fbpx
News update

ปภ.รายงานสถานการณ์ ข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 10 กันยายน 2564

Onlinenewstime.com : สถานการณ์ทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรง ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ทำให้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมามีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ทะเลอันดามันตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไปและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

พายุโซนร้อน “โกนเซิน” (CONSON) ที่บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก คาดว่าจะทวีกำลังแรงขึ้นและเคลื่อนเข้าชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประมาณวันที่ 13 ก.ย. 64 ทำให้ยังคงมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่

ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. ได้แก่ ต.โคกเคียน อ.ตะกั่วป่า จ. พังงา (232.6 มม.) ต.ระแหง อ.เมืองฯ จ.ตาก (190.8 มม.) ต.บางนายสี อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา (186.5 มม.) ต.น้ำริม อ.เมืองฯ จ.ตาก (185.4 มม.) อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร (166.2 มม.) (ข้อมูลสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ณ วันที่ 30 ก.ย. 64 เวลา 05.00 น.) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่ปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 ของความจุอ่าง จำนวน 16 แห่ง ได้แก่ แม่มอก (68) จุฬาภรณ์ (60) ลำตะคอง (69) ลำพระเพลิง (75) มูลบน (75) ลำแซะ (61) สิรินธร (67) ศรีนครินทร์ (72) วชิราลงกรณ์ (72) ขุนด่านปราการชล (77) หนองปลาไหล (82) ประแสร์ (83) นฤบดินทรจินดา (82) แก่งกระจาน (65) ปราณบุรี (60) และรัชชประภา (66) (ข้อมูลกรมชลประทาน ณ วันที่ 9 ก.ย. 64)

รายงานสถานการณ์ ข้อมูลคาดการณ์และแจ้งเตือนภัย ประจำวันที่ 10 กันยายน 2564

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก

ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ (อ.ดอยเต่า อมก๋อย) ลำพูน (อ.ลี้ ทุ่งหัวช้าง แม่ทา) ลำปาง (อ.เสริมงาม เถิน แม่ทะ เกาะคาสบปราบ ห้างฉัตร งาว แม่พริก) สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสัชนาลัย ศรีสำโรง สวรรคโลก คีรีมาศ ศรีนคร กงไกรลาศ บ้านด่านลานหอย ทุ่งเสลี่ยม)

พิษณุโลก (อ.เมืองฯ วังทอง บางกระทุ่ม วัดโบสถ์ บางระกำ พรหมพิราม ชาติตระการ นครไทย เนินมะปราง) พิจิตร (อ.เมืองฯ สามง่าม โพธิ์ประทับช้าง วชิรบารมี ตะพานหิน สากเหล็ก โพทะเล บึงนาราง วังทรายพูน) เพชรบูรณ์ (อ.น้ำหนาว ศรีเทพ เขาค้อ หนองไผ่) กำแพงเพชร (อ.ไทรงาม พรานกระต่าย ลานกระบือ) และตาก (อ.เมืองฯ สามเงา บ้านตาก แม่ระมาด)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย (อ.เมืองฯ ภูเรือ ท่าลี่ วังสะพุง นาแห้ว ภูหลวง ด่านซ้าย ภูกระดึง) ชัยภูมิ(อ.หนองบัวแดง) นครราชสีมา (อ.วังน้ำเขียว ปากช่อง โชคชัย ครบุรี ปักธงชัย) บุรีรัมย์ (ละหานทราย นางรอง โนนสุวรรณ) สุรินทร์ (อ.บัวเชด) ศรีสะเกษ (อ.ภูสิงห์) และอุบลราชธานี (อ.นาจะหลวย น้ำยืน บุณฑริก ทุ่งศรีอุดม)

ภาคกลาง จ.สิงห์บุรี (อ.พรหมบุรี ท่าช้าง) กาญจนบุรี (อ.สังขละบุรี) นครนายก (อ.เมืองฯ ปากพลี) ปราจีนบุรี(อ.เมืองฯ นาดี ประจันตคาม กบินทร์บุรี ศรีมหาโพธิ) สระแก้ว (อ.เมืองฯ ตาพระยา) ฉะเชิงเทรา (อ.เมืองฯ บางน้ำเปรี้ยว บางปะกง) ชลบุรี (อ.เมืองฯ บางละมุง สัตหีบ ศรีราชา หนองใหญ่)

ระยอง (อ.เมืองฯ บ้านฉาง แกลง ปลวกแดง บ้านค่าย วังจันทร์ เขาชะเมา) จันทบุรี (อ.เมืองฯ นายายอาม แก่งหางแมว ขลุง ท่าใหม่ แหลมสิงห์ โป่งน้ำร้อน) ตราด (อ.เมืองฯ เกาะช้าง เกาะกูด คลองใหญ่ แหลมงอบ เขาสมิง บ่อไร่) และเพชรบุรี (อ.ท่ายาง)

ภาคใต้ จ.ชุมพร (อ.พะโต๊ะ สวี) สุราษฎร์ธานี (อ.พนม) ระนอง (อ.เมืองฯ กะเปอร์ สุขสำราญ ละอุ่น กระบุรี) พังงา (อ.เมืองฯ ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง คุระบุรี) และกระบี่ (อ.เกาะลันตา)

พื้นที่เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

ภาคเหนือ จ.แม่ฮ่องสอน (อ.สบเมย) แพร่ (อ.เด่นชัย วังชิ้น) ตาก (อ.เมืองฯ) เพชรบูรณ์ (อ.หล่มเก่า) และกำแพงเพชร (อ.ขาณุวรลักษบุรี โกสัมพีนคร)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย (อ.ด่านซ้าย นาแห้ว) และนครราชสีมา (อ.พิมาย ปักธงชัย)

ภาคกลาง จ.ปราจีนบุรี (กบินทร์บุรี ประจันตคาม)

พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม

ภาคเหนือ จ.ลำปาง (อ.เถิน เสริมงาม สบปราบ ห้างฉัตร) อุตรดิตถ์ (อ.น้ำปาด ลับแล) และเพชรบูรณ์ (อ.หล่มเก่าน้ำหนาว) ภาคกลาง จ.จันทบุรี (อ.ขลุง มะขาม เขาคิชฌกูฏ โป่งน้ำร้อน) และตราด (อ.บ่อไร่ เกาะช้าง เขาสมิง)

พื้นที่เฝ้าระวังคลื่นลมแรง

ภาคใต้ จ.ระนอง พังงา และภูเก็ต

ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาวะอากาศและข่าวสารจากทางราชการ พื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมือง อาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังระยะสั้นๆ พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก พื้นที่ริมลำน้ำ อาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมในระดับสูง รวมทั้งอาจเกิดดินถล่ม ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง

สำหรับประชาชนบริเวณชายฝั่งทะเล ให้ระวังอันตรายจากคลื่นลมแรง ชาวเรือ ผู้บังคับเรือ ผู้ประกอบการเดินเรือโดยสาร ให้ตรวจสอบอุปกรณ์ความปลอดภัย ให้มีความพร้อมก่อนออกเดินเรือ และควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง หลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง

ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อปพร. จิตอาสา เครือข่ายอาสาสมัคร องค์กรสาธารณกุศลได้เตรียมความพร้อมตามแผนเผชิญเหตุ เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ พร้อมประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับชุมชน/หมู่บ้านในทุกช่องทาง ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวหรือเสียงตามสายประจำหมู่บ้าน เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย