Onlinenewstime.com : การนําเสนอภาวะสังคมไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 พบความเคลื่อนไหวสําคัญ ได้แก่ ภาพรวมสถานการณ์ ด้านแรงงานปรับตัวดีขึ้น อัตราการว่างงานลดลงอยู่ที่ร้อยละ 1.53 ต่ำที่สุดตั้งแต่มีการระบาดของ COVID-19 หนี้สินครัวเรือนยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ความสามารถในการชําระหนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ดี สําหรับการเจ็บป่วยด้วย โรคเฝ้าระวังปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับด้านการก่ออาชญากรรม และอุบัติเหตุจราจรทางบก ขณะที่การบริโภค เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และการร้องเรียนเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคผ่าน กสทช. เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีการนําเสนอสถานการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจ 2 เรื่อง ได้แก่ ภาวะการเรียนรู้ถดถอย : โอกาส การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ และความท้าทายของตลาดคาร์บอนไทย และประเด็นที่ต้องคํานึงถึง รวมทั้งเสนอ บทความเรื่อง “สภาพปัญหาการหลอกลวงยุคดิจิทัล และแนวทางแก้ไข”
สถานการณ์แรงงานมีแนวโน้มดีขึ้น การจ้างงานที่ขยายตัวได้ดี ทั้งในและนอกภาคเกษตร ชั่วโมง การทํางานปรับตัวเพิ่มขึ้น การว่างงานในภาพรวมมีแนวโน้มลดลง เช่นเดียวกับการว่างงานในระบบ
สถานการณ์แรงงานไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 ภาพรวมการจ้างงานมีจํานวนทั้งสิ้น 38.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม
โดยการจ้างงาน ภาคเกษตรกรรม มีจํานวน 11.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากการเพิ่มการผลิตสินค้าเกษตรในกลุ่มพืชสําคัญ
ส่วนนอกภาคเกษตรกรรมมีการจ้างงาน 273 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ สาขาการผลิต เพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.6 จากอัตราการใช้กําลังการผลิตที่สูงสุดในช่วง COVID-19 และการส่งออกที่ ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
สําหรับสาขาการขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ขยายตัวได้ร้อยละ 5.8 และ 16.2 ตามลําดับ
ขณะที่ สาขาก่อสร้าง และสาขาโรงแรม/ภัตตาคาร มีการจ้างงานลดลงที่ร้อยละ 1.1 โดยการลดลงของ จ้างงานสาขาโรงแรม/ภัตตาคาร ส่วนหนึ่งเกิดจากการระบาดของ COMD-19 ที่รุนแรงขึ้นในไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 ประกอบกับนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีจํานวนไม่มาก โดยมีเพียง 5.0 แสนคน จากปกติที่มี 9 – 10 ล้านคน ชั่วโมง
การทํางานปรับตัวดีขึ้น ทั้งในภาพรวมและภาคเอกชนที่ 40.8 และ 43.8 ชั่วโมง/สัปดาห์ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน แต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อน COMD-19
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้เสมือนว่างงานที่ในไตรมาสหนึ่งปี 2565 มีจํานวนถึง 3.8 ล้านคน ขณะที่ผู้ทํางาน 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ขึ้นไป หรือกลุ่มทํางานล่วงเวลามีแนวโน้มดีขึ้นแต่ยังต่ำกว่าช่วงปกติ โดยมีจํานวนผู้ทํางานล่วงเวลา 5.7 ล้านคนในไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 จากช่วงปกติประมาณ 6-7 ล้านคน
การว่างงานปรับตัวดีขึ้น โดยผู้ว่างงานมีจํานวนทั้งสิ้น 6.1 แสนคน ลดลงจาก 7.6 แสนคนในช่วงเดียวกัน ของปีก่อน และลดลงจาก 6.3 แสนคนในไตรมาสก่อนหน้า หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานที่ร้อยละ 1.53 ต่ำที่สุด ในช่วง COMD-19
เช่นเดียวกับการว่างงานในระบบที่ลดลงต่อเนื่อง โดยผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน มีจํานวน 305,765 คน คิดเป็นอัตราการว่างงานในระบบที่ร้อยละ 21
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทํางานมาก่อนยังคงเพิ่มขึ้น โดยมีจํานวน 2.6 แสนคน เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 52 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สวนทางกับผู้ว่างงานที่มีประสบการณ์ทํางานที่เริ่มปรับตัวลดลง
2) ผู้ว่างงานระยะยาวยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีจํานวนถึง 1.7 แสนคน และ 3) การว่างงานในกลุ่มแรงงานที่จบการศึกษาสูงยังอยู่ในระดับสูง โดยอัตรา การว่างงานของผู้จบการศึกษาระดับอุดมศึกษาอยู่ที่ร้อยละ 3.10
ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะถัดไป
1) การฟื้นตัวของการจ้างงานภาคท่องเที่ยว โดยจํานวน นักท่องเที่ยวต่างชาติ ยังมีจํานวนไม่มากเมื่อเทียบกับก่อน COVID-19 ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยแม้จะมีแนวโน้มดีขึ้น จากโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐ แต่สัดส่วนรายจ่าย ยังไม่สามารถชดเชยการหายไปของรายได้จาก นักท่องเที่ยวต่างชาติได้
จึงต้องให้ความสําคัญกับการเปิดประเทศ และดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามาท่องเที่ยว ในประเทศให้มากที่สุด
2) ผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าต่อค่าครองชีพของแรงงาน และการจ้างงาน เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2564 จากราคาน้ำมัน และปัจจัยการผลิตในสินค้าบางชนิตที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลกระทบ ต่อค่าครองชีพของแรงงาน
รวมทั้งอาจกระทบต่อการจ้างงานในภาศเกษตรกรรม จากราคาปุ๋ยที่แพงขึ้น และการจ้าง งานสาขาขนส่งจากต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น และ
3) การหามาตรการแก้ไขปัญหาการว่างงานระยะยาวและการ ว่างงานของผู้จบการศึกษาใหม่ ที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสี่ปี 2564 ขยายตัวชะลอลง คุณภาพสินเชื่อยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังต้องติดตามผลกระทบ จากรายได้ครัวเรือนยังไม่ฟื้นตัว ความเปราะบางของฐานะการเงินของครัวเรือน และ ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการชําระหนี้
ไตรมาสสี่ ปี 2554 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.58 ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.9 ซะลอลง จากร้อยละ 4.2 ของไตรมาสที่ผ่านมา โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.1 ต่อ GDP
ซึ่งสินเชื่อที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ได้แก่ สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ขยายตัวร้อยละ 5.0 จากร้อยละ 5.8 ของไตรมาสก่อน และสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากร้อยละ 7.6 ในไตรมาสก่อนหน้า
ขณะที่สินเชื่อที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สินเชื่อเพื่อยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อน จากมาตรการส่งเสริมการขาย ในช่วง Motor Expo สินเชื่อบัตรเครติต ขยายตัวร้อยละ 1.6 จากการหดตัวร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อน ตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว
และสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้กํากับ ซึ่งเป็นสินเชื่อในกลุ่มเช่าซื้อ และลิสซิ่ง ที่ขยายตัวมากถึงร้อยละ 21.6
