Onlinenewstime.com : สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย จัดงานวันนักการตลาด “Marketing Day 2019” ส่งท้ายทศวรรษเก่า อัพเดตหลากประเด็นฮ็อต ที่โลกธุรกิจต้องจับตามอง
นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ นายกสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ปี 2562 เป็นปีแห่งความท้าทาย แม้เทรนด์ของเศรษฐกิจจะชะลอตัวทั่วโลก และส่งผลให้เศรษฐกิจไทย มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง ที่ร้อยละ 2.8 แต่เราได้เห็นการต่อสู้ของโลกธุรกิจอย่างเข้มข้น ทั้งในระดับประเทศ และระดับชาติ
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้อยู่รอดในสนามแข่งขันทางธุรกิจและการตลาดในยุคนี้ คือผู้ที่เข้าใจผู้บริโภคอย่างแท้จริง และนำเสนอสุดยอดสินค้า บริการ ได้ตรงความต้องการของลูกค้า อย่างที่เรียกได้ว่า ของดี ถูกความต้องการ ถูกที่ ถูกเวลา และดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง ตามจรรยามารยาทของสังคม
หากนับตามแบบคริสตศักราช ปี 2019 นับเป็นปีส่งท้ายทศวรรษเก่า เป็นที่ทราบดีว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นทศวรรษที่น่าตื่นเต้น และเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง เป็นช่วงเวลาแห่งการเติบโตของเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ในโลกธุรกิจและโลกการตลาดอย่างชัดเจน ดังนั้นหลายๆสาขาอาชีพจึงถูก disrupt อย่างมากมาย ทั้งในแง่การปรับเปลี่ยนแนวทางปฎิบัติแบบเดิมๆ รวมไปถึงการทลายมุมมองความคิดและความเชื่อเก่าๆ เพราะเมื่อโลกเปลี่ยน คนก็ต้องเปลี่ยนตาม อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
หากสรุปโดยย่อนั้น ความเปลี่ยนแปลงสำคัญของทศวรรษที่ผ่านมามี 2 ด้าน กล่าวคือ (1) ในภาคการผลิต ในมุมของธุรกิจ และ (2) ในมุมของผู้บริโภค
ในภาคการผลิต และ ในมุมของธุรกิจ
ยุคดิจิตัลเป็นยุคของความท้าทาย เป็นยุคที่ผู้ทำธุรกิจและนักการตลาดต้องเหนื่อยหนัก เพราะโลกนั้นปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา แต่ในอีกมุมหนึ่ง ยุคนี้เป็นยุคแห่งโอกาส เพราะเทคโนโลยีนั้น ก็มีผลเชิงบวกมากมาย โดยเฉพาะด้านการผลิตและการทำธุรกิจ
เพราะเทคโนโลยีสามารถช่วยลดต้นทุน สามารถช่วยด้าน economy of scale ผู้ประกอบการรายย่อย ไม่ต้องผลิตจำนวนมากมหาศาลอีกต่อไป เทคโนโลยีช่วยเชื่อมโลกเข้าด้วยกัน จึงเป็นโอกาสด้านการขายให้แบรนด์ที่เห็นโอกาส และเทคโนโลยียังช่วยเชื่อมแบรนด์ ให้ใกล้ชิดกับผู้บริโภคอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโอกาสทางธุรกิจ และขุมทรัพย์ของนักการตลาดที่มีความเข้าใจ และมีความกล้าที่จะเปลี่ยนแปลง
ในมุมของผู้บริโภค
จะเห็นได้ว่า การเดินทางทางความคิดของผู้บริโภค ไม่ได้เป็นแนวตรงอีกต่อไป แต่พวกเขามีวิธีคิดที่แยบยล และ มีทางเลือกที่ชัดเจน การวิเคราะห์ผุ้บริโภคยุค Digital นั้น เราต้องมองภาพรวมของชีวิตเขา เป็น Consumer Journey Ecosystem ที่แบรนด์ต้องเข้าใจทุก stage ความต้องการ ผ่านช่องทางต่างๆ ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
จึงกล่าวได้ว่า ยุคนี้ เป็นยุคที่ผู้บริโภคเป็นใหญ่อย่างแท้จริง แบรนด์ที่จะอยู่รอด คือแบรนด์ที่มีความเข้าใจ และใส่ใจที่จะปรับตัว ให้ตอบความต้องการของพวกเขาอย่างแท้จริง
ในทศวรรษหน้าที่จะมาถึง แม้การแข่งขันยังเข้มข้น และสถานการณ์เศรษฐกิจโลกยังคงไม่นิ่ง แต่ฟันเฟืองหลักของการเติบโต จะยังคงเป็นเรื่องของเทคโนโลยี และ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชาติด้วยเทคโนโลยี หรือ “Digital Economy” นั้น จะเป็นวาระสำคัญที่ไม่อาจมองข้าม และ ในโลกธุรกิจ นักการตลาดจะสามารถขับเคลื่อนการเติบโตของธุรกิจได้ ก็ต่อเมื่อมีการเตรียมความพร้อม เพื่อรับเทรนด์และเทคโนโลยีใหม่ๆที่กำลังจะมาถึง โดยการย้อนกลับมาที่หัวใจ 5 ข้อ ซึ่งเป็น BASIC ของการตลาด ยุค Digital Economy
- B : Beyond Tool
- A : Advocacy is the key
- S : Strategic Shift
