fbpx
News update

ปภ.รายงานสถานการณ์ ข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 28 กันยายน 2564

Onlinenewstime.com : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย รายงานการคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 28 กันยายน 2564 พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก และพื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

๑. สถานการณ์ทั่วไป

มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย มีกําลังอ่อน ในขณะที่มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทําให้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ และภาคกลาง สําหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง ๑-๒ เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า ๒ เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ ๑ เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง ๑-๒ เมตร

ปริมาณฝนสะสม ๒๔ ซม. ได้แก่ อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี (๔๔.๐ มม.) อ.วังทอง จ.พิษณุโลก (๔๔.๐ มม.) อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ (๘๔.๒ มม.) อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ (๔๒.๐๐ มม.) อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช (๗๔.๐ มม.) (ข้อมูลสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ณ วันที่ ๒๘ ก.ย. ๖๘ เวลา ๐๕.๐๐ น.)

ระดับน้ำท่าที่ล้นตลิ่ง ได้แก่ ลุ่มน้ำปิง อ.เมืองฯ จ.กําแพงเพชร (+๐.๑๔ ม.) อ.คลองขลุง จ.กําแพงเพชร (+๐.๒๒ ม.) ลุ่มน้ำวัง อ.สามเงา จ.ตาก (+๙.๐๐ ม.) ลุ่มน้ำยม อ.บางระกํา จ.พิษณุโลก (+๐.๗๓ ม.) ลุ่มน้ำป่าสัก อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ (+๐.๒๐ ม.) อ.เมืองฯ จ.เพชรบูรณ์ (+๐.๔๔ ม.) อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ (+๑.๐๙ ม.) อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี (+๑.๒๓ ม.) ลุ่มน้ำสะแกกรัง อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี (+๐.๗๔ ม.) ลุ่มน้ำเจ้าพระยา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา (+๑.๒๑ ม.) อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา (+๑.๙๑ ม.) อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา (+๒,๒๔ ม.) ลุ่มน้ำแม่กลอง อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี (+๐.๗๕ ม.)

ลุ่มน้ำท่าจีน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี (+๐.๒๐ ม.) ลุ่มน้ำชี อ.ภูกระดึง จ.เลย (+๑.๘๔ ม.) อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ (+ ๐.๙๔ ม.) อ.เมืองฯ จ.ชัยภูมิ (+๐.๕๕ ม.) อ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น (+๐.๕๑ ม.) อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด (+๑.๒๙ ม.) ลุ่มน้ำมูล อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา (+๐.๓๒ ม.) อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา (+๐.๕๓ ม.) อ.พิมาย จ.นครราชสีมา (+๐.๗๑ ม.) อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา (+๐.๑๗ ม.) อ.จักราช จ.นครราชสีมา (+๐.๘๔ ม.) อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ (+๑.๒๑ ม.) อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ (+๑.๗๓ ม.) ลุ่มน้ำปราจีนบุรี อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี (+๙.๐๐ ม.) (ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ ๒๘ ก.ย. ๖๔ เวลา ๐๕.๐๐ น.)

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ ๘๐ ของความจุอ่างฯ จํานวน ๑๑ แห่ง

ได้แก่ แควน้อยบํารุงแดน (๘๓) แม่มอก (๑๐๘) จุฬาภรณ์ (๑๐๒) ลําพระเพลิง (๔๒) มูลบน (๙๐) ลําแชะ (๘๑) ทับเสลา (๘๔) ขุนด่านปราการชล (๘๘) หนองปลาไหล (ดวด) ประแสร์ (๙๓) และนฤบดินทรจินดา (๘๔) (ข้อมูล กรมชลประทาน ณ วันที่ ๒๗ ก.ย. ๖๔)

๒. การแจ้งเตือนสาธารณภัย และข้อแนะนํา

เฝ้าระวัง

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ภาคกลาง จ.จันทบุรี (อ.เมืองฯ ขลุง มะขาม เขาคิชฌกูฏ โป่งน้ำร้อน) และตราด (อ.เขาสมิง บ่อไร่)

