fbpx
News update

กระทรวงสาธารณสุขชี้ “นวดไทย” มาตรฐานสูง หากประเมินตนเองดี “ไม่มีใครนวดแล้วตาย”

Onlinenewstime.com : หากพูดถึงศิลปะการนวดแผนไทย ไม่เพียงเป็นที่นิยมเฉพาะในกลุ่มคนไทย และชาวเอเชียเท่านั้น แต่ปัจจุบันได้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในหมู่ชาวต่างชาติที่ชื่นชอบการบำบัดผ่อนคลายด้วยการนวด

รวมทั้งการนวดร่วมกับการใช้สมุนไพรตามศาสตร์การประกอบโรคศิลป์ โดยมี กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ผลักดันให้ตลาดการนวดไทยบูมขึ้น      

ที่ผ่านมา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกข่าวเตือนประชาชนตลอดเรื่องการนวดแผนไทย ข้อควรระมัดระวัง กฎบังคับต่างๆ โดยประกาศผ่านสื่อมวลชนจำนวนมาก      

ส่วนที่โลกออนไลน์แชร์โพสต์จากเฟสบุ๊ค พรรธน์นภา อุดหนุน เป็นคลิปเหตุการณ์ที่ชายรายหนึ่ง ไปนวดแผนไทยที่ร้านนวดแห่งหนึ่งในพัทยา จ.ชลบุรี      

จากนั้นมีอาการแน่นหน้าอก หายใจติดขัด พนักงานนวดในร้านจึงช่วยพาออกมาหน้าร้าน และพยายามช่วยชีวิต แต่สุดท้ายก็ยื้อชีวิตไว้ไม่ทัน  

เจ้าของโพสต์ดังกล่าว ซึ่งเป็นเพื่อนกับผู้ตาย ได้ไลฟ์เฟสบุ๊คเ ล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อเป็นอุทาหรณ์ให้กับคนที่ชอบนวดและหมอนวด เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์สลดอย่างนี้กับใครอีก

โดยเจ้าตัวเล่าว่า ผู้ตายเป็นโฟร์แมน มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงดี ชอบเตะฟุตบอล และเป็นคนชอบนวดแผนไทย และได้เข้าร้านนวดแผนไทย ซึ่งนวดได้ประมาณ 30 นาที ผู้ตายก็มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก และหมดสติไป ซึ่งผู้ตายหยุดหายใจไปประมาณครึ่งชั่วโมงแล้ว ก่อนที่จะมีคนมาช่วยปั๊มหัวใจ      

เมื่อรถพยาบาลมาถึง ได้ช่วยปั๊มให้ชีพจรกลับมาได้ เนื่องจากผู้ตายหยุดหายใจไปกว่าครึ่งชั่วโมง ทำให้ระบบร่างกายล้มเหลวและเสียชีวิต ซึ่งแพทย์ระบุว่า สาเหตุการเสียชีวิตเกิดจากลิ่มเลือดในหลอดเลือดอุดตันขั้วปอดทั้ง 2 ข้าง ทำให้หายใจไม่ออก      

ทั้งนี้ ลิ่มเลือดดังกล่าวเกิดขึ้นบริเวณจุดฟกช้ำที่ขาของผู้ตาย ซึ่งบาดเจ็บอยู่ก่อนแล้วจากการเตะฟุตบอล และเมื่อร่างกายถูกนวด ก็เป็นการกระตุ้นทำให้ลิ่มเลือดจุดดังกล่าว ไหลไปตามเส้นเลือด และไปอุดตันที่ขั้วปอด ส่งผลให้หายใจไม่ออกและเสียชีวิต      

อย่างไรก็ตามเรื่องอันตรายจากการนวดแผนไทยนั้นเว็บไซต์สุขภาพสาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook และ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกข่าวอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมความรู้ให้ประชาชน        

สำหรับ การนวดเพื่อสุขภาพ หรือ การนวดเพื่อผ่อนคลาย ผู้ที่มารับบริการนวดนั้น ส่วนหนึ่งเป็นคนปกติทีไม่มีโรคใดๆชัดเจน เพียงแต่มีอาการเมื่อยล้าเป็นธรรมดาเนื่องจากเดินทางไกล ทำงานหนัก หรืออยู่ในอิริยาบถใด อิริยาบถหนึ่งนานๆ จึงมาขอรับบริการนวดเพื่อผ่อนคลายเท่านั้น      

