onlinenewstime.com : รายงานความมั่งคั่งทั่วโลก จัดทำโดยอลิอันซ์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บมจ.อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต (ฉบับตีพิมพ์ครั้งที่ 10) ซึ่งเฝ้าจับตาสถานการณ์สินทรัพย์และหนี้สินภาคครัวเรือน ในกว่า 50 ประเทศ/ภูมิภาคอย่างใกล้ชิด บ่งชี้ว่าสินทรัพย์ทางการเงินในปี 2561 ในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมและประเทศ/ ภูมิภาคเกิดใหม่ ลดลงพร้อมกันเป็นครั้งแรก
นักออมเงินทั่วโลก กำลังอยู่ในภาวะลำบาก เนื่องจากความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น การถอนตัวออกจากสหภาพยุโรป ของสหราชอาณาจักร (Brexit) ความตึงเครียดทางการเมือง และความเข้มงวด ของเงื่อนไขทางการเงินและการปรับปรุงบรรทัดฐานนโยบายทางการเงิน (ที่ประกาศออกมา)
ตลาดหุ้นตอบสนองอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาหุ้นทั่วโลก ลดลงประมาณ 12% ในปี 2561 ซึ่งมีผลกระทบโดยตรง ต่อการเติบโตของสินทรัพย์ สินทรัพย์ทางการเงินขั้นต้นภาคครัวเรือนลดลง 0.1% และยังคงไม่เปลี่ยนแปลงอยู่ที่ระดับ 172.5 ล้านล้านยูโร (ประมาณ 5,886 ล้านล้านบาท)
ไมเคิล ไฮซ์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มอลิอันซ์ กล่าวว่า “ความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้น กำลังก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อระบบเศรษฐกิจ” การรื้อระบบระเบียบทางเศรษฐกิจโลก เป็นผลเสียต่อการสะสมความมั่งคั่ง ซึ่งเห็นได้ชัด จากตัวเลขการเติบโตของสินทรัพย์
สถานการณ์การค้าในปัจจุบัน ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นฝ่ายชนะ หรือทั้งหมดจะเป็นฝ่ายแพ้เหมือนในอดีต เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้น เมื่อปีที่แล้ว การปกป้องทางการค้าที่รุนแรงจะไม่มีผู้ชนะ”
การเติบโตของสินทรัพย์ทางการเงินของประเทศไทยหยุดชะงัก
สินทรัพย์ทางการเงินรวม ของภาคครัวเรือนไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 0.8% ในปี 2561 ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุด นับตั้งแต่วิกฤตทางการเงินในปี 2551 โดยเมื่อสองปีก่อน อัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ 9% ส่วนใหญ่เป็นผลพวงมาจาก มูลค่าหลักทรัพย์ที่ลดลงอย่างฮวบฮาบถึง 6.6% ภาคการประกันภัยและเงินบำนาญ ก็มีอัตราการเติบโตที่น่าผิดหวังเช่นกัน โดยขยับขึ้นเพียง 3.2% ในปี 2561 ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่น้อยที่สุด ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา
ในขณะที่เงินฝากของภาคธนาคาร เพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งมากถึง 4.8% เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบห้าปีที่ผ่านมา ขณะที่การเติบโตของหนี้สินขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 6.0% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2557 ดังนั้น อัตราส่วนหนี้สินภาคครัวเรือน ได้พุ่งสูงขึ้นถึง 78.4% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งภูมิภาคที่ 52.4% (เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น)
ความเหลื่อมล้ำด้านความมั่งคั่งของสินทรัพย์ ระหว่างประเทศที่ยากจนและร่ำรวย
ในปี 2561 สินทรัพย์ทางการเงินขั้นต้น ในตลาดเกิดใหม่ ไม่เพียงแต่ลดลงเป็นครั้งแรกเท่านั้น แต่การลดลงต่ำถึง 0.4% นั้นยังเป็นตัวเลขที่น้อยกว่า ในประเทศอุตสาหกรรม (-0.1%) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ที่อ่อนแอของประเทศจีน ซึ่งมีสินทรัพย์ลดลง 3.4% นั้นเป็นปัจจัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตลาดเกิดใหม่ที่สำคัญอื่น ๆ เช่น เม็กซิโกและแอฟริกาใต้ ก็ต้องแบกรับการขาดทุนจำนวนมาก ในปี 2561
