรมทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดที่กรุงเทพฯ ของ Money20/20 จะมีการกลับมาจัดงานที่ทุกคนรอคอยอีกครั้งในเดือนเมษายนปีหน้า ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงาน Money 20/20 Asia 2025 สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนใครได้ที่ https://asia.money2020.com/#asia-2025-register-your-interest