ขณะที่ การนวดเพื่อการรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ผลจากการนวดที่ใช้ในการบรรเทาอาการ หรือรักษาโรคได้นั้น เกิดจากปฎิกิริยาของร่างกายที่ตอบสนองต่อการนวด คือ ผลทางกลศาสตร์ ( Mechanical effects ) เป็นผลที่มีหลักฐานน่าเชื่อถือที่สุด  

ข้อห้ามต่างๆ ผู้นวดต้องอ่านในบทความนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย หรือผลแทรกซ้อนอันไม่พึงปรารถนา ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเรามักห้ามนวดเฉพาะบริเวณที่จะเกิดอันตรายเท่านั้น

โดยคนรักสุขภาพพึงระลึกไว้เสมอด้วยคือ การนวดส่วนใหญ่จะมีการดัดดึงส่วนต่างๆของร่างกายร่วมด้วยโดยเฉพาะการนวดแบบดั้งเดิมชนิดต่างๆ จึงควรมีแพทย์ หรือ ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดีคัดเลือกผู้ที่จะเข้ารับบริการนวด เพื่อดูทั้งข้อบ่งชี้ และข้อห้าม

นายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า แม้วิทยาการทางการแพทย์จะมีความก้าวหน้าไปมาก แต่ความนิยมใช้ศาสตร์เก่าแก่อย่างนวดไทยมาใช้ดูแลสุขภาพ บำบัดรักษาอาการเจ็บปวดของร่างกาย ก็ยังได้รับความนิยมมิเสื่อมคลาย

โดยเฉพาะการนวดจับเส้นในการรักษา ซึ่งต่างจากการนวดเพื่อผ่อนคลาย หรือส่งเสริมสุขภาพ เพราะเป็นการนวดเพื่อบำบัด รักษาโรค และฟื้นฟูสุขภาพโดยใช้ศาสตร์นวดไทย ซึ่งยังมีประชาชนหลายคนที่ยังขาดความเข้าใจในการเลือกรับบริการนวดจากสถานที่ๆถูกต้อง เหมาะสม ส่วนนวดเพื่อการรักษา ตามแบบฉบับนวดแผนไทย ของ อภัยภูเบศร ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร       ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนเลือกรับบริการได้ตรงกับความต้องการ และตอบโจทย์สุขภาพได้มากที่สุด กรม สบส. จึงขอแนะนำให้ประชาชนทุกคนประเมินร่างกายตนเองเบื้องต้นก่อนรับบริการนวดทุกครั้ง      

หากพบว่าร่างกายของตนมีอาการเจ็บ ปวด หรือมีความผิดปกติ และต้องการนวดเพื่อรักษา ฟื้นฟูสุขภาพ อย่างการนวดจับเส้น ขอให้เลือกรับบริการจากสถานพยาบาลการแพทย์แผนไทย
ซึ่งผู้ให้บริการนวดจะต้องเป็นผู้ที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพด้านเวชกรรมไทย, ด้านนวดไทย หรือด้านการแพทย์แผนไทยประยุกต์ จากสภาการแพทย์แผนไทยเท่านั้น  

ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของประชาชน ขอเน้นย้ำให้สถานพยาบาลหรือสถานประกอบการเพื่อสุขภาพทุกแห่ง ตรวจประเมินสภาพร่างกายผู้มารับการนวดทุกครั้ง ทั้งวัดความดันโลหิต ซักประวัติอาการป่วย เพื่อประเมินแนวทางการรักษาหรือการนวดเพื่อความผ่อนคลายได้อย่างถูกต้อง  

โดยเฉพาะบุคคลที่มีอาการดังต่อไปนี้ คือ มีไข้สูงเกิน 38.5 องศาเซลเซียส มีอาการโรคติดเชื้อเฉียบพลัน มีการอักเสบจากการติดเชื้อ กระดูกแตก หัก ปริ ร้าว ข้อเคลื่อน เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง

เบาหวานที่ยังควบคุมอาการให้เป็นปกติไม่ได้ มีโรคผิวหนังมีแผลเปิดเรื้อรัง โรคติดต่อระยะแพร่เชื้อ โรคมะเร็ง แผลหลังผ่าตัดยังไม่หายสนิท หลอดเลือดดำอักเสบ และกระดูกพรุนรุนแรง ห้ามให้บริการนวดแผนไทยเด็ดขาดเพราะอาจเกิดอันตรายได้