ด้านความสามารถในการชําระหนี้ปรับตัวดีขึ้น โดยหนี้เพื่อการอุปโภค บริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) มีมูลค่า 1.43 แสนล้านบาท ลดลงร้อยละ 0.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.0 หรือคิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 273
โดยคุณภาพสินเชื่อปรับตัว ดีขึ้นในทุกประเภทสินเชื่อ แต่ยังต้องเฝ้าระวัง NFLs ในสินเชื่อรถยนต์ เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อกล่าวถึงพิเศษ (สินเชื่อค้างชําระไม่เกิน 3 เดือน) ต่อสินเชื่อรวม สูงถึงร้อยละ 11.08 หรือคิดเป็นมูลค่าถึง 1.3 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ ต้องติดตามความสามารถในการชําระหนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจาก 1) ครัวเรือนมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้น จาก การเผชิญภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวมาอย่างยาวนาน ทําให้ครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อยมีสภาพคล่องต่ำ 2) รายได้ครัวเรือนยังไม่ฟื้นตัว แม้การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น แต่ชั่วโมงการทํางานยังไม่กลับมาสู่ภาวะปกติ และผู้เสมือนว่างงานยังมีจํานวนมาก และ 3) ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจทําให้ครัวเรือนมีรายได้ไม่เพียงพอสําหรับการชําระหนี้
การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง ลดลง และภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตดีขึ้น แต่ยังต้องติดตาม การได้รับวัคซีนของประชาชน รวมทั้ง การสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะติดเชื้อ
จํานวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาจาก 70,287 ราย เหลือเพียง 43,670 ราย หรือลดลงร้อยละ 37.9 ซึ่งเป็นการลดลงในทุกโรค
โดยผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่เป็นผู้ป่วยส่วนใหญ่ ลดลง ร้อยละ 16.7 ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากประชาชนมีการใส่หน้ากากอนามัยอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตดีขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะเสียงฆ่าตัวตายซึ่งมีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 15.4 ในไตรมาสก่อน เหลือร้อยละ 8.7 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ ที่ทําให้ประชาชนสามารถทํากิจกรรมตามปกติได้มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามการได้รับวัคซีนของประชาชน ซึ่งปัจจุบัน มีสัดส่วนผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นมีเพียง ร้อยละ 39.1 และร้อยละ 18.7 ยังไม่เคยได้รับวัคซีนเข็มใด ๆ เลย รวมทั้งการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องใน การจัดการขยะติดเชื้อ ซึ่งกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ปี 2560 ประเทศไทยมีขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึงร้อยละ 87
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น แต่ต้องมีการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร หลังจากการผ่อนคลายมาตรการ และการรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ในบ้าน รวมถึงเฝ้าระวังและกํากับดูแลการจําหน่าย บุหรี่ไฟฟ้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์
การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 โดยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.8 ขณะที่การบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 1.3 อย่างไรก็ตาม
