Onlinenewstime.com : กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข แนะวิธีการดูแลจิตใจกลุ่มเด็กและเยาวชน หลังผ่านเหตุการณ์ความรุนแรง
“เด็ก” คือกลุ่มเสี่ยงด้านสุขภาพจิต เพราะ 1) เด็กมีความเข้าใจเกี่ยวกับเหตุการณ์รุนแรงน้อย 2) เด็กรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ และ 3) เด็กไม่มีประสบการณ์ในการรับมือกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก
ผลกระทบที่มีต่อเด็ก
- ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล
- ปัญหาพัฒนาการ เช่น พัฒนาการหยุดชะงัก
- ปัญหาการเรียน เช่น หนีเรียน การเรียนตก
- ปัญหาพฤติกรรม เช่น ก้าวร้าว เก็บตัว
ผู้ปกครองจะช่วยให้เด็กรับมือกับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรงได้อย่างไร
- ให้เด็กได้เล่าและพูดถึงเหตุการณ์ที่เพิ่งผ่านพ้นไป กระตุ้นให้เด็กได้แบ่งปันความคิด และถามคำถามต่างๆ “ถ้าเด็กต้องการเล่า โดยอย่าบังคับ”
- ให้เด็กได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ปกครอง ครู หรือผู้ใหญ่ที่ไว้เนื้อเชื่อใจ เพื่อให้เด็กรู้สึกปลอดภัย สงบ เชื่อมต่อ และรู้สึกมีความหวัง
- ลดการดูสื่อที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น
- เมื่อเด็กพร้อม ควรกระตุ้นให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดการผลกระทบบางอย่างที่เกิดขึ้นในสังคม เพื่อให้เด็กมีความรู้สึกว่า ตนเองสามารถควบคุมสถานการณ์ได้บ้าง เช่น เป็นอาสาสมัครในการสร้างชุมชนปลอดภัย แต่ควรงดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานที่เกิดเหตุ
- หากพบความผิดปกติทางความคิด อารมณ์ หรือพฤติกรรมในเด็ก ควรรีบพาไปปรึกษาจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น หรือ โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323
อ้างอิง : CDC – Caring for Children in a Disaster