นับเป็นการผกผันของแนวโน้มทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ เนื่องจากในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา การเติบโตของทรัพย์สินทางการเงินในแถบประเทศที่ยากจน โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 11.2% สูงกว่าการเติบโต ในแถบประเทศที่ร่ำรวย ถึงแม้จะรวมการเติบโตในปี 2561 ก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าประเด็นสงครามทางการค้า ได้ส่งสัญญาณติดเบรกอย่างกะทันหัน ส่งผลให้ประเทศที่ยากจน ไม่สามารถไล่ตามได้ต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ประเทศอุตสาหกรรม ก็ไม่ได้รับประโยชน์เช่นกัน เช่นในประเทศญี่ปุ่น (ลดลง 1.2%) ยุโรปตะวันตก (ลดลง 0.2%) และอเมริกาเหนือ (ลดลง 0.3%) ประเทศเหล่านี้ ต่างก็ยังคงต้องรับมือกับการเติบโตของสินทรัพย์ ที่ติดลบเช่นเดียวกัน
เอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) พบว่า สินทรัพย์ทางการเงินลดลง 0.9%
สินทรัพย์ทางการเงินขั้นต้น ของภาคครัวเรือนในเอเชียลดลง 0.9% ในปี 2561 นับเป็นการถดถอยครั้งแรก ตั้งแต่เกิดวิกฤตทางการเงินครั้งใหญ่เมื่อปี 2551 ซึ่งเกิดขึ้นจากการลดลงอย่างฮวบฮาบ ของหลักทรัพย์ต่างๆ ที่ส่วนใหญ่เป็นเงินทุนและกองทุนเพื่อการลงทุน ที่ลดลงมากถึง 14% ในทางกลับกัน เงินฝากธนาคาร เบี้ยประกันภัยและเงินบำนาญ เติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งต่อเนื่องที่ 8.7% และ 8.2% ตามลำดับ
เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างพอร์ตโฟลิโอ แนวโน้มประการหนึ่ง ที่เห็นได้อย่างชัดเจน คือ เมื่อตลาดการเงินในเอเชีย มีความซับซ้อนมากขึ้น ส่วนแบ่งของสินทรัพย์ ที่มีอยู่ในรูปเงินฝากธนาคารทั่วไป จึงลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยในช่วงปลายปี 2561 ลดลงไปอยู่ที่ 46.4% ซึ่งต่ำกว่าในช่วงต้นศตวรรษอยู่ที่ 16% ผลที่ตามมาคือ ส่วนแบ่งของหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นจากราว 20% เป็น 36.2% เนื่องจากว่าภาคครัวเรือนส่วนใหญ่ ลงทุนในตลาดทุนกันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนแบ่งของเบี้ยประกันภัยและเงินบำนาญ ยังมีเพียงแค่ 16% ซึ่งก็คือครึ่งหนึ่ง ของส่วนแบ่งตลาดโลกนั่นเอง
มิเคล่า กริมม์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของกลุ่มอลิอันซ์ และผู้ร่วมเขียนรายงานกล่าวว่า “มันเป็นพฤติกรรมการออมที่ ขัดแย้งในตัว” ประเทศในเอเชียเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว และหลายคนออมมากขึ้น เนื่องจากโครงการบำนาญของรัฐ ในหลายประเทศเหล่านี้ ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น หรือให้เงินบำนาญแค่ขั้นพื้นฐาน สำหรับผู้สูงวัย
แต่ดูเหมือนว่าผู้สูงวัย ยังไม่เปิดรับผลิตภัณฑ์ ที่ให้การคุ้มครอง ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นก็คือ ประกันชีวิตและประกันแบบบำนาญ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจประกันภัยเอง ควรเพิ่มความพยายามมากขึ้น เพื่อนำเสนอโซลูชันที่น่าสนใจในส่วนนี้ สิ่งนี้จะเป็นความจริง หากมีการริเริ่มพัฒนาความรู้ทางการเงิน และการเข้าถึงการประกันชีวิตและประกันแบบบำนาญ”
การขยายตัวของหนี้สินยังทรงตัวในระดับสูง
หนี้สินภาคครัวเรือนทั่วโลกเพิ่มขึ้น 5.7% ในปี 2561 ซึ่งต่ำกว่าปีที่แล้วที่ 6.0% แต่สูงกว่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยในระยะยาวที่ 3.6% ต่อปี อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนหนี้สินทั่วโลก (สัดส่วนหนี้สินต่อGDP) ยังคงทรงตัวที่ 65.1% เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ ยังคงแข็งแกร่ง
ภูมิภาคต่างๆ ส่วนใหญ่เห็นการพัฒนาที่คล้ายกัน ในส่วนของหนี้สิน แต่เอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) ถือเป็นคนละเรื่อง จริงอยู่ที่ว่าการเติบโตของหนี้ชะลอตัวลงในปี 2561 มาอยู่ที่ 13.8% (ปี 2560 อยู่ที่ 15.7%) แต่เพียงแค่ในช่วงสามปีที่ผ่านมา อัตราส่วนหนี้สินก้าวกระโดดสูงขึ้น เกือบสิบเปอร์เซ็นต์เป็น 52.4% โดยตัวเลขมาจากจีนเป็นหลัก ซึ่งหนี้เพิ่มสูงขึ้นมากถึง 15% เป็น 54.0%