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง ภาคเหนือ จ.ตาก (อ.เมืองฯ) กําแพงเพชร (อ.ปางศิลาทอง) สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสําโรง คีรีมาศ) พิษณุโลก (อ.วังทอง บางระกํา) พิจิตร (อ.บึงนาราง โพธิ์ประทับช้าง โพทะเล สามง่าม ดงเจริญ) เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ วิเชียรบุรี หนองไผ่ ศรีเทพ บึงสามพัน)

นครสวรรค์ (อ.เมืองฯ ลาดยาว หนองบัว แม่วงก์ ไพศาลี ชุมแสง ท่าตะโก บรรพตพิสัย โกรกพระ) และอุทัยธานี (อ.เมืองฯ ทัพทัน สว่างอารมณ์ ลานสัก) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย (อ.เมืองฯ ภูกระดึง ด่านซ้าย) ขอนแก่น (อ.โคกโพธิ์ไชย มัญจาคีรี แวงน้อย) ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ หนองบัวระเหว จัตุรัส เนินสง่า บ้านเขว้า ภูเขียว บําเหน็จณรงค์ เกษตรสมบูรณ์)

นครราชสีมา (อ.เมืองฯ ด่านขุนทด สูงเนิน โนนไทย พระทองคํา โนนสูง พิมาย คง จักราช) ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ ห้วยทับทัน ภูสิงห์ ขุขันธ์ ขุนหาญ ไพรบึง) และอุบลราชธานี (อ.เมืองฯ วารินชําราบ) ภาคกลาง จ.ชัยนาท (อ.มโนรมย์ วัดสิงห์ เนินขาม หันคา) สิงห์บุรี (อ.เมืองฯ อินทร์บุรี ค่ายบางระจัน) อ่างทอง (อ.เมืองฯ ป่าโมก ไชโย วิเศษชัยชาญ) พระนครศรีอยุธยา (อ.พระนครศรีอยุธยา เสนา ผักไห่ บางบาล)

ลพบุรี (อ.เมืองฯ สระโบสถ์ ชัยบาดาล ลําสนธิ โคกสําโรง บ้านหมี่ โคกเจริญ พัฒนานิคม) สุพรรณบุรี (อ.เมืองฯ บางปลาม้า สองพี่น้อง ศรีประจันต์ หนองหญ้าไซ เดิมบางนางบวช สามชุก) ปราจีนบุรี (อ.กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ เมืองฯ) สระแก้ว (อ.ตาพระยา โคกสูง) และจันทบุรี (อ.นายายอาม เขาคิชฌกูฏ ขลุง มะขาม ท่าใหม่ แหลมสิงห์)

ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ พื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมือง อาจได้รับผลกระทบ จาก น้ำท่วมขังระยะสั้นๆ พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก พื้นที่ริมลําน้ำ อาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมในระดับสูง ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง

ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปพร. จิตอาสา เครือข่ายอาสาสมัคร องค์กรสาธารณกุศลได้เตรียมความพร้อมตามแผนเผชิญเหตุ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับชุมชน/หมู่บ้านในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวหรือเสียงตามสายประจําหมู่บ้าน เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย

แจ้งข่าว

พื้นที่ที่มีฝนฟ้าคะนอง ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลําพูน ตาก นครสวรรค์ และอุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม สุรินทร์ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี นครนายก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคใต้ จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

๓. การคาดการณ์สาธารณภัยในระยะ ๑ – ๓ วัน

เฝ้าระวัง

วันที่ ๒๙ – ๓๐ ก.ย. ๒๔ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคกลางตอนล่างและภาคใต้ตอนบน ทําให้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณภาคกลางและภาคใต้

วันที่ ๑ ต.ค. ๖๔ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ทําให้มีฝนตกหนักบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้

โดยยังคงเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง รวมทั้งระดับน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้น

วันที่ ๒๙ ก.ย. – ๑ ต.ค ๖๔ คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง ๑-๒ เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า ๒ เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง ประมาณ ๑ เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง ๑-๒ เมตร

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ แจ้งเหตุสาธารณภัยสายด่วน ๑๗๕๔ หรือ “ปภ.รับแจ้งเหตุ ๑๗๕๔” (Line ID : @1784DDPM) ตลอด ๒๔ ชั่วโมง