ในระยะถัดไปต้องให้ความสําคัญกับ 1) การควบคุมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหาร เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการให้สามารถดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในร้านอาหารที่ผ่านมาตรฐาน SHA PLUS หรือ Thai Stop Covid 2 Hus ได้ ซึ่งอาจทําให้การบริโภค เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการระบาดของ COMD-19 จึงต้องควบคุมและตรวจสอบ การให้บริการของร้านอย่างต่อเนื่องและเข้มงวด
2) การรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ในบ้าน จากข้อมูลสํารวจของสํานักงาน สถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 23.7 มีการสูบบุหรี่ในตัวบ้าน ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกในครัวเรือนได้รับควันบุหรี่มือสองและมือสาม ซึ่งมีสารพิษและสารก่อมะเร็งจํานวนมาก และ
3) การเร่งรัด ปราบปรามการจําหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ปัจจุบันมีการโฆษณาและจําหน่ายบนแพลตฟอร์ม ออนไลน์อย่างแพร่หลาย ทําให้เยาวชนสามารถเข้าถึงและซื้อมาบริโภคได้ง่าย
คดีอาญาโดยรวมลดลง แต่สัดส่วนคดียาเสพติตยังอยู่ในระดับสูง จึงต้องเพิ่มประสิทธิภาพการ ปราบปราม การนําผู้เสพเข้ารับการบําบัดรักษาและฟื้นฟูให้หายขาด ป้องกันการกลับมาเป็นผู้เสพ รวมทั้งการป้องกันการกระทําความรุนแรงกับผู้หญิง
ไตรมาสหนึ่งปี 2565 มีการรับแจ้งคดีอาญาทั้งสิ้น 105,473 คดี ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 26.9 เป็นการรับแจ้งคดียาเสพติด 90,656 คดี ลดลงร้อยละ 29.1 และคดีชีวิตร่างกาย และเพศรับแจ้ง 3,572 คดี ลดลงร้อยละ 18.4 คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์รับแจ้ง 11,245 คดี ลดลงร้อยละ 7.5 โดยประเด็นที่ต้อง ติดตามและเฝ้าระวัง คือ
1) การให้ความสําคัญกับการนําผู้เสพเข้ารับการบําบัดรักษาและฟื้นฟูให้หายขาด และ ป้องกันการกลับมาเป็นผู้เสพซ้ำ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาการทางจิตและมีพฤติกรรมที่ใช้ความรุนแรง และ
2) การกระทําความรุนแรงต่อผู้หญิงซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงต้องให้ความสําคัญกับครอบครัวในการร่วมขจัดปัญหาและสร้างความเข้าใจกับสังคม โดยการรณรงค์ให้ประชาชนไม่เป็นผู้กระทําความรุนแรง ไม่ยอมรับความรุนแรง ที่เกิดขึ้น และไม่นิ่งเฉยต่อการกระทําดังกล่าว
การเกิดอุบัติเหตุการจราจรทางบกมีจํานวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บลดลง อย่างไรก็ตามการเริ่มกลับมา เดินทางและการมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกครั้ง อาจทําให้มีการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น จึงควรมีการเฝ้าระวังและ บูรณาการความร่วมมือเพื่อสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง
การรับแจ้งการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกมีจํานวน 21,463 ราย ลดลงร้อยละ 33.9 จากไตรมาสเดียวกันของ ปี 2564 มีผู้เสียชีวิต 1,541 ราย ลดลงร้อยละ 26.5 ผู้บาดเจ็บรวม 10,953 ราย ลดลงร้อยละ 43.2 สาเหตุของ การลดลงของอุบัติเหตุจราจร
เนื่องจากในช่วงไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COMD-19 ยังมีความไม่แน่นอนและจํานวนผู้ติดเชื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประชาชนลดการเดินทาง ขณะที่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 มีการเกิดอุบัติเหตุ 1,917 ครั้ง ลดลงจากช่วงเดียวกันในปีก่อนร้อยละ 18.9 แต่มีผู้เสียชีวิต 278 ราย เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4
โดยมีประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญ คือ 1) แนวโน้มการเกิดอุบัติเหตุที่อาจเพิ่มขึ้นจาก การเริ่มกลับมาเดินทางและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอีกครั้ง 2) การตรวจสอบสภาพถนนให้พร้อมใช้งานและไม่เป็น อุปสรรคต่อการเดินทาง และ 3) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบูรณาการความร่วมมือเพื่อสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลที่ต้องอาศัยการทํางานตั้งแต่ชุมชน หมู่บ้าน ตําบล อําเภอ และระดับจังหวัด ในการลดอุบัติเหตุและอํานวยความสะดวกให้แก่ผู้สัญจร
การรับเรื่องร้องเรียนผ่าน สคบ. ลดลง ขณะที่การรับเรื่องร้องเรียนผ่านสํานักงาน กสทช. เพิ่มขึ้น โดย มีประเด็นที่ต้องให้ความสําคัญ คือ การหลอกลวงผู้บริโภคผ่าน call center และการคุ้มครองผู้บริโภคจากการ บริโภคอาหารและเครื่องดื่มปนเปื้อนสารพิษและเชื้อโรค รวมทั้งการแสดงฉลากหลอกลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด
การรับเรื่องร้องเรียนสินค้าและบริการในไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 ของ สคบ. มีจํานวน 2,540 ราย ลดลงจาก ช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 33.3 โดยด้านที่ได้รับการร้องเรียนมากที่สุด คือ ด้านฉลาก รองลงมาเป็นด้าน โฆษณา ด้านขายตรงและตลาดแบบตรง และด้านสัญญา ตามลําดับ
ขณะที่การร้องเรียนผ่านสํานักงาน กสทช. มีการร้องเรียนทั้งสิ้น 1,780 เรื่อง เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 131.5 โดยเป็นการร้องเรียน เกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด
โดยเฉพาะในประเด็นการได้รับข้อความสั้นจาก SMS จํานวน 620 ราย ทั้งนี้ มีประเด็นติดตามและเฝ้าระวัง คือ 1) การหลอกลวงผ่าน call center โดยในปี 2560 มีการหลอกลวงผ่านโทรศัพท์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 270 และการหลอกลวงผ่านการส่งข้อความ SMS เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 57 และ 2) ปัญหาการปนเปื้อน ในอาหารที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการแสดงฉลากลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด จึงอาจพิจารณาบทลงโทษให้ รุนแรงขึ้น และสร้างระบบตรวจสอบตลอดห่วงโซ่การผลิต เพื่อให้สามารถสืบพบต้นตอของปัญหาใต้อย่างรวดเร็ว
ภาวะการเรียนรู้ถดถอย : โอกาสการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
ภาวะการเรียนรู้ถตถอยหรือการสูญเสียการเรียนรู้ (Learning Loss) ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากความไม่ต่อเนื่อง ในการศึกษา การออกกลางคัน การขาดเรียน และการสอนที่ไม่มีประสิทธิภาพ
ซึ่งผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของ COVID-19 ทําให้มีการปิดเรียนเป็นระยะเวลานาน และส่งผลให้เด็กสูญเสียการเรียนรู้อย่างรุนแรง โดยธนาคารโลกได้ประมาณการในปี 2563 ว่าการปิดเรียนกว่า 3 – 9 เดือนอาจทําให้เด็กหนึ่งคนสูญเสียความสามารถ
ในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 6,472 -25,680 ดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียรวมทั่วโลกประมาณ 10-17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 500 ล้านล้านบาท
ขณะที่ประเทศไทย งานศึกษาของมหาวิทยาลัย หอการค้าไทย พบว่า เด็กชั้นอนุบาล 3 ที่โรงเรียนถูกปิดในช่วงเดือนมกราคมเป็นระยะเวลานานถึง 1 เดือน มีระดับ คะแนนความพร้อม (schod readress) ต่ำกว่านักเรียนกลุ่มที่สามารถไปเรียนได้ตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ
และ ผลการสํารวจสถานการณ์การศึกษา จากครูและบุคลากรทางการศึกษา ของ คสศ. พบว่า ปัญหาการเรียนรู้ ถดถอยของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง
โดยนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นเป็นระดับที่มีปัญหาภาวะ ถดถอยมากที่สุด ร้อยละ 60.5 ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนอุปกรณ์ การไม่มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ รวมถึงผู้ปกครองไม่มีเวลาติดตามการเรียน สอนการบ้านให้ไม่ได้ และมีฐานะยากจน
ปัจจุบันประเทศไทยมี เครื่องมือในการลดช่องว่างการเรียนรู้ที่เห็นผลสําเร็จ คือ นวัตกรรม Learning Box หรือชุดกล่องการเรียนรู้ ที่ได้รับการออกแบบขึ้น เพื่อช่วยสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียน ลดข้อจํากัดด้านอุปกรณ์และสัญญาณอินเทอร์เน็ต
เสริมพลังครูให้สามารถออกแบบการเรียนรู้ตามพื้นที่และบริบท ถือเป็นเครื่องมือในการรองรับการเปิดเรียนเมื่อ สถานการณ์คลี่คลาย
นอกจากนี้ การเรียนรู้ถดถอยทําให้เกิดการปรับตัวของผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่ม โดยเกิต การผลักดันการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง การสร้างรูปแบบทางการศึกษาใหม่ ๆ อาทิ outshak.com การมีคลังความรู้อย่าง BrainPOP แอปพลิเคชันใหม่ที่ช่วยเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะ ด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ส่งผลให้ฐานการเรียนรู้จากโรงเรียนมีความสาคัญลดลง และอาจจําเป็นต่อ การปรับกระบวนทัศน์การจัดการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเป็นฐานการเรียน ดังนั้น ภาครัฐและคนในสังคมจําเป็นต้องเร่ง สร้างระบบนิเวศน์การเรียนรู้และปรับปรุงโครงสร้างการศึกษาที่สนับสนุนให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ความท้าทายของตลาดคาร์บอนไทย และประเด็นที่ต้องคํานึงถึง
จากการที่ประเทศไทย ประกาศเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมาย ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี พ.ศ. 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็น ศูนย์ (Net Zero ermissions) ในปี พ.ศ. 2508 ในเวทีการประชุม COP26 ของปี 2564 ทําให้ต้องมีมาตรการที่ เหมาะสมในการลดก๊าซเรือนกระจก
ซึ่งตลาดคาร์บอนเป็นกลไกหนึ่งที่ OECD และ World Economic Forum ระบุว่า มีต้นทุนในการดําเนินการน้อยที่สุด และเป็นเครื่องมือในการลดการปล่อยก๊าซฯ ที่คุ้มค่าที่สุด
ทําให้ในปี 2564 ทั่วโลกมีการใช้มาตรการนี้ถึง 45 ประเทศ อีกทั้งยังอยู่ระหว่างการดําเนินการอีกกว่า 65 ประเทศ และ มีมูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตถึง 8.51 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
สําหรับประเทศไทยตลาดคาร์บอนถูกกําหนด ไว้ใน (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2558-2593
อย่างไรก็ตาม ตลาดคาร์บอนของไทยในปัจจุบันยังมีประเด็นท้าทายต่อการช่วยลดก๊าซเรือนกระจก คือ 1) การซื้อขายคาร์บอนในประเทศไทยยังมีปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมของประเทศ 2) การขาดแพลตฟอร์มการซื้อขายและแลกเปลี่ยน
3) ต้นทุนการตรวจวัด การรายงาน และการทวนสอบ (MRV) ในการรับรองคาร์บอนเครดิต (Transaction Cost) อยู่ในระดับสูง และ 4) ตลาดคาร์บอนยังไม่มีการกําหนดเป้าหมาย การลดการปล่อยก๊าซฯ ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายของประเทศ จึงอาจทําให้การลดก๊าซฯ เป็นไปได้ช้า
ดังนั้น การที่ไทย จะลดการปล่อยก๊าซฯ ให้ได้ตามการประกาศเจตนารมณ์ โดยใช้ตลาดคาร์บอนเป็นเครื่องมือที่สําคัญต้องให้ความสําคัญกับ
1) การจูงใจให้ภาคเอกชนเข้าร่วมตลาดคาร์บอนมากขึ้น โดยการสํารวจของสภาอุตสาหกรรม พบว่า ผู้ประกอบการไทย มีความสนใจและเห็นด้วยกับเป้าหมายการสตกาซฯ ของประเทศ ซึ่งหากมีมาตรการสนับสนุน เพิ่มเติมจะสามารถจูงใจให้ผู้ประกอบการเข้าร่วมตลาดคาร์บอนได้มากขึ้น