แพทริเซีย ปาเลโย โรเมโร นักเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มอลิอันซ์ กล่าวว่า “การเพิ่มขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งของหนี้ในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในประเทศจีนนั้นน่าเป็นห่วง ภาคครัวเรือนของจีนเป็นหนี้ มากเท่ากับคนในประเทศเยอรมันหรืออิตาลี ครั้งสุดท้าย ที่เห็นการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาคเอกชนอย่างรวดเร็ว ก็คือในสหรัฐอเมริกา สเปนและไอร์แลนด์เพียงไม่นานก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงิน อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ระดับหนี้ในจีน ยังคงต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด ยังมีเวลาที่จะหามาตรการรับมือแก้ไข และหลีกเลี่ยงวิกฤติหนี้”
เนื่องจากการเติบโตหนี้สินสูงขึ้นต่อเนื่อง สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิ อาทิ ผลต่างระหว่างสินทรัพย์ทางการเงินขั้นต้น และหนี้ทั่วโลกลดลง 1.9% มาอยู่ที่ 129.8 ล้านล้านยูโร ณ สิ้นปี 2561 โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเกิดใหม่ สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิหดตัวลดลง 5.7% (กลุ่มประเทศ/ ภูมิภาคอุตสาหกรรมลดลง 1.1%) เอเชีย (ยกเว้นญี่ปุ่น) ลดลง 6.0%
สิงคโปร์แย่งตำแหน่งแชมป์จากญี่ปุ่น
ผลมาจากสินทรัพย์ที่ซบเซา และหนี้สินที่เพิ่มขึ้น ทำให้สินทรัพย์ทางการเงินสุทธิในประเทศไทยลดลง 5.6% ในปี 2561 ด้วยสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิต่อหัวอยู่ที่ 3,580 ยูโร (ประมาณ 122,150 บาท) อันดับของประเทศไทย ลดลงหนึ่งขั้นมาอยู่ที่อันดับ 45 ในการจัดอันดับประเทศที่ร่ำรวยที่สุดลำดับสูงสุด คือ สหรัฐอเมริก าแซงหน้าสวิตเซอร์แลนด์อีกครั้ง ด้วยค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า ตามมาด้วยสิงคโปร์ ที่ไต่ขึ้นไปอยู่อันดับที่สามเป็นครั้งแรก ครองตำแหน่งประเทศที่มั่งคั่งที่สุดในเอเชีย
หากมองในระยะยาว โดยดูว่าอันดับมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งศตวรรษ พบว่า การเพิ่มขึ้นของเอเชีย ผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ ได้แก่ สิงคโปร์ (เพิ่มขึ้น 13 อันดับ) และไต้หวัน (10 อันดับ) และสุดท้าย ความถดถอยในปีที่แล้ว ตกเป็นของยักษ์ใหญ่จีน (เพิ่มขึ้น 6 อันดับ) และเกาหลีใต้ (5 อันดับ) ในทางตรงกันข้าม ประเทศไทยมีลักษณะเหมือนประเทศในยุโรปมากขึ้น โดยอันดับลดลงถึง 9 ขั้น
นับเป็นครั้งแรกในรอบกว่าทศวรรษ ที่ความมั่งคั่งของชนชั้นกลางทั่วโลกไม่ขยายตัว กล่าวคือ ในช่วงปลายปี 2561 มีคนประมาณ 1,040 ล้านคนทั่วโลก ที่เป็นชนชั้นกลางที่ครองความมั่งคั่ง ซึ่งมีจำนวนไม่มาก ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีก่อนหน้านี้ เมื่อเทียบกับฉากหลังการหดตัวของสินทรัพย์ในประเทศจีน สิ่งนี้ไม่ได้เป็นที่ประหลาดใจครั้งใหญ่แต่อย่างใด เพราะจนถึงตอนนี้ก ารเกิดขึ้นของชนชั้นกลางรายใหม่ทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นของจีน กล่าวคือ สมาชิกเกือบครึ่งของกลุ่มชนชั้นกลาง พูดภาษาจีนและ 25% เป็นกลุ่มชนชั้นสูง
อาร์เน่ โฮลซ์ฮาวเซ่น หัวหน้ากลุ่มตลาดประกันภัยและความมั่งคั่งของอลิอันซ์ กล่าวว่า “ยังคงมีโอกาสอีกมากสำหรับความเจริญรุ่งเรืองของโลก หากประเทศที่มีประชากรหนาแน่นอย่างเช่น บราซิล รัสเซีย อินโดนีเซีย และโดยเฉพาะอินเดียจะมีการกระจายระดับความมั่งคั่งเทียบเคียงได้กับจีน
ชนชั้นกลางทั่วโลกประมาณ 350 ล้านคนและชนชั้นสูงทั่วโลกประมาณ 200 ล้านคนจะมีมากขึ้น และการกระจายความมั่งคั่งทั่วโลก จะมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นอีกเล็กน้อย ณ สิ้นปี 2561 ประชากรที่ร่ำรวยที่สุด 10% ของประชากรโลก เป็นเจ้าของสินทรัพย์ทางการเงินสุทธิทั้งหมดประมาณ 82% ยังคงเป็นที่กังขาว่าโลกาภิวัตน์ และการค้าเสรีในปัจจุบัน ทำให้ผู้คนอีกหลายล้านคนทั่วโลกสูญเสียโอกาสในความก้าวหน้าของตน”
ตารางจัดลำดับสินทรัพย์ (ประเทศ) ในปี 2018