- I : Integrated Platform
- C : Customer Experience
1. Beyond Tools: แม้ในทศวรรษที่กำลังจะมาถึงนี้ จะมี tools และ technology ใหม่ๆเกิดขึ้นมามายจาก 5G ที่กำลังจะมาถึงอย่างเต็มรูปแบบ แต่เราต้องไม่ลืมว่า ตัวอุปกรณ์เองนั้น ไม่มีความสำคัญ เท่าผลลัพธ์จากการใช้งาน นักการตลาดต้องมีกลยุทธ์และเป้าหมายที่ชัดเจน เพื่อจะหาอุปกรณ์ที่เหมาะสม มาใช้งานให้ตรงวัตถุประสงค์ และเกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผลสูงสุด
2. Advocacy is the key: ในยุคที่ลูกค้าเป็นใหญ่ และเทคโนโลยีก้าวไกล นี่คือโอกาสที่ brand จะสร้างกลุ่มนักรบของตัวเอง ที่จะเป็นกระบอกเสียงที่สำคัญที่สุดให้กับแบรนด์ ซึ่งการจะสร้างกลุ่มคนกลุ่มนี้ได้ แบรนด์ต้องมีให้ ทั้งคุณภาพและความจริงใจออย่างต่อเนื่อง ในยุคที่โลกใบเล็กลง และเสียงของผู้บริโภคเชื่อมต่อกันทั่วโลก การที่แบรนด์สามารถเปลี่ยนกลุ่มคนที่ซื้อและใช้ซ้ำ ให้กลายเป็นคนที่แนะนำ brand ของเราให้แก่คนอื่นๆได้ นับเป็นความสำเร็จขั้นสูงสุดของโลกยุคนี้
3. Strategic Shift: นักการตลาดยุคใหม่ ยังคงต้องมีการวางกลยุทธ์ แต่จะเป็นวางกลยุทธ์การตลาดที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง รูปแบบของ 4P ได้เปลี่ยนไปแล้ว ในมุมของ Product เทคโนโลยีทำให้เกิดสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ ที่เราเคยได้แต่จินตนาการถึง ทำให้รูปแบบการตั้งราคา หรือ Pricing เปลี่ยนไปจากที่เคยรู้จัก ยุคนี้เกิดเป็น consumption หรือ usage based pricingได้ เพราะความเที่ยงตรงของ data – Place ที่เราเคยรู้จักก็เปลี่ยนไป จากห้างร้านกลายเป็น market place และ omni-channel และ Promotion ก็กลายเป็นการสร้าง value ให้แก่ลูกค้ามากกว่าการลดแลกแจกแถม เมื่อโลกเปลี่ยน การวางกลยุทธ์ก็ต้องเปลี่ยนไปเช่นกัน
4. Integrated Platform: นักการตลาดต้องไม่มองว่า ดิจิตัลเป็นแค่สื่อ แต่ต้องมองว่า ดิจิตัลคือชีวิตและความเปลี่ยนแปลงในโลกของผู้บริโภค และสิ่งนี้ส่งผลอย่างมาก กับรูปแบบ behavior ที่เปลี่ยนไป นักการตลาดต้องและทำความเข้าใจกับ customer journey ให้ถ่องแท้ และนำศาสตร์ของ moment design มาใช้ ทั้งในแง่มุมของการออกแบบการสื่อสาร หรือ การออกแบบช่องทางการขาย ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ ก็สอดคล้องกลมกลืนกันอย่างแยกไม่ได้ในยุคปัจจุบัน ต้องถูกออกแบบเพื่อตอบโจทย์ทุกความต้องการในทุกๆ moment ของกลุ่มเป้าหมายของเรา
5. Customer Experience: ยิ่งโลกแห่งเทคโนโลยีก้าวไกล ผู้บริโภคยิ่งคาดหวังว่าจะได้รับ ประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นจาก brand ซึ่งประสบการณ์นี้ ไม่ได้แยกเป็น online หรือ offline แต่เป็น All experience ที่เขาจะได้รับทั้งหมด เป็นประสบการณ์ ที่ถูกออกแบบมาโดยมีผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง ซึ่ง CX นั้นครอบคลุมทุกๆ micro moments ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ UX, ประสบการณ์กับสินค้าและบริการโดยตรง ,ประสบการณ์ผ่านช่องทางหรือพนักงานขาย ประสบการณ์ที่ได้จากการสื่อสารต่างๆ ทั้งจาก event หรือ content online ทุกสิ่งอยู่บนพื้นฐานเดียวกันทั้งสิ้น คือ จะต้องเป็นประสบการณ์ที่เขาต้องการ ในช่องทางที่เขาต้องการ ณ เวลาที่เขาต้องการ – Right thing / right timing / at the right place ไม่อย่างนั้น จาก the right brand ก็อาจจะกลายเป็น the wrong brand สำหรับเขาก็เป็นได้
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าเทคโนโลยีจะพัฒนาไปมากแค่ไหน หรือโลกธุรกิจ จะมีการแข่งมากเพียงใด หากเรา นักการตลาด เปิดใจที่จะเรียนรู้ และพร้อมที่จะปรับ พร้อมเปิดรับ ให้เทคโนโลยีใหม่ๆมาช่วยเป็นฟันเฟืองสำคัญในการเร่งการเติบโต โดยไม่ทิ้งจรรยาบรรณ ของการทำธุรกิจอย่างถูกต้อง โปร่งใส และวางประโยชน์ของผู้บริโภคไว้สูงสุด หากทำได้เช่นนี้ ผมเชื่อมั่นว่า ธุรกิจของทุกท่าน ก็จะเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนได้” อรรถพลกล่าวทิ้งท้าย