2) การกําหนดเกณฑ์การลดการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกที่ต้องลดลงให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลตการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ อาทิ กําหนดระดับ การปล่อยก๊าซในกรณีฐาน (Baselines) ของแต่ละอุตสาหกรรม รวมทั้งเชื่อมโยงกับนโยบายอื่น เช่น การเก็บภาษี คาร์บอน
3) การจัดทําระบบฐานข้อมูลการซื้อขาย Carbon credit ซึ่งจะช่วยให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิต มีความ โปร่งใส น่าเชื่อถือ รวมถึงยังช่วยติดตามสถานการณ์ได้อีกทางหนึ่งด้วย
4) การส่งเสริมให้มีการลงทุนในเทคโนโลยี ที่สามารถลดการปล่อยก๊าซฯ หรือการลงทุนเพื่อผลิตคาร์บอนเครดิต อาทิ จัดหาแหล่งเงินทุนตอกเบี้ยต่ำ และ
5) การสร้างการรับรู้ และส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะช่วยลด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้ให้กับชุมชน
สภาพปัญหาการหลอกลวงยุคดิจิทัลและแนวทางแก้ไข
การหลอกลวงผ่านเครื่องมือสื่อสารสมัยใหม่เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ทุกคนสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจําวัน และสร้างความเสียหายให้กับผู้ถูกหลอกคิดเป็นมูลค่าที่สูง ในปี 2560 ประเทศไทยมีการใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกลวง มากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 270 และมีข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นร้อยละ 57
สําหรับข้อมูลการแจ้งความและเรื่องร้องเรียน พบว่า ปี 2560 มีผู้เสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ เข้าแจ้งความกว่า 1,600 ราย มูลค่า ความเสียหายรวมกว่า 1,000 ล้านบาท ขณะที่มีการร้องเรียนปัญหาออนไลน์ 48,513 ครั้ง เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากปีก่อนหน้า
ดังนั้น สศช. จึงได้ทําการศึกษา และสํารวจเกี่ยวกับการหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารสมัยใหม่ ระหว่างเดือนมกราคม ถึงมีนาคม 2565 ในประชากรช่วงอายุ 17-17 ปี จํานวน 5,798 ตัวอย่าง ทั่วประเทศ โดยพบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้
1) คนไทยเกือบครึ่งมีประสบการณ์ถูกหลอกลวงในช่วง 1 ปี และประมาณ 2 ใน 5 ตกเป็นเหยื่อ โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 48.1 มีประสบการณ์โดนหลอกลวง ในจํานวนนี้ ร้อยละ 42.6 ตกเป็นเหยื่อ ที่ได้รับความเสียหายจากการหลอกลวง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยประมาณ 2,400 บาทต่อคน
2) Gen Y และ Gen Z ถูกหลอกลวงสูงกว่า Gen X และ Baby Boomer จากการใช้เวลาและกิจกรรมผ่านอินเทอร์เน็ตมากกว่ากลุ่มอื่น อย่างไรก็ตามกลุ่ม Baby Boomer มีมูลค่าความเสียหายเฉลี่ยต่อครั้งสูงที่สุด
3) การหลอกลวง โดยอ้างจะให้ผลประโยชน์มีสัดส่วนมากที่สุด โดยรูปการหลอกลวงที่พบมาก คือ อีเมล์ /SMS หลอกลวง (Phishing)
ขณะที่ประเภทการหลอกลวง ที่มีอัตราการตกเป็นเหยื่อสูงสุด คือ หลอกขายสินค้าออนไลน์ ซื้อแล้ว ไม่ได้รับของ โดยมีอัตราการตกเป็นเหยื่อสูงถึงร้อยละ 82.6 แต่มูลค่าการเสียหายไม่มาก คือ เฉลี่ยประมาณ 600-700 บาทต่อตน
ขณะที่ การหลอกลวงข้อมูลส่วนตัวทางอีเมล์/SMS หลอกสวง (Phishing) การถูกแฮกข้อมูลหรือหลอก ขอข้อมูลบัตรเครดิต และการหลอกลวงให้ลงทุน ที่มีอัตราตกเป็นเหยื่อไม่สูง แต่มีมูลค่าความเสียหายค่อนข้างสูง และ 4) ผู้ตกเป็นเหยื่อมากกว่าครึ่ง ไม่มีการดําเนินการใด ๆ และเห็นว่าการป้องกัน/จัดการปัญหาของภาครัฐยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
โดยกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 54.1 ไม่ได้มีการดําเนินการใด ๆ ด้วยเหตุผลว่ายังไม่เกิดความ เสียหาย มีความยุ่งยาก/ไม่มีเวลา คิดว่าแจ้งแล้วก็ไม่ช่วยอะไร และมูลค่าการสูญเสียไม่มากนัก นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ ยังไม่รู้ช่องทางการแจ้งเหตุที่เหมาะสม
สําหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อการถูกหลอกและการเอาตัวรอด พบว่า
1) พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้เทคโนโลยี การสื่อสารสมัยใหม่ และบุคลิกภาพส่วนบุคคลเป็นปัจจัยสําคัญที่เปิดโอกาสให้ตกเป็นเหยื่อ
2) การรับรู้ข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับการหลอกลวง ทําให้โอกาสการตกเป็นเหยื่อลดลงได้ อย่างไรก็ตาม มีบางรูปแบบที่การรับรู้ ข่าวสารอาจไม่มีผล ได้แก่ การหลอกลวงมัลแวร์ การถูกแฮกบัญชีธนาคาร/โซเชียลมีเดีย การหลอกขอข้อมูลบัตร เครดิต/เดบิต
3) เทคโนโลยีและทักษะ/กลยุทธ์ของมิชาชีพ เป็นปัจจัยสําคัญต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและ การตกเป็นเหยื่อ เช่น แอปพลิเคชันเงิน สมัครงาน ขณะที่ทักษะ/กลยุทธ์หลอกลวง เช่น การสื่อสารและโน้มน้าวใจ การสร้างความน่าเชื่อ การคัดเลือกเหยื่อ
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจํากัดในการรับมือกับปัญหา คือ การหลอกลวงมีการพัฒนารูปแบบใหม่ ๆ ตลอดเวลา มีความซับซ้อนและความแนบเนียบมากขึ้น จึงยากต่อ การรู้เท่าทัน และข้อมูลเกี่ยวกับการหลอกลวงมีความกระจัดกระจาย การรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลยังไม่เป็นระบบ ซึ่งทําให้ประเมินสถานการณ์ได้ยากและไม่เห็นภาพรวมของปัญหา
รวมทั้งการจัดการปัญหาการหลอกลวง ของหน่วยงานภาครัฐ ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร โดยขาดการทํางานเชิงรุกทั้งในแง่การป้องกัน การสร้าง การเรียนรู้ให้สังคมรู้เท่าทัน และการพัฒนาการสืบสวนให้ทันต่อสถานการณ์
นอกจากนี้ การหลอกลวงในหลายกรณีมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม/อาชญากรรมข้ามชาติ ทําให้ไม่สามารถขยายผลไปถึงผู้บงการได้
ข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหา คือ 1) สร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตยุคดิจิทัลโดยรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชน เกี่ยวกับรูปแบบการหลอกลวงต่าง ๆ เพื่อให้รู้เท่าทัน รวมทั้งรณรงค์ให้ภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล แจ้งเบาะแส ไม่ว่าจะเกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม เพื่อเป็นข้อมูลให้การป้องปราม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) สร้างความร่วมมือกับภาศเอกชนที่เป็นตัวกลางเชื่อมต่อการสื่อสาร ในการช่วยหยุด หรือควบคุมปัญหาการหลอกลวงก่อนที่จะกระจายสู่สังคมในวงกว้าง เช่น ธุรกิจแพลตฟอร์มการค้ามีเงื่อนไข การสมัครสมาชิกที่รัดกุม/เข้มงวด การให้อํานาจผู้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ สามารถระงับสัญญาณเลขหมาย ที่ต้องสงสัยได้
3) พิจารณาตั้งหน่วยงานเฉพาะ ที่มีหน้าที่กํากับดูแล ป้องกันและป้องปรามการหลอกลวงผ่าน อินเทอร์เน็ตและการสื่อสารสมัยใหม่ โดยให้เป็นศูนย์ข้อมูลกลางข่าวสาร การประสานงาน การพัฒนาเครื่องมือ ในการป้องกัน และการตรวจการกระทําผิดร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง และ
4) สร้างความร่วมมือระหว่าง ประเทศเกี่ยวกับการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติทางไซเบอร์ โดยการประสานข้อมูลข่าวสาร และการอํานวยความสะดวกในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง